ดร.อุทัย อันพิมพ์
ดร. อุทัย ดร.อุทัย อันพิมพ์ อันพิมพ์

ตกเก้าอี้ 3 รอบ ก็ตั้งหลักได้หากตั้งใจ และทุ่มเท


การที่จะทำงานให้สมบูรณ์ ครบถ้วนต้องยอมเหนื่อย และทุ่มเททั้งกำลังกาย ใจ และสมอง จึงจะทำงานให้สำเร็จ

เมื่อเช้า (9 มีนาคม 2550) ผมได้ได้เดินทางไปพบท่าน ผศ.ดร.แสวง  รวยสูงเนิน Advisor วิทยานิพนธ์ของผม ที่คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น เพื่อรายงานความก้าวหน้า และเรียนปรึกษาเกี่ยวกับการทำวิทยานิพนธ์ เรื่องการจัดการความรู้เกษตรกรรมแบบประณีตตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง

อาจารย์มาถึงคณะฯ (ที่นัดหมาย) ด้วยอารมณ์ยิ้มแย้มแจ่มใส สบายๆ ตามสไตล์ของอาจารย์เมื่อพบลูกศิษย์ แต่หารู้ไม่ว่าครั้นอาจารย์ยิ้มทีไรยิ่งทำให้ลูกศิษย์ต้องตระหนัก และเสียวหลังแว๊บๆ ว่าตายแน่ๆ แสดงว่าวันนี้อาจารย์ได้เตรียมข้อมูลมาอย่างเพียบพร้อมเพื่อที่จะจัดการความรู้อย่างไร้กระบวนท่ากับนักศึกษา

เป็นไปตามคาด ครั้นเริ่มเปิดฉากการสนทนาพูดคุยตามหัวข้อที่ไปทบทวนมา ในเรื่องของการจัดการความรู้ KM คืออะไร เพราะนี่คือหัวใจสำคัญในการที่จะทำวิทยานิพนธ์ ของผม หรือหากเปรียบเทียบกับการที่เราจะสร้างบ้าน ก็เสมือนโครงสร้างของบ้านนั่นเอง ผมจึงได้ตอบอาจารย์ไปตมที่ได้ไปทบทวนมาว่า   KM เป็นเครื่องมือที่ใช้ในกระบวนการขับเคลื่อนเพื่อก่อให้เกิดพลังแห่งการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การทำงานร่วมกัน ตลอดทั้งการเสริมกำลังใจซึ่งกันและกันในการทำงานให้สำเร็จตามวัตถุประสงค์ ในการจัดการความรู้ถือเป็นการพัฒนาเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงภายในองค์กร โดยให้ความสำคัญกับบุคลากรในองค์กร ชุมชน เป็นสำคัญ เน้นกระบวนการที่เป็นกัลยาณมิตร การเปิดใจซึ่งกันและกัน การจัดการความรูนั้นจะดําเนินการในลักษณะที่เป็นแบบบูรณาการ หรือให้เนียนอยู่ในงานเนื้องาน ดําเนินการโดยไมทําใหสมาชิกขององคกรรูสึกว่ามีภาระเพิ่มขึ้น อันจะส่งผลให้เกิดการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง และยาวนาน"

หลังจาผมพูดจบอาจารย์ก็บอกว่า "นั่นไม่ใช่บริบทของเรา" จึงทำให้ผมต้องตกเก้อี้ในรอบแรก จริงๆ แล้วในการที่จะวิจัยเรื่องการจัดการความรู้ KM นั้น เราเข้าใจคำว่าความรู้ดีพอหรือยัง และอาจารย์ได้สอบถามต่อว่า แล้วความรู้ อยู่ที่ไหน? ผมจึงได้ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ (ลปรร ) กับอาจารย์ นกระทั่งตกเก้าอี้อีก 2 รอบ รวมเป็น 3 รอบพอดีๆ สุดท้ายจึงได้สรุปออกมาว่า จริง ๆแล้วความรู้นั้นจึงอยู่ที่ตัวคน  ในการที่เราจะจัดการความรู้นั้นเราต้องไปศึกษาในเรื่องของกระบวนการคิดของคน ว่าความรู้ที่ได้มานั้นมีที่มาอย่างไร เขาคิดอย่างไร เราต้องไปดูเบื้องหลังการถ่ายทำจึงจะเป็นการจัดการความรู้อย่างแท้จริง

จากประเด็นตรงนี้อาจารย์ได้สะท้อนให้เห็นเพิ่มเติมครับว่าในการที่เราจะทำการศึกษาวิจัยอะไรนั้น เราต้องเข้าใจทุกมุมด้าน มีความลึกพอ และที่สำคัญคือต้องศึกษาด้วยใจ และทุ่มเท

จากนั้นจึงได้สนทนาร่วมกับอาจารย์จนครบกระบวนความ พร้อมกันนั้นในสิ่งที่ผมจะทำการศึกษาอารย์ก็มีความกังวลนิดๆ ครับว่าในงานที่ผมกำลังจะศึกษาต้องมีมีควมชัดเจน โดยเร็ว เพราะนี่คือการทำวิทยานิพนธ์ KM ในระดับปริญญาเอก  และยังไม่มีใครทำ จึงเป็นเรื่องที่ค่อนข้างยาก

จากนั้นผมจึงได้นำเรียนเสนออาจารย์เพิ่มเติมครับว่า ในสิ่งที่ผมจะทำการศึกษานั้นคงจะต้องศึกษาให้ครอบคลุมมากที่สุด และมีความลึก ตั้งแต่ KM ระดับปัจเจคบุคคล Learning Organization (LO) Communities of Practice (COP) อันจะนำไปสู่นโยบาย (Policy) ในการพัฒนาต่อไป

จากกระบวนการ ลปรร. กับอาจารย์ที่ปรึกษานับว่าเป็นกระบวนการ KM ที่มีชีวิตชีวา ซึ่งทำให้ผู้เรียนอย่างผมได้มีความกระจ่าง และเห็นช่องทางมากขึ้นในการที่จะขับเคลื่อนวิทยานิพนธ์ของตนเอง ถึงแม้นจะตกเก้าอี้ถึง 3 ครั้ง แต่ก็มีพลังในการที่จะก้าวเดินต่อไปสู่ความสำเร็จ

ขอบคุณครับ

อุทัย   อันพิมพ์

9 มีนาคม 2550

หมายเลขบันทึก: 82937เขียนเมื่อ 10 มีนาคม 2007 00:03 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 17:42 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)
เรียนเพื่อรู้  รู้เพื่อสร้างสรรค์สิ่งดีงามครับคุณอุทัย

เก้าอี้มีประโยชน์หลายอย่าง พิสูจน์ได้จากงานนี้

  1. มีไว้นั่ง
  2. มีไว้ตก
สงสัยจะจุกเพราะตกเก้าอี้ เลยสลับคำ  อิอิ Learning Organization (OL)

ขอบคุณมากครับทุกๆ ท่านที่เข้ามาให้กำลังใจ ไม่ว่าจะเป็นคุณย่ามแดง ครูบาสุทธินันท์ โดยเฉพาะอาจารย์หนิง ที่กรุณาช่วยตรวจสอบคำผิดให้ครับ ตอนนี้แก้ไขแล้วครับ ตอนเขียนสงสัยทั้งเขียนทั้งหน้ามืดครับ

ผมเห็นด้วยครับว่าการเรียน เราเรียนเพื่อรู้ และการเรียนเป็นสิ่งที่มีความสำคัญต่อชีวิตคนเรามาก เพราะการที่เราจะอยู่ได้ในสังคมนั้นเราก็ต้องเรียนรู้วิธีการปรับตัวให้เข้ากับคนอื่น เรียนรู้เพื่อการอยู่การกิน หรือแม้กระทั่งการเรียนรู้เพื่อเอาตัวรอด

เมื่อเป็นเช่นนี้ผมจึงต้องสู้เพื่อจะเรียนรู้ต่อไปอย่างไม่มีวันย่อท้อ ต่ออุปสรรคใดๆ เพราะอย่างน้อยเราก็มีครูดีซะอย่าง ถึงแม้นจะผิดพลาดบ้างก็เป็นเรื่องธรรมดานะครับ หากแต่ว่าอย่าผิดบ่อยก็แล้วกัน

ขอบคุณครับ

เรียน อาจารย์ย่ามแดง

ขอบคุณมากครับที่อาจารย์เข้ามาให้กำลังใจเป็นประจำ

หากอาจารย์กลับมาเยี่ยมบ้านเมื่อไหร่อย่าลืมมาเที่ยวเก็บเมล็ดความรู้ที่มหาชีวาลัยนะครับ

สำหรับวันที่ 17 มีนาคมนี้ อาจารย์หนิง ก็จะพานักศึกษามาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ที่มหาชีวาลัยครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท