BM.chaiwut
พระมหาชัยวุธ โภชนุกูล ฉายา ฐานุตฺตโม

ไวยากรณ์ พยากรณ์


ไวยากรณ์ พยากรณ์

สองคำนี้มีใช้ทั่วไปในภาษาไทย โดยคำแรกคือ ไวยากรณ์ ใช้แทนระเบียบของการใช้ภาษาซึ่งแปลมาจากภาษาอักกฤษว่า gramma ....ส่วนคำหลังคือ พยากรณ์ ใช้ในความหมาย ทำนายทายทักหรือคาดหมายในสิ่งที่จะบังเกิดขึ้นในอนาคต เช่น คำทำนายของพวกหมอดู หรือการคาดหมายของกรมอุตุนิยมวิทยา เป็นต้น...

คำว่า ไวยากรณ์ เขียนเป็นสันสกฤตได้ตามนี้ ถ้าจะเขียนเป็นบาลีจะได้ว่า เวยยากรณ์ (เพราะบาลีไม่มีสระ ไอ) ... ส่วน วยากรณ์ และ พยากรณ์ ใช้เหมือนกันทั้งบาลีและสันสกฤต...แต่ ทั้งไวยากรณ์และพยากรณ์ มีรากศัพท์และคำแปลเหมือนกัน...

วิ + อา + กร + ยุ (แปล ยุ เป็น ณ.เณร) = วยากรณ์ พยากรณ์ เวยยากรณ์ ไวยากรณ์ ....

วิ และ อา เป็น อุปสัค... โดย วิ แปลว่า แจ้ง.. และ อา แปลว่า ทั่ว..

กร เป็นรากศัพท์ แปลว่า กระทำ

ยุ เป็น ปัจจัย เพื่อทำให้เป็นศัพท์นาม ไม่มีความหมายโดยตรง...อนึ่ง ยุ ปัจจัยนี้ เมื่อลงแล้วให้แปลงเป็น น.หนู โดยทั่วไป และบางศัพท์ให้แปลงเป็น ณ.เณร ... ซึ่งผู้สนใจอาจสังเกตได้ในภาษาไทย เช่น นิคมน์ เริงรมณ์ วิญญาณ พลังงานจลน์...  

วิ + อา + กร + ยุ = แจ้ง + ทั่ว + กระทำ ....ถ้าจะแปลให้ได้เนื้อความพอเข้าใจก็น่าจะแปลว่า การกระทำโดยรอบด้านเพื่อความแจ่มแจ้ง

ไวยากรณ์ หรือ พยากรณ์ จึงแปลว่า การกระทำโดยรอบด้านเพื่อความแจ่งแจ้ง...แต่ถ้าถือเอาความหมายโดยเงาแล้ว คำว่า เฉลย น่าจะตรงกับความหมายในภาษาไทยมากที่สุด นั่นคือ เฉลยข้อสงสัยในทางภาษา เฉลยข้อสงสัยในสิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคต...ประมาณนี้

สำหรับการแก้ข้อสงสัยของบุคลที่ทูลถามพระพุทธเจ้า ก็เรียกว่า พยากรณ์ เหมือนกัน ซึ่งพระพุทธเจ้าทรงมีวิธีการเฉลยข้อสงสัยของผู้ทูลถามอยู่ ๔ วิธี คือ

๑. เอกังสพยากรณ์ ตอบโดยส่วนเดียว เช่น โลกเที่ยงหรือไม่เที่ยง ตอบว่า ไม่เที่ยง ..

๒. วิภัชชพยากรณ์ ตอบโดยแยกแยะ เช่น ตายแล้วเกิดหรือไม่ ตอบว่า ตายแล้วเกิดก็มี ไม่เกิดก็มี ....

๓. ปฏิปุจฉาพยากรณ์ ตอบโดยย้อนถาม นั่นคือ ย้อนถามอีกครั้ง เพื่อเค้าจะได้เข้าใจเอง หรือปรับคำถามให้เหมาะสมยิ่งขึ้น...

๔. ฐปนียพยากรณ์ ไม่ตอบ นั่นคือ ถ้าคำถามนั้นไม่ก่อประโยชน์หรือ..... ก็อาจพักคำตอบนั้นไว้ ไม่เฉลย เป็นต้น....

ผู้เขียนคิดว่า พยากรณ์ ๔ ของพระพุทธเจ้า ผู้เป็นครูบาอาจารย์ หรือคนทั่วๆ ไป ก็สามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้เช่นเดียวกัน 

หมายเลขบันทึก: 83117เขียนเมื่อ 10 มีนาคม 2007 21:12 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 08:20 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)
ครับผม...จะนำไปใช้ให้เหมาะแก่กาลขอรับ...555
P

ท่านเลขาฯ หายไปหลายเพลา

เจริญพร 

กราบนมัสการพระคุณเจ้า

-เรียนถามปัญหา

 เอกังสพยากรณ์ ตอบโดยส่วนเดียว เช่น โลกเที่ยงหรือไม่เที่ยง ตอบว่า ไม่เที่ยง ..

เข้าใจว่าหากนำเอกังสพยากรณ์มาเปรียบกับการหาคำตอบแบบโยนิโสมนสิการ เป็นโยนิโสมนสิการแบบวิธีคิดแบบสืบสาวเหตุปัจจัยใช่หรือไม่  อย่างไรคะ

-และ วิภัชชพยากรณ์ ตอบโดยแยกแยะ เช่น ตายแล้วเกิดหรือไม่ ตอบว่า ตายแล้วเกิดก็มี ไม่เกิดก็มี ....

ถามว่าเช่นเดียวกับโยนิโสมนสิการ วิธีคิดแบบแยกแยะองค์ประกอบ หรือกระจายเนื้อหาหรือไม่..คะ

Pkrutoi

 

  • ไม่เข้าใจคำถาม !

พยากรณ์ ในแง่ว่า ตอบปัญหา กับ โยนิโสมนสิการ ซึ่งเป็น วิธีคิด รู้สึกว่าต่างประเด็นออกไป จึงไม่อาจตอบโยมคุณครูได้...

ถ้าอย่างไร โยมคุณครูลองไปค้นดูในหนังสือ พุทธธรรม ของอาจารย์เจ้าคุณประยุทธ์ ปยุตฺโต อาจพอจะทำความกระจ่างขึ้นได้บ้าง...

เจริญพร

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท