บทบาทสภามหาวิทยาลัย ตามร่าง พรบ.มจพ.


บทบาทสภามหาวิทยาลัย

เมื่อตอนที่เริ่มทำงานเป็นอาจารย์ในสถาบันอุดมศึกษา ดิฉันไม่เคยสนใจเลยว่าการบริหารงานในมหาวิทยาลัยมีลักษณะเป็นอย่างไร เนื่องจากเหตุผลหลายประการ เช่น เพิ่งเริ่มทำงาน ยังจะต้องไปเรียนต่อ ยังไม่ได้มีประสบการณ์ในการจัดการศึกษามากนัก แต่ตอนนี้รู้สึกเป็นอย่างมากว่า สภามหาวิทยาลัยมี และ ควรมีบทบาทเป็นอย่างยิ่ง

ในการพัฒนาการศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาต่างๆ ผู้ที่ปฏิบัติงานทั่วไปในมหาวิทยาลัย หากประสบปัญหาต่างๆ ส่วนใหญ่มักจะนึกถึงผู้บริหาร เช่น อธิการบดี คณบดี หัวหน้าหน่วยงานต่างๆ ว่าเป็นผู้รับผิดชอบ แต่มักไม่รู้ว่าแท้จริงแล้ว สภามหาวิทยาลัยก็มีบทบาทในการกำกับการบริหารงานของผู้บริหารมหาวิทยาลัยอย่างสำคัญยิ่งไม่แพ้กัน อาจารย์ใหม่ๆ บางคน ยังไม่รู้ด้วยซ้ำว่ามีสภามหาวิทยาลัย

วันนี้จะคัดลอกบทบาทของสภา ตามร่าง พรบ. มจพ. เท่าที่มีล่าสุด มาเล่าสู่กันฟังดังนี้

...

มาตรา ... สภามหาวิทยาลัยมีอำนาจและหน้าที่ควบคุมดูแลกิจการทั่วไปของมหาวิทยาลัย อำนาจและหน้าที่เช่นว่านี้ให้รวมถึง

(๑) กำหนดนโยบายและแผนพัฒนาของมหาวิทยาลัย

(๒) ออกระเบียบ ข้อบังคับ และประกาศของมหาวิทยาลัยเพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติงานของมหาวิทยาลัย และอาจมอบหมายให้ส่วนงานใดในมหาวิทยาลัยเป็นผู้ออกระเบียบ ข้อบังคับ และประกาศ สำหรับส่วนงานนั้นๆ เป็นเรื่องๆ ไปก็ได้

(๓) อนุมัติการจัดตั้ง การรวม และการยุบเลิกส่วนงานของมหาวิทยาลัยตามมาตรา ... รวมทั้งการแบ่งหน่วยงานภายในของส่วนงานดังกล่าวด้วย

(๔) อนุมัติการให้ปริญญา ประกาศนียบัตรดุษฏีบัณฑิต ประกาศนียบัตรบัณฑิตชั้นสูง ประกาศนียบัตรบัณฑิต อนุปริญญา และประกาศนียบัตร รวมทั้งการอนุมัติการให้ปริญญากิตติมศักดิ์

(๕) พิจารณาดำเนินการเพื่อทรางพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ แต่งตั้งและถอดถอนนายกสภามหาวิทยาลัย กรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิ อธิการบดี ศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์พิเศษ

(๖) แต่งตั้งและถอดถอนรองศาสตราจารย์ รองศาสตราจารย์พิเศษ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์พิเศษ และผู้ดำรงตำแหน่งทางวิชาการที่เรียกชื่ออย่างอื่น

(๗) แต่งตั้งและถอดถอนรองอธิการบดี และหัวหน้าส่วนงานตามมาตรา ...

(๘) แต่งตั้งและถอดถอนกรรมการสภาวิชาการ

(๙) ออกข้อบังคับว่าด้วยการประกันคุณภาพการศึกษา ข้อบังคับว่าด้วยการวิจัย ข้อบังคับว่าด้วยการประเมินผลการปฏิบัติงานของอธิการบดี พนักงานมหาวิทยาลัย และผู้ปฏิบัติงานในมหาวิทยาลัย

(๑๐) อนุมัติหลักสูตรการศึกษาและการเปิดสอน รวมทั้งการปรับปรุง การยุบรวม หรือการยกเลิกหลักสูตรการศึกษา

(๑๑) อนุมัติการรับเข้าสมทบ การจัดการศึกษาร่วม หรือการยกเลิกการสมทบ การยกเลิกการจัดการศึกษาร่วมของสถานศึกษาชั้นสูงและสถาบันวิจัยอื่น

(๑๒) ออกข้อบังคับว่าด้วยการบริหารงานบุคคลของมหาวิทยาลัย

(๑๓) กำหนดนโยบายและวิธีการเกี่ยวกับการจัดหารายได้ จัดหาแหล่งทุนและทรัพยากรอื่น

(๑๔) ออกระเบียบและข้อบังคับเกี่ยวกับการบริหารการเงิน การพัสดุ และทรัพย์สินของมหาวิทยาลัย

(๑๕) อนุมัติการตั้งงบประมาณรายรับ และอนุมัติงบประมาณรายจ่ายของมหาวิทยาลัย

(๑๖) ออกระเบียบว่าด้วยการแบ่งรายได้ที่ได้จากการหาประโยชน์จากทรัพย์สินทางปัญหาของมหาวิทยาลัยกับผู้ปฏิบัติงานในมหาวิทยาลัย

(๑๗) แต่งตั้งคณะกรรมการ คณะอนุกรรมการ หรือบุคคลใดบุคคลหนึ่ง เพื่อกระทำการใดๆ อันอยู่ในอำนาจและหน้าที่ของสภามหาวิทยาลัย รวมทั้งมอบอำนาจให้คณะกรรมการ คณะอนุกรรมการ หรือบุคคลดังกล่าวทำการแทน แล้วรายงานให้สภามหาวิทยาลัยทราบ

(๑๘) ติดตามและประเมินผลการดำเนินงานของอธิการบดีและหัวหน้าส่วนงานต่างๆ

(๑๙) รับรองรายงานประจำปีของมหาวิทยาลัยและเสนอรายงานนั้นต่อรัฐมนตรีเพื่อทราบ

(๒๐) ปฏิบัติหน้าที่อื่นเกี่ยวกับกิจการของมหาวิทยาลัยที่มิได้ระบุให้เป็นหน้าที่ของผู้ใดโดยเฉพาะ

....

จะเห็นได้ว่าสภาฯ มีบทบาทหน้าที่ที่สำคัญมากมาย ซึ่งผู้ปฏิบัติงานในมหาวิทยาลัยควรจะรับทราบและเรียนรู้ เพราะสิ่งที่สภาฯ ดำเนินการนั้นส่งผลถึงผู้ปฏิบัติงานในมหาวิทยาลัยทุกท่าน

กมลวัลย์

๑๑ มีนาคม ๒๕๕๐

หมายเลขบันทึก: 83239เขียนเมื่อ 11 มีนาคม 2007 14:53 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 พฤษภาคม 2012 01:10 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

เรียนท่านอาจารย์กมลวัลย์

  • ร่าง พรบ.มมส. ก็คล้ายเช่นที่ มจพ. ครับ
  • สำหรับของ มมส. นั้น ส่วนตัวแล้วผมอยากจะเพิ่มข้อความ ที่แสดงถึงการมีปฏิสัมพันธ์กับมหาวิทยาลัย หรือชุมชนบ้าง เนื่องจาก มมส. เป็นมหาลัยท้องถิ่นที่มีลักษณะเฉพาะตัว
  • เนื่องที่ระบุนั้นเป็นการทำงานในระดับบนอย่างเดียว

ด้วยความเคารพ

กัมปนาท

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท