ตัวอย่างหน้าที่และความรับผิดชอบของสภามหาวิทยาลัยในต่างประเทศ


หน้าที่และความรับผิดชอบ สภามหาวิทยาลัย ต่างประเทศ

บทบาทของสภามหาวิทยาลัยต่อไปนี้ นำมาจากของ Monash University ในประเทศออสเตรเลีย ลองนำมาให้ดูเพื่อให้เปรียบเทียบกับบทบาทของสภาฯ ตามตัวอย่างที่ลงไว้ในบันทึกก่อนหน้านี้ (http://gotoknow.org/blog/higher-edu/83239)

Responsibilities of Council

The primary responsibilities and functions of the Council are:

  1. to appoint the vice-chancellor as the chief executive officer and monitoring his/her performance; (แต่งตั้งอธิการบดี และประเมินผลงานอธิการบดี)
  2. to approve the mission and strategic direction of the University as well as the annual budget and business plan; (อนุมัติพันธกิจ กลยุทธ นโยบาย กำหนดทิศทางการดำเนินงานของมหาวิทยาลัย และงบประมาณ และ แผนธุรกิจ)
  3. to oversee and reviewing the management of the University and its performance; (กำกับดูแลและตรวจสอบการบริหารงานของมหาวิทยาลัยและประสิทธิภาพ ประสิทธิผลของการดำเนินการ)
  4. to establish policy and procedural principles, consistent with legal requirements and community expectations; (กำหนดนโยบายและหลักการที่สอดคล้องกับกฎหมาย ข้อบังคับ รวมถึงความคาดหวังของสังคม)
  5. to approve and monitor systems of control and accountability, including general overview of any controlled entities. A controlled entity is one that satisfies the test of control in s.50AA of the Corporations Act; (อนุมัติและดูแลระบบควบคุมและระบบความรับผิดชอบ (accountability) รวมถึงการอนุมัติระบบการควบคุมในภาพรวมอื่นๆ ด้วย)
  6. to oversee and monitor the assessment and management of risk across the University including commercial undertakings; (กำกับดูแลการประเมินและการจัดการความเสี่ยงในการดำเนินการทั้งหมดของมหาวิทยาลัย รวมถึงการทำธุรกิจต่างๆ)
  7. to oversee and monitor the academic activities of the University; (กำกับดูแลกิจกรรมทางวิชาการ (การเรียนการสอน และงานบริการวิชาการต่างๆ) ของมหาวิทยาลัย)
  8. to approve significant commercial activities of the University; (อนุมัติการทำธุรกิจที่สำคัญของมหาวิทยาลัย)
  9. to approve the Annual Report to Parliament; and (อนุมัติรายงานประจำปีเพื่อนำเสนอต่อรัฐ)
  10. to positively contribute to the growth and development of the University through fostering excellent external relations. (ส่งเสริมสนับสนุนการเติบโตไปในทางที่ดีของมหาวิทยาลัย และส่งเสริมให้เกิดการพัฒนามหาวิทยาลัยผ่านการอุปถัมภ์จากหน่วยงานภายนอก)

จะเห็นได้ว่าเมื่อเปรียบเทียบกับบทบาทของสภาฯ ในประเทศไทยตามที่ได้ยกตัวอย่างไว้ก่อนหน้านี้ สิ่งที่แตกต่างกันอย่างชัดเจนก็คือ

ก. มีการระบุอย่างชัดเจนว่าสภาฯ ต้องมีการกำหนดนโยบายให้สอดคล้องกับกฎหมาย และความต้องการของสังคม

ข. มีการระบุถึงการควบคุมการดำเนินการของมหาวิทยาลัย โดยจะต้องมี accountability หรือความรับผิดชอบกับสิ่งที่ได้ดำเนินการนั่นเอง และ

ค. สภาฯ มีหน้าที่ส่งเสริมสนับสนุนการเติบโตไปในทิศทางที่ดี (Positive growth) ของมหาวิทยาลัย โดยสร้างระบบความสัมพันธ์กับหน่วยงานภายนอก


 

หมายเลขบันทึก: 83420เขียนเมื่อ 12 มีนาคม 2007 11:26 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 มิถุนายน 2012 22:58 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

เรียนท่านอาจารย์กมลวัลย์ ผมขออนุญาต ลปรร.นะครับ

  • ขอบคุณสำหรับบทบาทของสภาสถาบัน ซึ่งสำหรับการประกันคุณภาพภายในที่ สกอ. กำหนดออกมา ก็เป็น 1 ใน 44 ตัวบ่งชี้ คือ ตัวบ่งชี้ 7.1 สภาสถาบันใช้หลักธรรมาภิบาลในการบริหารจัดการและสามารถผลักดันสถาบันให้แข่งขันได้ ในระดับสากล
  • เท่าที่ผมได้ศึกษา ร่าง พรบ.มหาวิทยาลัยมหาสารคาม (ม.นอกระบบ) เกือบทุกภารกิจในเชิงนโยบาย กำหนด กำกับ ติดตาม ด้วยสภามหาวิทยาลัยทั้งนั้น ซึ่งหมายความว่า ถ้าม.ใดมี กก.สภาที่มีความรู้ความสามารถ โดยเฉพาะนายกสภา ก็จะส่งผลให้ม.นั้นๆ พัฒนาได้อย่างถูกต้อง รวดเร็วด้วยครับ
  • ผมอยากจะเปรียบเทียบข้อแตกต่างสำหรับ ม.ใน กทม. กับ ม.ท้องถิ่น เกี่ยวกับความสัมพันธ์กับสภามหาวิทยาลัย ซึ่งผมมองว่า ม.ในกทม. มีความใกล้ชิดกว่าเพราะถ้าพูดกันตรงๆ กรรมการสภาประเภทผู้ทรงคุณวุฒิ หรือนายกสภา โดยมากกทำงานใน กทม. ทั้งนั้น ทำให้มีเวลาให้ ได้คลุกคลี มากกว่าสภาของ ม.ท้องถิ่น
  • เท่าที่ผมเห็นที่สถาบันของผม ก็จะมีการประชุม 12 ครั้ง ตก เดือนละ 1 ครั้ง และไปประชุม ที่ สกอ. ด้วยเหตุว่าสะดวกกับกรรมการสภาประเภทผู้ทรงคุณวุฒิ หรือนายกสภา
  • และเท่าที่ผมเห็นนายกสภาจะมามหาวิทยาลัย ก็เมื่อครั้งมีการพระราชทานปริญญาบัตรประจำปี ปีละ 1 ครั้ง นอกจากนั้นผมก็ไม่ค่อยเห็น
  • ขอแสดงความคิดเห็นเท่านี้นะครับ คงมีโอกาสแลกเปลี่ยนกับท่านอาจารย์ ต่อไป
  • ขอบคุณมากนะครับที่แวะเข้าไปเยี่ยมบันทึกของผมเป็นครั้งแรก

ด้วยความเคารพ

กัมปนาท

มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

เรียนคุณกัมปนาท

ยินดีเป็นอย่างยิ่งที่จะได้เรียนรู้แลกเปลี่ยนค่ะ ดิฉันค่อนข้างจะใหม่กับ blog เพิ่งลองทำมาได้สองวันเองค่ะ

ขอขอบคุณเช่นกันค่ะ ที่มาเยี่ยมชม ให้ข้อคิดเห็นและแลกเปลี่ยนกันนะคะ

  • ดิฉันเห็นด้วยที่คุณกัมปนาทที่ว่า ถ้าได้นายกสภาฯ ดี น่าจะทำให้ผลการดำเนินงานของมหาวิทยาลัยนั้นดีตามไปด้วย เพราะถ้านายกสภาฯ เก่งและตั้งใจกำกับดูแลการบริหารงานของมหาวิทยาลัยอย่างแท้จริง (ไม่ใช่แค่มาประชุมกับรับทราบเดือนละครั้ง) ก็ย่อมจะส่งผลดีต่อมหาวิทยาลัย อย่างไรก็ดีเท่าที่ทราบมาก็เคยได้ยินเรื่องเล่าว่ามีนายกสภาฯ ที่ไม่ขอเป็นต่อวาระสองเพราะผู้บริหารไม่ได้ดำเนินงานตามนโยบาย หรือทำช้าเกินไปก็มีค่ะ (บังคับให้ทำก็ไม่ได้เพราะไม่มีมาตรการบังคับอย่างแท้จริง) ดังนั้นผลการดำเนินการต้องขึ้นอยู่กับทั้งผู้กำกับดูแล (สภาฯ) และผู้บริหารงานมหาวิทยาลัยด้วยค่ะ เข้าตำรา สมอง(สภาฯ) ต้องสั่งการและร่างกาย (ผู้บริหาร/ผู้ปฏิบัติงาน) ยังต้องสมบูรณ์ค่ะ ขาดอย่างใดอย่างหนึ่งไปก็คงนึกสภาพออกนะคะ
  • เท่าที่ดิฉันจำได้ในพรบ.มจพ.นั้นไม่มีการพูดถึง external relation แต่อย่างใดเลยค่ะ
  • สำหรับเรื่องความไกล้ชิดของสภาฯ ของม.ในกรุงเทพฯ เท่าที่ทราบก็คงไม่ต่างไปจากที่ม.ในต่างจังหวัดเผชิญอยู่หรอกค่ะ หายากมากที่จะมีกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเข้ามาคลุกคลีหรือนายกสภาฯ มาบ่อยเพราะอยู่กรุงเทพฯ เท่าที่ทราบนายกสภาฯ ของที่ สจพ. ท่านเป็นนายกฯ อยู่หลายมหาวิทยาลัยค่ะ เวลาที่จะเห็นนายกสภาฯ ก็ตอนไปร่วมพิธีรับพระราชทานปริญญาบัตรนั่นแหละค่ะ ไม่ต่างกันเท่าไหร่ แต่อาจเป็นเพราะเราไม่ได้อยู่ในตำแหน่งบริหารที่จะพบกับกรรมการสภาฯ บ่อยๆ ก็ได้ค่ะ

ขอบคุณที่มาแลกเปลี่ยนอีกครั้งค่ะ

  • กลับมาอ่านอีกครั้งครับท่านอาจารย์
  • ที่ มมส. ตอนนี้ก็กำลังรุ่น ทั้ง อธิการบดี และ นายกสภาฯ กันครับ ต้นปลายเดือนนี้คงรู้กันครับ
  • อีกประเด็นนะครับ อธิการบดี ต้องสามารถทำงานเข้าได้กับสภาด้วยครับ

ด้วยความเคารพครับ 

กัมปนาท

  • เห็นด้วยเป็นอย่างยิ่งค่ะเรื่องที่อธิการบดีต้องทำงานเข้ากับสภาฯ ได้
  • กำลังเลือกทั้งนายกสภาฯ และ อธิการบดีหรือคะ ขอให้ได้คนดีๆ และมีความสามารถ ทำงานร่วมกันได้ทั้งคู่นะคะ ; )

กมลวัลย์

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท