เรื่องเล่าจากดงหลวง 42 กะลากับ ICC


ผมนึกถึงอาหารมื้อแพงๆในเมืองกับกะลาใบนี้ ผมนึกถึงการเกษตรแบบพึ่งพากับกะลาใบนี้ ผมนึกถึงเงินหลายร้อยหลายพันล้านที่ปลิวว่อนในกรุงเทพฯโดยนักการเมืองกับกะละใบนี้ กะละ เรียบง่าย ไม่ได้พึ่งพาใคร หาได้ในชุมชน ใช้ได้นาน ทำความสะอาดได้ คงทน และสามารถคืนกลับสู่ธรรมชาติได้

<p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: justify" class="MsoNormal">พัฒนาสองวิถี: งานที่รับผิดชอบนั้นเรียกว่างานพัฒนาชุมชน ซึ่งกิจกรรมในโครงการนี้ทำการพัฒนาทั้งวิถีพึ่งตนเอง หรือเศรษฐกิจพอเพียง (Self Sufficient Economy) ซึ่งเป็นนโยบายหลักและครอบคลุมพื้นที่ทั้งโครงการ 35 หมู่บ้านทั้ง 4 ตำบล โดยมีเครือข่ายไทบรูเป็นแกนหลัก การพัฒนาแนวทางนี้เป็นกระแสของ การพัฒนาเพื่อการปลดปล่อยที่กล่าวว่าปลดปล่อยเพราะต้องการออกมาจากวงจรทุนนิยม </p>  <p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: justify; tab-stops: list 21.3pt" class="MsoNormal">ขณะเดียวกันโครงการนี้ก็มีพื้นที่เฉพาะ 1,500 ไร่ เกษตรกรจำนวน 100 ครัวเรือน ทำการเกษตรแบบทุนนิยมเต็มตัวคู่กับการพึ่งตนเอง เป็นกิจกรรมภาคบังคับ คือมีโครงการสูบน้ำด้วยไฟฟ้า ซึ่งถูกสร้างขึ้นมาแล้วก็ต้องทำกิจกรรมใช้ประโยชน์ต่อไป พร้อมกับหาช่องทางที่จะแปรผันข้ามไปสู่ระบบการผลิตพืชอินทรีย์ในอนาคตต่อไป </p>  <p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: justify" class="MsoNormal">วิถีที่เปลี่ยนไป: เฉพาะพื้นที่ในโครงการสูบน้ำด้วยไฟฟ้านี้ การเกษตรช่วงแรกนี้เป็นแบบ Contract farming หรือการเกษตรแบบ Intensive Care Crop(ใกล้เคียงกับ ICU เลย) เพราะเป็นพืชอายุสั้นเพียง 2-3 เดือนก็เก็บผลผลิตได้แล้ว แต่เป็นพืชที่ปรับปรุงพันธุ์ขึ้นมาใหม่ให้มีผลผลิตสูงๆ ต้องการปุ๋ยวิทยาศาสตร์ แต่ก็อ่อนแอต่อโรคภัยและแมลงต่างๆ รวมทั้งอ่อนไหวต่ออุณหภูมิ และบรรยากาศที่อาจเปลี่ยนแปลงตลอดเวลาในช่วงฤดูแล้ง </p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: justify" class="MsoNormal"></p><p> ดังนั้นวิถีชีวิตไทโซ่ที่ชอบขึ้นภูล่าสัตว์ เก็บของป่าจะต้องงดและใช้เวลาทั้งหมดกับแปลงพืชนี้เท่านั้น ตั้งแต่เช้าจรดเย็น ตั้งแต่วันจันทร์จรดวันอาทิตย์ ตั้งแต่เริ่มเพาะกล้าจนถึงเก็บเกี่ยวต้นสุดท้าย  ในช่วงเวลาที่ผ่านมาราคาสินค้าและผลตอบแทนเป็นแรงกระตุ้นให้หลายคนหันมา ทำ Contract farming  ก็เป็นไปตามหลักธุรกิจทุกประเภทแหละครับ แน่นอนบางคนก็หน้าเหี่ยวเพราะขาดทุน  แต่มีแรงฮึด  อย่างไรก็ตามผู้เขียนก็ วิเคราะห์ความเสี่ยง ไว้แล้ว ผู้ใดสนใจก็ติดต่อเอกสารชุดนั้ได้ครับ  </p><p> </p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: justify" class="MsoNormal">กะลากับ ICC : มันช่างตรงข้ามจริงๆนะ เจ้าการเกษตรสองวิถีนี้ คือการเกษตรแบบ ICC ต้องทำงานกลางแดดเปรี้ยง แต่การเกษตรแบบพึ่งตนเอง เกษตรผสมผสานมักทำงานใกล้กับร่มไม้หรือใต้ร่มไม้ใหญ่ด้วยซ้ำไป ดังนั้นเกษตรกรที่ทำงานกับระบบ ICC ทำงานสักพักต้องเดินหาร่มไม้ใหญ่กัน เพื่อพักผ่อน หรือเมื่อจะกินข้าวมื้อกลางวันก็ใช้ร่มไม้ใหญ่เป็นห้องครัวใหญ่ ชาวบ้านใกล้ๆนั้นก็มาอาศัยพักร้อนกลางวันด้วยกัน หนักเข้าก็งีบสักพักแล้วไปทำงานใหม่ พร้อมเปิดวิทยุฟังเพลงดังลั่นทุ่ง เพลงพื้นบ้าน และเพลงเพื่อชีวิตล้วนถูกเปิดเป็นที่นิยมมากในช่วงทำงานกลางแดดนั้น เพลิดเพลิน พอดึงใจออกจากการทนร้อน ความเมื่อยออกไปได้มากโข </p><p align="center">  </p><div style="text-align: center"></div><p> เมื่อหิวน้ำก็เดินเข้าร่มไม้กินน้ำจากกระติกที่หิ้วมาจากบ้าน รินน้ำ ใส่กะลา ที่ชาวบ้านผู้เฒ่าผัวเมียทำทิ้งไว้ที่เถียงนาใกล้ๆ กินน้ำจากกะลากลางทุ่งนี้ได้บรรยากาศจริงๆ  พ่อเฒ่าขัดกะลาเสียมันเลื่อม 3-4 ใบพร้อมที่จะใช้งาน ใบนี้กินน้ำ ใบนั้นใส่กับข้าวสารพัดชนิด ใบโน้นใส่ข้าว ผู้เขียนออกเยี่ยมเกษตรกรบ้างเป็นครั้งคราวก็ได้ลิ้มรสข้าวจากกะลากลางทุ่งใต้ร่มสะเดาใหญ่แห่งนี้แล้ว มันได้บรรยากาศจริงๆเหมือนใครบางคนกล่าวไว้ จะให้ดีต้องกินข้าวด้วยมือด้วย พอดีวันนั้นผู้เขียนยังเป็นหวัดและกินอาหารประเภทมังสวิรัติ จึงขอใช้ช้อนและแยกออกมาใกล้ๆ ชุดกะลาสังคโลก ของพ่อเฒ่าแม่เฒ่ามีครบ มีด ขวดพริกที่ขาดไม่ได้ทั้งพริกป่น พริกเมล็ด เกลือพร้อมที่จะใช้ประกอบกับข้าวป่าแบบง่ายๆพื้นบ้าน </p><p></p><div style="text-align: center"></div><p>   </p><div style="text-align: center"></div><p> เพียงเอากระติบข้าวมาจากบ้าน กับข้าวไปหาเอากลางทุ่ง วันนั้นถ้าเฉพาะพ่อเฒ่าแม่เฒ่าสองคน กะลาก็เพียงพอสำหรับอาหารมื้อไหนๆ แต่เรามีหลายคนเลยต้องใช้จาน ถ้วย ชามจากบ้านพักเจ้าหน้าที่มาเพิ่มด้วย จะเอาอะไรกับวิถีพอเพียงแบบบ้านนากลางป่าเขา  </p><p><div style="text-align: center"></div></p><p>ผมนึกถึงอาหารมื้อแพงๆในเมืองกับกะลาใบนี้  ผมนึกถึงการเกษตรแบบพึ่งพากับกะลาใบนี้ ผมนึกถึงเงินหลายร้อยหลายพันล้านที่ปลิวว่อนในกรุงเทพฯโดยนักการเมืองกับกะละใบนี้  กะละ เรียบง่าย ไม่ได้พึ่งพาใคร หาได้ในชุมชน ใช้ได้นาน ทำความสะอาดได้ คงทน และสามารถคืนกลับสู่ธรรมชาติได้  ผมชอบกะลา.. </p>

คำสำคัญ (Tags): #intensive care crop#กะลา
หมายเลขบันทึก: 82936เขียนเมื่อ 9 มีนาคม 2007 23:54 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:52 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (12)

สวัสดีคะ

โครงการสูบน้ำนี้ก็ดีนะคะจะได้ให้สะดวกกับชุมชน แต่อีกมุมก็น่ากลัวนะคะ ยังไงก็ช่วยกันดู วิถีชีวิตสังคมปัจจุบันก็เริ่มเปลี่ยนไป ในทาง 2 ทางแต่ละทางนั้นก็แตกต่างกันไป ยังไงจะติดตามผลงานนะคะ

 

ดีใจที่ใช้ภาชนะจากธรรมชาติ

ถ้ามองหาประโยขน์เห็น อะไรๆก็เป็นประโยขน์

การทำเกษตรสมัยนี้อยู่ยาก เพราะราคาผู้ซื้อกำหนดไว้ต่ำ

ไม่มีคานงัดที่สมดุลย์และเป็นธรรม

ชวนกันปลูกต้นไม้เยอะ

ทำไร่นาแต่พอถิน

เงินทองต้องไปเอาที่กรุงเทพ เพราะระบบมันวางล่อไว้อย่างนั้น

ก่อนจะไป ต้องปลูกต้นไม้ ในอนาคตมันจะเป็นทุนได้จริงๆ

ในระหว่างรอเวลา

ก็หาเรื่องทำไปพลาง แต่ก็ต้องดูหลุมพราง

ยิ่งทำยิ่งขาดทุนเกษตรแบบสมัยใหม่นี้

ถ้าพื้นที่มีน้ำน่าปลูกพืชทำหัวอาหารสัตว์ มาขายให้พวกไร้น้ำแต่ทะลึ่งเลี้ยงสัตว์แบบพวกบุรีรัมย์

ต้องตกอยู่ในอานัตินายทุนอุตสาหกรรม ที่อยากจะขึ้นราคาเมื่อไหร่ก็ได้

ตราบใดที่ชาวบ้านไม่หันหน้าเข้าหากัน แก้ไขจุดตายร่วมกัน

ทำไปก็มีแต่ตาย กับตาย

ประเด็นเอาหัวโจกแต่ละท้องถิ่นมาเจอกัน เพื่อจะทำกิจกรรมอุดช่องโหว่ให้กัน น่าจะเป็นทางเลือกหนึ่ง 

แต่นโยบายเรื่องนี้ไม่มี มีแต่ให้ตายคาเขียง

อยู่กับเศรษฐกิจพอเพียงที่มีแต่คำหวานลมๆแล้งๆ

ลมแล้ง ถึงพัดมา มันก็มาแบบแล้งๆ

ถึงพัดแรง มันก็แรงแบบแห้งแล้ง

ว่าแต่หลานสาวผมจะไปออสเตรเลียวันไหน จะเชิดสิงห์โตส่งที่สุวรรณภูมิ อิอิๆๆ

เรื่องดงหลวง พิมพ์รวมเล่มแล้วหรือยัง

เป็นตำราพัฒนาแบบฉบับไทอีสานแท้

อยากเห็น อยากได้ เก็บไว้อ่านก่อนตาย

การยุให้ชาวบ้านทำการเกษตรในสภาวะที่ไม่พร้อมและเสียเปรียบ อีกนัยหนึ่ง เหมือนกับเรากำลังบอกเขาว่า

  • สูทนโง่อยู่ตรงนี้แหละ
  • อยู่เป็นเครื่องมือคนอื่น
  • อยู่อย่างยากจน
  • อนุรักษ์ความยากจน
  • เป็นพวกตระกูลคนจน จน จนๆๆๆตายยยๆๆๆๆๆๆ
สวัสดีครับ  คุณ
  • P
  • งานสูบน้ำด้วยไฟฟ้าเป็นงานภาคบังคับ ทั้งๆที่เรารู้ว่า "มันจะพาชาวบ้านไปตายกันซะมากกว่า" แต่เราก็พยายามสร้างบทเรียนให้ชาวบ้าน
  • และพยายามผันแปรให้ค่อยๆออกจากวงจรนี้ เราอาจจะบอกไม่ได้ตรงๆว่าออกอย่างไร ก็ทำไปเรียนรู้ไป หาช่องทางไปครับ
  • ประเด็นที่ต้องทำคือ หากไม่ทำงานสูบน้ำด้วยไฟฟ้าราคา 40 ล้านเศษมันจะเป็นอนุสาวรีย์ และหากจะทำชาวบ้านต้องรับผิดชอบค่ากระแสไฟฟ้า  ดังนั้นการเพาะปลูกมันบังคับว่าจะต้องเป็นพืชท่ขายได้มีเงินเหลือมาจ่ายค่ากระแสไฟฟ้า โจทย์มันเป็นอย่างนั้นครับ
  • ทั้งๆที่เรารู้ดีว่าการเกษตรแบบ ICC นี้มันหนีไม่พ้นสารเคมี(ที่เราเฝ้าอบรมแนะนำชาวบ้านให้ออกห่าง) และบริษัทธุรกิจเกษตรโยนความเสี่ยงมาที่เกษตรกรทั้งหมด นี่ขนาดเรากำกับอยู่ใกล้ๆนะยังหลุกรอดออกไปได้ในเรื่องความเสียเปรียบต่างๆ  หากโครงการสิ้นสุดลงไม่มีพี่เลี้ยงชาวบ้านยังไม่เติบโตพอ ยิ่งเป็นชาวไทโซ่ ที่เหมือนกับเพิ่งตื่นนอน ยังงัวเงียอยู่เลยครับ หมดโครงการวะแล้ว พวกผมก็ต้องออกไป
  • แต่พยายามสุด สุดที่จะสร้างประสบการณ์ให้เขาครับ
  • ขอบคุณมากครับ
  • อ่านแล้วทำให้คิดถึงช่างทอที่ชุมชนของออตครับ
  • เมื่อเข้ากี่ทอผ้า เพื่อนที่ดีที่สุดของเขาคือวิทยุเพื่อฟังรายการที่ชอบโดยเฉพาะหมอลำ
  • น้าบอกว่าเปิดเอาไว้เป็นเพื่อนและการฟังหมอลำขณะทอผ้ามันทำให้อารมณ์ดี ผ้าเนื้องาม
  • ฟังแล้วได้แต่ยิ้มในใจ
  • ออตว่าหน่วยงานรัฐน่าจะหาวิธีส่งเสริมรายการวิทยุต่าง ๆ ช่วยเผยแพร่ปรัชญาแห่งความพอเพียงด้วยนะครับ
  • ขอบคุณบันทึกจาก เพื่อนที่ดีของชาวโซ่ ครับ
  • ท่านครูบาครับ 
  • ลูกสาวเพิ่งส่งข่าวมาว่าเลื่อนการเดินทางเร็วขึ้นจากเดิมมาเป็นวันที่ 17 มีนาคมนี้ ตรงกันเต็มๆกับค่ายของน้องหนิงที่อาศรมนี่ ซึ่งตั้งใจจะมาร่วมงานค่าย จะต้องงดซะแล้ว จึงจำเป็นต้องเดินทางเข้าไปดูแล "ลูกสาวตัวใช้เงินหน่อย" เขาจะเอาโน่นเอานี่ ที "มะเหงก" ละไม่เอา ผมมีลูกคนเดียวและเป็นลูกสาว ครับ มีนิสัยเป็นอิสระมาก เพราะอยู่คนเดียวมาตลอด
  • การรวมเล่มยังไม่ได้คิดเลยครับ หากจะทำก็คงปลายปีครับ และหากจะทำก็ต้องกราบขอความเมตตา กรุณาท่านครูบาเขียนคำนิยมให้ด้วยนะครับ

สวัสดีค่ะคุณบางทราย

      โอ้โห เห็นวิทยุทรานซิสเตอร์แล้วต๊กใจ  ไม่นึกว่ายังมีการนำมาใช้งานได้อยู่    บ้านราณีก็มีกระบวยตักน้ำเพราะแม่ชอบซื้อเก็บ (ไม่เกี่ยวกับเรื่องที่เขียนนะค่ะ  แต่อยากเข้ามาคุยค่ะ) บางครั้งเราต้องมองประโยชน์ของกะลาให้ทะลุค่ะ  .......

  • ท่านครูบาครับ
  • งานสูบน้ำด้วยไฟฟ้าเป็นโจทย์ที่ผมไม่อยากเลือกมาทำ เพราะหลับตาก็รู้ว่าต้องฝ่าฟันอะไร ผลจะเป็นอย่างไร เพราะผมมีประสบการณ์มาก่อนที่เขื่อนลำปาว ตอนนั้นทำงานกับโครงการส่งเสริมการจัดการน้ำในระดับไร่นา รู้ทั้งรู้ว่านี่คือการจูงมือชาวบ้านไปเสี่ยงตาย แต่ไม่ทำไม่ได้ ต้องทำ ถ้าไม่ทำก็ไปหางานใหม่ซะ
  • ก็ลองดู ทำงานภายใต้เงื่อนไข ระบบราชการ ชาวบ้านที่ยังไม่มีประสบการณ์เรื่องนี้มาก่อนเลย และมีวุฒิภาวะในการทำการเกษตรสมัยใหม่น้อย (ก็เดิมเขาพึ่งตนเองได้ดีอยู่แล้วนี่นา รัฐพาเขาลงเหวไปเอง)
  • ถ้าเราไม่มำก็มีคนอื่นมาทำ และคนอื่นก็ขยำขยี้ชาวบ้านจนเหลวหมดน่ะซี ฟังดูเหมือนเราอวดเก่งนะ เปล่าหรอกครับ เพียงแต่สำนึกของเราบอกว่า หากเราทำก็ต้องสร้างประสบการณ์ดีๆให้ชาวบ้านได้เรียนรู้มากๆ พร้อมกับมองหาทางออกที่ดีๆ เช่น ปลูกพืชอินทรีย์ ปลูกพืชสมุนไพรบางชนิดที่เหมาะกับสภาพแปลงข้าวไร่ในที่ดอนแปลงแปลงนาลุ่ม เป็นต้น
  • การปลูกพืช ICC เป็นทางผ่านประสบการณ์ไป แต่ก็ต้องค่อยเป็นค่อยไป สู้กับความคิดคนไปด้วยครับ
  • ท่านครูบาครับ
  • อีกมุมหนึ่งของดงหลวง เราก็สนับสนุนชาวไทโซ่ในเรื่องการพึ่งตนเองแบบสุดสุด และน่าชื่นชมที่เขามาก่อนรัฐบาลจะตีฆ้องร้องป่าวเสียอีก เพียงแต่รัฐมาย้ำว่า เออ ที่ทำน่ะดีแล้วนะ
  • ชาวไทโซ่กลุ่มหนึ่งที่ทะลุปรุโปร่งเรื่องเกษตรธรรมชาติ ลดการพึ่งพาภายนอกให้น้อยลง เช่นที่ผมเอ่ยถึงมารบ้างแล้ว เช่น พ่อชาดี วงษ์กะโซ่ พ่อแสน วงษ์กะโซ่ พ่อเวช ไชยเพชร สหายธีระ(เซียนผักหวานป่า) พ่อลำทอง ชาวเขา พ่อรักษ์ เชื้อคำจันทร์ เป็นต้น ท่านเหล่านี้ได้อุดมการณ์จากป่า และสรุปบทเรียนแนวทางการมีชีวืตแบบลดการพึ่งพาภายนอกลง โดยเฉพาะพ่อชาดี เป็นเหมือนเสาหลักของเครือข่ายไทบรู ทุกครั้งพ่อชาดีจะย้ำอุดมคติให้สมาชิกตระหนัก และกระตุ้นให้ทำด้วย
  • ผมจึงกล่าวว่า นี่คือการพัฒนาสองกระแส มุมหนึ่งยึดการทำมาหากินแบบพึ่งตนเองสุด สุด  แต่อีกกระแสหนึ่งโครงการบังคับเอาระบบเศรษฐกิจการเกษตรสมัยใหม่เข้ามาด้วย ซึ่งบังเอิญมาลงในพื้นที่ที่ผมรับผิดชอบ  ผมก็ต้องแบกภาระหนักอันนี้ต่อไปจนกว่าจะหมดอายุโครงการ
  • ผมหลับตานึกถึงอาศรมท่านครูบาคงคล้ายๆกับสวนของพ่อแสน มีทุกอย่าง และทำอ่างเลี้ยงกบ เลี้ยงเขียนตะปาดแบบปล่อย เวลามัยจะออกไข่ หรือพักก็มาลงอ่างเล็กๆที่พืชน้ำคลุมอยู่สูงกว่าดินนิดหน่อย เวลามันจะหาอาหารมันก็กระโดดออกไปเที่ยวในสวนที่รกด้วยพืชชนิดต่างๆ แล้วมันก็กลับมาออกลุกหลายเต็มไปหมด เมื่อมีกบเขียน งูก็มา เมื่องูมานอกจากจะกินกบเขียดแล้วมันก็กินหนูด้วย ต่างเป็นห่วงโซ่อาหารแก่กัน
  • ขอบคุณครับครูบาครับ
สวัสดีครับ คุณ
  • P
  • ฟังวิทยุมันเพลินจริงๆ ยิ่งมีเพลงถูกใจมันก็ไม่เหนื่อย ไม่ร้อน เพลินไปเรื่อยๆ
  • ผมเห็นด้วยเรื่องการจัดการวิทยุ น่าที่จะมีรายการสาระดีๆเกี่ยวกับความรู้ต่างๆแก่ชาวบ้านตลอดวันสลับเพลงที่เขาชอบ  และ ดีเจที่เข้ากับชาวบ้านได้
  • ผมยังชอบฟัง อ้อม เลย เธอร้องเพราะจะตาย
  • ขอบคุณครับ
สวัสดีครับ คุณ
  • P
  • ความจริงวิทยุมีอีกรูปหนึ่ง ฝมยังตกใจเลยว่า นี่ใช่วิทยุหรือเนี่ยะ ก็มันแตกออกเป็นชิ้นๆ มีแค่สายไฟยึดติดกันอยู่เท่านั้น
  • ผมเห็นน้องที่มาทำงานในแปลงเอามันไปวางไว้ที่โคกใต้ต้นไม้ หาสายไฟยาวๆมาทำเสาอากาศ  แล้วก็ค่อยๆบรรจงเปิดโดยใช้แบตเตอรี่ที่ชาวบ้านชอบพกติดเอาไปล่าสัตว์ในป่ากลางคืนน่ะ หมุนหาคลื่นแบบ หมอกำลังผ่าตัดงานสำคัญทีเดียว
  • กว่าจะหาคลื่นเจอ ก็ลุ้นกันแทบตาย  พอได้ลงตัวที่สถานีที่ต้องการแล้วก็เฮกันลั่น
  • ผมถ่ายรูปมาอยู่แต่ไม่ได้ Post เกรงว่าใครๆจะหาว่าผมไปถ่ายขยะมาทำไม..
  • ขอบคุณครับ กะลาทำประโยชน์ได้มากกว่าที่เห็นจริงๆ ผมเห็นด้วยครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท