ไทยทำ ไทยใช้ ไทยพัฒนา ตอน พายุ สึนามิ คลื่นลมทะเล ออกทีวีเยอรมัน


คณิตศาสตร์สามารถนำไปช่วยชาติได้ครับ เพียงแต่ไม่ใช่ทำงานในคณิตศาสตร์เองทำนั้น ต้องร่วมมือกันทำงานกันในหลายๆ สาขา

สวัสดีครับ

      ได้รับการติดต่อจากโปรเฟสเซอร์เมื่อวานครับ ว่าวันนี้จะมีทีวีมาสัมภาษณ์เกี่ยวกับพายุ เคอริล Kyrill ที่ถล่มยุโรปหนักมากเมื่อวันที่ 18 มกราคม 2550 ที่ผ่านมา ในวันนี้ ที่ 7 มีนาคม 2550 (07.03.07) จากทีวีช่อง SWR เป็นทีวีในรัฐ Baden-Wuerttemberg เลยเอาภาพมาให้ดูกันเล่นๆ ครับ ว่าบรรยากาศเป็นอย่างไร และเชิญชวนมาเยี่ยมห้องทำงานผมด้วยครับ บรรยากาศคุยกันแบบเรียบง่าย ตามสไตล์นักวิทยาศาสตร์

 Interviewed by TV-SWR on 07.03.07, at IWR, Univ-Heidelberg, Germany

(ซ้ายมือ คือโปรเฟสเซอร์ผมครับ)




(แนะนำโปรแกรมที่ได้นำไปใช้ในการแสดงผลรายวันทำการและสี่วันล่วงหน้าของคลื่นลมทะเลในอ่าวไทยและอันดามัน โดยกรมอุตุนิยมวิทยาของไทย, หน้าจอใหญ่ซ้ายมือ เป็นภาพดาวเทียมของพายุที่ถล่มยุโรป ชื่อ เคอริล, ส่วนหน้าจอโนทบุค เป็นโปรแกรมจำลองคลื่นสึนามิ SiTProS ดาวโหลดได้ฟรีครับ ที่ www.schuai.net/SiTProS )




(มุมห้องทำงานของผม ซึ่งทำงานด้วยกันในห้องนี้มีสามคนครับ คือ ไทย เวียดนาม และกัมพูชา  ห้องเอเชียเลยครับ)


การพูดคุย เริ่มจากความสำคัญของคณิตศาสตร์ นำไปสู่การจำลองแบบทางคณิตศาสตร์ ที่นำไปใช้ในการจำลองเพื่อนำสู่การแก้ปัญหาในธรรมชาติที่เกิดขึ้น ผมทำงานวิจัยในกลุ่มของโปรเฟสเซอร์ วิลลี่ เยเกอร์ Prof. Dr. Dr. h.c. mult. Willi Jaeger (หนุ่มผู้ชายผมขาว แม้ว่าจะเกษียณปีหน้าแต่หัวใจในการทำงาน ดูยศนะครับ ยาวกว่าชื่อจริงครับ ยังหนุ่มมากๆครับ)

     เริ่มจากงานหลักที่ทำเกี่ยวกับการเจริญเติบโตของต้นไม้ แล้วโยงใยไปถึงงานทางด้านสภาพดินฟ้าอากาศ พายุ สึนามิ และคลื่นทะเล มองถึงการนำคณิตศาสตร์ การจำลองแบบ แบบจำลอง การแสดงผลในสองหรือสามมิติ คอมพิวเตอร์กราฟิกส์ มาบูรณาการให้เหมาะสมต่อการนำไปใช้แก้ปัญหาที่เราพบเจอนะครับ ก็ได้แสดงงานที่ได้ทำร่วมกับ ดร.วัฒนา กันบัว ด้วยครับ เพราะว่างานเหล่านี้เป็นงานอดิเรกที่ โตขึ้นและนำไปสู่การใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อไป แต่ก็ยังจำเป็นที่ต้องปรับปรุงและพัฒนาต่อไป อย่างต่อเนื่อง

    เย็นนี้ ก็จะออกเป็นรายการหนึ่งในช่อง SWR เวลา 7:15 น. ตอนเย็นในเยอรมันครับ ตอนท้ายของการสัมภาษณ์ ได้รับคำอวยพรที่ดี จากผู้สัมภาษณ์ให้ทำงานต่อไป แล้วเค้าก็จะติดตามผลงานที่พวกเราทำกันอยู่ต่อไปครับ

    ผมว่าหากเราร่วมมือกันคนละนิด มาสร้างสรรค์งานร่วมกันในเมืองไทย เริ่มจาก ขว้างหินลงน้ำ กลายเป็นคลื่น แล้วก็พัฒนาไปเรื่อยๆ จนกลายเป็นโมเดลง่ายๆ สำหรับสึนามิได้ คำนวณการโจมตีของชายฝั่ง คำนวณเวลาที่คลื่นจะมาถึง คำนวณเวลาในการหนีภัยของประชาชน ในบริเวณต่างๆ ก็คงจะดีไม่น้อยเลยครับ ในสาขาอื่นๆ ก็เช่นกันครับ

   อยากจะให้มองเห็นถึงความสำคัญของคณิตศาสตร์นะครับ ว่ามีความสำคัญต่อโลกใบนี้หรือนอกโลกครับ และที่สำคัญคือ คณิตศาสตร์สามารถนำไปช่วยชาติได้ครับ เพียงแต่ไม่ใช่ทำงานในคณิตศาสตร์เองทำนั้น ต้องร่วมมือกันทำงานกันในหลายๆ สาขา ครับ

ท่านมีความเห็นอย่างไร เขียนไว้ได้นะครับ ยินดีต้อนรับสำหรับทุกข้อแนะนำครับ

ขอแสดงความนับถือครับ

 สมพร ช่วยอารีย์

ขอขอบคุณ กรมอุตุนิยมวิทยา โดยเฉพาะ ดร.วัฒนา กันบัว ผู้ร่วมผนวกทั้งข้อมูลและความรู้ทางอุตุนิยมวิทยาให้กับผม

โปรเฟสเซอร์ของผม ที่ให้ความสะดวกในทั้งสถานที่ ความรู้และประสบการณ์ และมีโอกาสในการทำอะไรหลายๆ อย่าง ในสถาบันการวิจัยเชิงบูรณาการแห่งนี้ IWR (Interdisciplinary Center for Scientific Computing)

อาจารย์ทุกท่านที่สถาบันวิจัย AVIC, Chulalongkorn University และ ม.สงขลานครินทร์

และกำลังใจจากเพื่อนๆ และคนไทยทุกคนครับ

 

 

หมายเลขบันทึก: 82500เขียนเมื่อ 7 มีนาคม 2007 22:14 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 มิถุนายน 2012 00:17 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (43)
ยินดีด้วยกับอีกหนึ่งประสบการณ์ดีๆกับการพัฒนางานเชิงบูรณาการต่อไปค่ะ

ขอแสดงความยินดีด้วยครับ จบเมื่อไหร่มาช่วยกันพัฒนาชาติไทยต่อนะครับ

อ้อ กลับมาอย่าไปสมัครเป็นผู้แทนล่ะ ผมอาจไม่เลือก เพราะเห็นคนดีคนเก่งไปเป็นนักการเมืองแล้วมีกลิ่นไม่พึงประสงค์กลับมาทั้งนั้นครับ

ไม่มี comment ใดๆ ที่เป็นวิชาการละค่ะ เพราะรู้สึกว่าก้าวหน้ามาก ... คุณเม้ง กลับมาแล้ว ชาติไทยคงจะพัฒนาก้าวไกลแน่นอนเลยนะคะ

... อ้อ ใส่สูท ผูกไทค์ แล้วดู ดี๊ ดี ค่ะ

สวัสดีครับ คุณโอ๋ และ น้องธรรมาวุธ

  • ขอบคุณมากครับ จริงๆ ไม่ได้สำเร็จอะไรเลยครับ ออกทีวีก็คือออกทีวีครับ ลงหนังสือพิมพ์ก็แค่ลงหนังสือพิมพ์ครับ ไม่ได้ดังไร และไม่อยากดังด้วยครับ เพราะดังแล้วไม่ได้ทำงานครับ
  • สำหรับนักการเมือง คิดว่าคงไม่นะครับ เพราะว่ามีหนทางในการช่วยเหลือสังคมได้ทุกอาชีพครับ เพียงแต่หากการเมืองสอดคล้องกับแนวทางที่ควรจะพัฒนาไปในทางที่ถูกที่ควร ทุกอย่างก็จะเดินไปในทางที่ดี และเกิดความสงบสุขกับบ้านเมืองครับ
  • พูดมาก บางทีก็รัดตัวมาก  ทำมากก็ดีครับ จะได้เกิดประโยชน์มาก ส่วนทีวีหรือข่าว เป็นแหล่งที่ช่วยส่งต่องานในการที่ทำให้เป็นที่รู้จักครับ ทำให้คนรับทราบข่าวสารไปในทางที่ดี
  • ผมชอบการลงข่าวในเยอรมันของ นสพ. ตรงที่ข่าวตบตี ฆ่ากัน ไม่ค่อยมีในหน้าแรก หน้าแรกเป็นข่าวจรรโลงใจ ส่วนข่าวตบตีกันไปอยู่หน้าอื่นเล็กๆครับ เว้นแต่จะเป็นหนังสือที่สร้างขึ้นเพื่อนินทากันตรงๆ ครับ
  • ผมว่าการออกข่าวก็มีผลต่อคนในประเทศนั้นๆ เช่นกันครับ

สวัสดีครับคุณนนทลี 

P

ขอบคุณมากนะครับผม สำหรับคำชม อิๆ นานๆ ได้แต่งสูทซักทีครับ เพราะทำงานที่นี่ ใส่ชุดได้ตามสบายครับ

  • งานแต่งงานเพื่อน มีแขกมาเยี่ยมชมงาน พูดพรีเซนต์งาน รายงานความคืบหน้า รวมงานวันชาติ อะไรทำนองนี้ที่เป็นโอกาสในการใส่สูทครับ
  • นอกนั้นก็ตามสบายครับผม แต่โปรเฟสเซอร์ส่วนใหญ่ก็สูทตลอดครับ เพราะต้องไปพบปะคนอื่นตลอดครับ
  • ขอบคุณมากครับผม
ไม่รู้จะคอมเม้นท์อะไร รู้แต่ว่าน่าภูมิใจจัง เก็บสิ่งดีๆ กลับมาพัฒนาเมืองไทยของเรานะคะ   :)
  • ว๊าว!!เท่่ห์มากเลยคุณเม้ง... แวะมาชื่นชมในการทำงานค่ะ
  • แต่ง่วงมากเลย  ไปก่อนนะคะ....วันนี้ไม่อยู่เป็นเพื่อนแล้วค่ะ
สวัสดีครับ น้องจินตนา
P

คิดว่าน่าจะรุ่นน้อง ครับ

  • ขอบคุณมากครับผม ต้องร่วมกันพัฒนาด้วยกันนะคับ ทำในสิ่งที่เราช่วยได้ คนละไม้ละมือ ร่วมกัน ก็จะเกิดพลังใจพลังกาย ต่อสิ่งที่จะทำครับ แรงขับเคลื่อนก็คงมีพลังมากขึ้นครับ ร่วมกันสร้างสร้างดีๆ ต่อสังคมคับ
  • เป็นนักเล่นกล้องใช่ไหมครับ ว่างๆ ถ่ายมาอวดบ้างนะครับ ผมชอบพวกใบไม้ ผีเสื้อ ธรรมชาติครับ
สวัสดีครับ อ.ลูกหว้า
P
ขอบคุณมากคับผม ฝีดันฝันดีครับ
เจ๋ง!!!! คนไทยสุดยอดอยู่แล้ว

ขอบคุณคุณวันพิชิต ครับผม

นานๆ ทีก็โอเคครับ บ่อยๆ นี่ไม่ไหวครับ ทำงานไม่ทันครับ เพราะหากเราออกงานไปครั้งหนึ่ง เราต้องทำงานเพิ่มมากขึ้นด้วยเพื่อหนีผลที่เคยแสดงไปครั้งก่อน ให้ได้ผลที่ดีกว่างานครั้งก่อนครับ

ไม่งั้นเราจะมีขอเดิมๆ คือเป้าคือต้องพัฒนาไม่หยุดนิ่งครับ และต้องเกิดประโยชน์ครับ

  • ผมไม่ทราบว่า program ของคุณเม้งทำหน้าที่จำลองสถานการณ์แห้งแล้งจะเกิดขึ้นกับภูเขาที่โด่เด่ท่ามกลางทุ่งนาที่แห้งแล้งได้หรือไม่ว่าในอนาคตภูเขาป่าไม้ลูกนั้นจะมีพัฒนาการไปสู่จุดใด โดยใส่ Condition ต่างๆลงไป เช่น เกิดความแห้งแล้งทุกปี เกิดไฟป่าทุกปี เกิดการตัดไม้ทุกปี เกิดน้ำท่วมทุก 2 ปีและอื่นๆเป็นต้น
  • ผมกำลังสนใจดงหลวงของผม เพราะหากดูดงหลวงผ่าน Google-earth หรือ Point asia แล้วจะเห็นว่าเจ้าดงหลวงเกาะเกี่ยวกับเทือกเขาภูพาน แต่รอบๆมันเป็นทุ่งนาที่แห้งแล้งมาก ป่าแห่งนี้จะอยู่ได้สักกี่ปี
  • เหมือนป่าท่ามกลางทะเลทราย ลมร้อนจากทะเลทรายจะเผาให้ป่ามอดไหม้ไปในระยะเวลาหนึ่งในอนาคต
  • ถามเล่นๆ แต่อยากรู้จริงๆ ว่าระบบ คอมพิวเตอร์ทำได้หรือไม่ครับ
  • หากทำได้ผมคิดว่าอนาคตน่าที่จะทำ simulation นี้ไปคุยกับชาวบ้านครับ เพื่อสร้างสำนึกการฟื้นฟูป่า นี่เป็นเพียงเครื่องมือหนึ่งนะครับ  แต่เป็นเครื่องมือที่น่าจะมีประโยชน์มากๆ เพราะให้เห็นภาพที่อาจเกิดขึ้นจริงได้
  • ขอบคุณครับ

สวัสดีครับ พี่ไพศาล

  • พี่สองปีก่อน ได้ร่วมกันทำการจำลองความแห้งแล้ง ฝนไม่ค่อยตกในแถบภาคตะวันออกครับ แต่เนื่องจากว่าผมทำในส่วนการแสดงผล ส่วนการคำนวณต้องรันด้วยพวก PC Cluster, Parallel Computing หรือ Supercomputer แบบว่าเครื่องแรงๆ หน่อยครับ แต่คิดว่าต่อไปคงพัฒนาไปสู่จุดเหล่านั้นครับ แต่ต้องศึกษาเพิ่มเติมร่วมกันอีกเยอะครับ แล้วต้องขอข้อมูลหลายๆที่ครับ อีกอย่างกริดพื้นที่ ตำแหน่งลมทิศทางลม ความชื้น อุณหภูมิแต่ละที่ครับ
  • ว่างๆ รบกวนพี่ส่งภาพดงหลวงจาก google earth, point asia มาให้หน่อยครับ ผมจะได้ลองเข้าไปดูด้วยครับ นั่นหล่ะคับ ผมถึงกลัวว่าหากวันหนึ่งเกิดปลูกยางพาราทั้งประเทศ หน้าผลัดใบ เมษา คงเห็นเมืองไทยไม่มีสีเขียวแน่ๆ ครับ
  • เราต้องพัฒนาโมเดลร่วมกันหลายๆ ฝ่ายแล้วศึกษาที่ต่างประเทศทำกันด้วยครับ อากาศมันต้องทำทั้งระบบครับ คือทั้งโลกไปเลยครับ หรือว่ากริดที่ใครครอบคลุมพื้นที่ที่เราสนใจ แต่ทำใหญ่มากก็คำนวณมาก คำนวณช้าครับ เครื่องกระอักครับ ตอนนี้พี่ๆ ที่กรมอุตุก็เดินสายติดตั้งเครื่องตรวจวัดอากาศอยู่เหมือนกันครับ อันนี้ก็คนไทยทำเองหมดเลยครับ มีทีมเก่งๆ ที่ทำอยู่ครับ ในการผลิตตัวเครื่องมือไปตรวจค่าต่างๆ ที่จุดที่เสี่ยงภัยและพื้นที่อื่นๆ นะครับ
  • ตอนนี้แบบว่าผมก็อยากให้ไปถึงจุดที่พี่ว่าเร็วๆ ครับ เพราะอยากให้คนเห็นว่าหากไม่รีบกันแก้ไข ปลูกป่า รณรงค์สิ่งแวดล้อม เราจะสายเกินไปครับ
  • ไว้ผมจะนำเสนอในบทความต่อๆ ไปเกี่ยวกับ พายุที่คนไทยจะต้องตระหนักครับ เพราะสิ่งที่เราเห็นมันคือภาพจริงๆ จากด้านบน
  • ป่าที่ล้อมด้วยทะเลทราย ความชุ่มชื้นไม่เพียงพอที่จะดึงเมฆให้ลงมาต่ำครับผม
  • ตอนนี้ผมปลูกป่าในคอมพิวเตอร์อย่างเดียวครับ ไม่ได้ปลูกของจริงมานานมากแล้วครับ
  • กลับไปคงต้นเริ่มที่ตัวเราครับ ที่มหาวิทยาลัยที่เมืองไทย ชอบโค่นต้นไม้กันครับ จะโค่นทีก็เจอเด็กประท้วงกัน แต่มีบางที่ตัดตอนที่เด็กไม่อยู่ ไม่รู้ต้นไม้พวกนั้นมันไปทำร้ายจิตใจใคร ไม่เข้าใจเหมือนกันครับ คนปลูกไม่ได้ชม คนไม่ตัดไม่ได้ปลูกครับ หากคนตัดกับคนปลูกคนเดียวกัน คงมีสายใยอยู่บ้างครับ
  • ขอบคุณครับผม

 

หากท่านยังไม่นอน ลองดูภาพตัวอย่าง จะรีเฟรชทุกๆ ครึ่งนาที จากเว็บนี้นะครับ http://www.swr.de/tv/index.html  ด้านล่างของหน้าเว็บนะครับ
ขอบคุณครับผม
ตามมาดู ตามมาชม... สุดยอดครับผม..

เท่ห์จังค่ะ ใส่สูทเนี่ย นานๆครั้งออกงานทีก็เป็นประโยชน์สิคะ เพราะเป็นการกระตุ้นให้เราต้องพัฒนางานไปข้างหน้าเรื่อยๆ (ชอบความคิดนี้ค่ะ)

ดีใจและอยากให้ความคิดเห็นของคุณเม้งได้รับการเผยแพร่ออกไปเยอะๆ เพราะเราจะรู้สึกได้ถึงความสุขในการได้ให้ ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้โดยไม่ยึดติดค่ะ อ่านแล้วรู้สึกดี และเป็นตัวอย่างที่ดีค่ะ (ไม่เฉพาะต่อคนไทยนะคะ รู้สึกว่าเป็นสากลเลยเชียวแหละ)

ชื่นชมค่ะ

 

  • ขอบคุณคุณเม้งครับ
  • แล้วพี่จะส่งภาพไปให้ดูนะครับ ยอดเยี่ยม ดีใจที่คนไทยเราจะเอาความรู้ทางเทคโนโลยี่มาพัฒนางานในบ้านเมืองของเรา
  • ขอให้ประสบผลสำเร็จนะครับ

สวัสดีครับ

    ขอบคุณทุกคนครับ สำหรับกำลังใจดีๆ ครับ แต่ก็ต้องพัฒนากันต่อครับ แต่ละคนก็พัฒนากัน พอมีส่วนที่เกี่ยวข้องกันก็ทำด้วยกันในส่วนที่ต้องบูรณาการร่วม ช่วยกันต่อ จิ๊กซอ ก็จะกลายเป็นภาพที่เห็นอะไรชัดขึ้นครับ

ขอบคุณมากครับผม มีข้อคิดเห็นอะไรต่อยอดก็ต่อได้เต็มที่เลยครับผม

เม้ง

Cool Cool

If we can use this program really for out country, I think it wolud be so nice krab...

P Meng is great krab..

  • ยินดีด้วยกับอีกหนึ่งความภาคภูมิใจของคนไทยนะคะ เป็นกำลังใจให้พี่เม้งนะคะ
  • ตอนนี้ก็สนใจเกี่ยวกับ Global warming อยู่เหมือนกันค่ะ ถ้ามี project ใหม่ ๆ จะเอามาให้ดูล่ะกันนะคะ
  • อ้อ... อีกอย่าง จะเอาพี่เม้งเป็นแบบอย่างในการเรียนและการทำงานนะคะ ประเทศชาติของเราจะได้เจริญก้าวหน้าค่ะ
  • ดูภาพได้บรรยากาศจริง ๆเลยค่ะ
  • เขาทำงานกันเข้มข้นนะ
  • หลับตานึกถึงภาพพายุที่กำลังหมุน โอ๊ย! พระเจ้าช่วย.......สุดน่ากลัว
  • โชคดีของเมืองไทยสิ่งร้ายเหล่านี้มักพัดผ่านไป อย่าให้เกิดในเมืองไทยเลยนะ

สวัสดีค่ะคุณเม้ง

เบิร์ดมีความเห็นเดียวกับคุณบางทรายคือถ้าสามารถจำลองและทำนายสภาพป่าในอนาคต รวมทั้งสภาพอากาศ สภาพน้ำที่จะเกิดขึ้นของพื้นที่ต่างๆในไทยได้น่าจะเป็นประโยชน์มากเลยค่ะ เพราะจะขอเอาเป็นโมเดลเวลาคุยกับชาวบ้านจะได้เห็นภาพชัดเจนขึ้น..

เริ่มเหนื่อยกับการพยายามที่จะไม่ให้เผาป่าทุกปีๆแล้วค่ะ..ปีนี้เชียงรายหายใจแล้วแสบในจมูกตั้งแต่ต้นเดือนมีนาคมเลย ยิ่งที่เชียงใหม่อากาศมีมลพิษสูงมากจนเด็กและผู้สูงอายุ ( เกินกว่า 60 ปี )ไม่ควรออกจากบ้านในช่วงนี้แล้วค่ะ .. เฮ้อ ! กลับมาเร็วๆนะคะธรรมชาติเมืองไทยรออยู่ค่ะ

Congratulations.

You have lots of knowledge and experience behind you.  Please kindly contribute to our younger generations in our homeland.  

I am very proud of you.

 

Best regards,

PS

Sorry, I could not type Thai. I shall learn it.

กราบขอบคุณ พี่อัมพร คุณเบิร์ด น้องแหลม น้องเจน คุณ Phoemchai และท่านอื่นๆ มากครับ

  • สำหรับกรณีการปลูกป่า ผมว่าเรามีคนในเมืองไทยให้ยึดกันหลายๆ ท่านครับ ที่ผมเห็นคนธรรมดาแล้วที่ยึดเป็นหลักอยู่ตอนนี้มีอย่างน้อยสองคนครับ คือ ดาบตำรวจ วิชัย และคุณลุงสงัดครับ
  • ท่าน ด.ต. วิชัยนี่ ท่านปลูกที่ที่ ไม่ว่าที่ใคร จนคนว่าท่านบ้า แต่ตอนนี้ก็ได้ผล เกิดประโยชน์กับคนในหมู่บ้าน แต่ไม่รู้ว่าคนอื่นจะช่วยท่านปลูกบ้างไหม
  • ส่วนคุณลุงสงัดนี่ ก็นับถือน้ำใจคุณลุงจริง เล่นปลูกเป็นป่าเลย ส่วนคนอื่นไม่รู้คิดกับท่านยังไง ว่ามีใครจะช่วยสนับสนุนบ้างไหม
  • ทางการทราบก็ให้รางวัลกันไป แล้วเงียบหรือเปล่าก็ไม่แน่ใจครับ
  • แล้วในภาพรวมของประเทศหล่ะครับ
  • ไว้ผมจะเอาพายุมาโพสต์ใส่ให้ดูกันเรื่อยๆครับ เผื่อจะได้กลัวกันบ้างครับ แล้วเอาจริงเอาจัง
  • โครงการอีสานเขียว ยังทำกันอยู่ไหมครับ ตอนนี้ ยังมีคนสานต่อไหมครับ รบกวนให้ข้อมูลด้วยครับ
  • ผมเคยเข้าไปในบาร์ นักเรียนในเยอรมัน มาหนึ่งหรือสองครั้ง โหจะให้ขาดใจตายกันตอนนั้นเลยครับ แบบว่าควันบุหรี่คลุ้งเลย ทำให้อยากจะเทียบกับเมืองในหมอกควัน ทางเหนือ ที่บอกว่าแสบจมูกของคุณเบิร์ด เพราะเข้าไปนั่งไม่นานผมต้องกลั้นหายใจ แต่อยากดูว่าเป็นไง แล้วครั้งต่อมาเลิกเลยครับ (คือไม่สูบบุหรี่ เพราะรู้ว่ามันคืออะไร) หากจะเทียบปล่องควันเหมือนปากคนที่สูบบุหรี่ ไอควันร้อนนั่น มันก็จะลอยสูงขึ้น ก็ไปติดอยู่ที่เพดานนั่นหล่ะครับ เปรียบเสมือนเมฆหมอกควันที่ปกคลุมห้องนั้นอยู่ ในโลกความจริงก็เช่นกัน เพราะว่า โลกเรามีชั้นบรรยากาศหลายชั้นห่อหุ้มอยู่ ควันเหล่านั้นมันก็ไม่สามารถจะลอยไปดาวอังคารได้ มันก็โดนหุ้มล้อมอยู่กับพื้นที่นั่นหล่ะครับ ที่ปล่อยควันขึ้นไป อย่างน้อยก็ไล่เมฆให้ลอยสูงขึ้น ต่อมาหากมีลมพัดมาแรงๆ ก็จะพัดเอาควันที่ว่านั่นไปให้ประเทศอื่นได้รับ ได้สูดดมกันต่อไป แบ่งๆ กันสูดดม เหมือนในบาร์บุหรี่นั่นหล่ะครับ
  • ขอบคุณมากครับ
คุณเม้ง กลับมาแล้วจะทำงานที่กรมอุตุฯ หรือเปล่าค่ะ?
  • ออไม่ครับผม ผมทำงานที่ ปัตตานีครับ
  • แต่ก็คงร่วมกันสานงานต่อทางอุตุกับพี่ๆ ที่กรมอุตุครับผม ผมคงวิ่งเข้าไปทุกสาขาครับ เท่าที่จะช่วยได้ครับ เพราะสาขาที่เรียนมันเป็นสาขาที่เกี่ยวข้องและเชื่อมโยงศาสตร์บูรณาการนะครับ เป็นเชิง วิทยาการคณนา (Computational Science) นะครับ เรียนรู้เครื่องมือ วิธีการ การแก้ปัญหา การตีความกลับไปยังปัญหาจริงครับ
  • จะเห็นว่าผมทำหลายๆ ส่วน ผมอยากให้เกิดกระบวนการเรียนรู้ในเมืองไทย แล้วทำงานร่วมกันทุกชนชั้น ระดับคน
  • งานที่เน้นหลักๆ คือ applied maths, image processing, simulation, visualization แล้วก็ภัยพิบัติครับ
  • สำหรับแนวคิดการทำงานผมคิดว่าทำที่ไหนก็ได้ มันถึงกันหมดครับ ระยะทางไม่ใช่ปัญหาในการทำงานร่วมกัน อันนี้พิสูจน์มาด้วยตัวเองแล้ว มันอยู่ที่ตัวเราครับ
  • ขอบคุณมากนะครับผม

ขอแสดงความยินดีกับสิ่งที่ได้ทำและทำได้ดี

ขอให้ทำดีต่อไป เป็นกำลังใจให้เสมอ

จากพี่อำเภอ

  • เมื่อสักครู่  ออกข่าวช่อง 9 ด้วย 
  • เก่งจริงๆเลยนะคะ  อ. เม้ง
  • ว๊า!! คุณเม้งอุตส่าห์บอก  หว้าไม่ได้ดูเลย....
  • ตอนเย็นก็เปิดช่อง 9 อยู่  พี่หนิงได้ดูด้วย..
  • ดังใหญ่แล้ว..
P

สวัสดีครับ พี่หนิง

  • ขอบคุณครับ ผมเปิดรอไว้เหมือนกัน อิๆ เพราะพี่วัฒนาแจ้งมาครับ แต่ว่า อดดูครับ เสียงก็ขาดตอนนั้นพอดี อิๆ
  • ขอบคุณครับผม

เป็นครั้งแรกที่ได้เยี่ยมชมwebsite โดยไม่ได้ตั้งใจแต่ชื่นชมมากจากประสบการณ์ครั้งแรกที่ได้ก้าวเข้ามา จริงๆเป็นครูสอนภาษาอังกฤษเพราะคณิตยากเกินไปสำหรัยตัวเองแต่ก็มีความตั้งใจจะสอนพิเศษ(หลานๆ)นะป.6แต่เนื้อหาซับซ้อน แต่ก็ สู้ๆๆ

ก็ยากเก่งคณิตนะ

มินา จ.ชัยภูมิ

ไม่มีรูป
มินา

สวัสดีครับคุณมินา

  • ด้วยความยินดีมากๆ นะคับคุณมินา
  • เราช่วยกันทำงานสร้างงาน เพื่อสังคมกันได้ครับ ตามที่เราถนัดนะครับ คุณครูเองก็มีความถนัดทางด้านภาษา ก็ช่วยสานงานด้านนี้กันนะครับ
  • ผมก็ดีใจครับ มีคุณครูเยอะมากๆ ครับ ที่ตั้งใจทำงานเพื่อส่วนรวมครับ
  • เรื่องคณิตศาสตร์ฝึกได้ครับ ศึกษาได้ครับ สอนหลานๆ ให้เค้าเข้าใจถึงที่มานะครับ ให้เค้ารักและผูกพันกับวิชาต่างๆ กับสิ่งรอบตัวครับ ผมเชื่อว่าสิ่งเหล่านี้เป็นตัวกระตุ้นและสร้างแรงจูงใจให้น้องๆ หลานๆ ในเมืองไทยได้แสดงถึงพลังในการเรียนรู้นะครับ
  • วันหนึ่งเมื่อคนเราพร้อมเราก็จะง่ายในการพัฒนาประเทศครับ
  • ขอเป็นแรงใจกำลังใจให้ในการพัฒนาเด็กๆ นะครับ ขอบคุณมากครับ
P

สวัสดีครับ อ.ลูกหว้า

  • ออไม่มีอะไรหรอกครับ ไม่ได้ดังอะไรหรอกครับ เป็นเพราะข่าวบังเอิญมาตรงกันครับ
  • มีหลายๆ อย่างให้เราช่วยกันทำครับ เพื่อชาติเพื่อโลกนี้ครับ มีหลายๆ อย่างที่คนในโลกนี้ต้องตระหนักก่อนจะสายเกินไปครับ
  • ขอบคุณมากนะครับ

โปรเฟสเซอร์ของคุณเม้งหน้าตา ใจดีมากๆเลยค่ะ (แอบหน้าคล้าย แกนดอฟ : P)

การประยุกต์คณิตศาสตร์ แบบที่คุณเม้งทำ มัทสนับสนุนเต็มที่ค่ะ การทำแบบจำลอง การทำ simulation ที่ใช้คณิตศาสตร์ช่วยจับเหตุปัจจัยแบบซับซ้อน และคำนวณแบบ multi-level คำนวณด้วยทฤษฎีทางระบบ นี่มีประโยชน์มากค่ะ

แต่มัทเบื่อเต็มทีกับการใช้ simple stat ไปจับเรื่องเหตุปัจจัย หา association  ระหว่างเหตุ ปัจจัย และ ผล เหมือนกับว่ามันตรงไปตรงมา ทำออกมาก็ไม่ได้รู้อะไรมากขึ้นกว่าเดิม

แล้วก็สนับสนุนและขอบคุณมากๆที่คุณเม้งสนใจเรื่องธรรมชาติสิ่งแวดล้อมค่ะ : ) 

 

 

 

P

สวัสดีครับ อ.มัทนา

  • ขอบคุณมากๆนะครับที่เข้ามาทักทายเยี่ยมเยียนครับ
  • โปรเฟสเซอร์ผม ท่านใจดีมากๆ ใช่ครับ ท่านรักผมมาก และเป็นห่วงหลายๆ เรื่องครับ
  • ผมประทับใจในแนวทางการสร้างคนของเยอรมันมากพอสมควรครับ
  • คนที่เป็นโปรเฟสเซอร์จะต้องมีตำแหน่งว่างในมหาวิทยาลัยก่อนครับถึงจะไปสมัครได้ แล้วเป็นโปรแล้วก็ต้องย้ายสถานที่ทำงานด้วยครับ ประมาณ สามครั้ง กว่าจะได้อยู่กับที่
  • หลายคนบ่นว่า ต้องย้ายที่มีปัญหาต่อครอบครัวครับ ก็จริงครับ แต่มองในระดับประเทศแล้วจะมีการสร้างเครือข่ายที่ดีมากๆ ในช่วงการย้ายไปทำงานที่ต่างๆ อย่างน้อยสามปีแต่ละที่ คิดดูนะครับ คนละสามที่ เครือข่ายก็จะเกิดครับ
  • แต่คนเค้ามีระเบียบนะครับ ง่ายในการพัฒนา ถกกันในงานเสร็จงานก็คือเพื่อนร่วมงานกัน
  • ผมโชคดีครับที่มาอยู่ในสถาบันที่มีกลุ่มวิจัยเยอะมากๆ เลยครับ เยี่ยมชมได้ที่นี่นะครับ
  • http://www.iwr.uni-heidelberg.de/ คลิก research groups จะเห็นกลุ่มต่างๆนะครับ อยู่ในสถาบันเดียวกัน แม้ว่าตึกจะอยู่ห่างกันบ้าง แต่ก็ทำงานในเชิงบูรณาการด้วยกันครับ
  • ผมอยู่ในกรุ๊ป Applied AnalysisVisualization and Numerical Geometry
  • ผมถึงคิดว่า เมืองไทยต้องเร่งพัฒนาคนเพื่อให้ทันกับสิ่งที่จะเกิดกับอนาคตครับ เพราะปัญหาในปัจจุบันมันหนักมาขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะปัญหาโลกร้อน สิ่งแวดล้อม ทรัพยากรจำกัด คนเห็นธุรกิจ เน้นวัตถุกันมากขึ้น
  • ผมคิดว่าวันหนึ่งคงดีขึ้นครับ หากเราช่วยเหลือกันครับ แล้วสร้างชุมชนเข้มแข็ง สร้างภูมิคุ้มกันให้กับภาคประชาชนครับ
  • ขอบคุณมากๆ นะครับ ถึงเวลาแล้วครับ ที่ไทยจะต้อง ทำ ใช้ พัฒนา ยั่งยืน ด้วยลำแข้งของไทยครับ
  • ขอบคุณมากสำหรับกำลังใจครับ
  • เพิ่มเติมครับ โปรเฟสเซอร์ผมคนนี้นะครับ เป็น Professor ตั้งแต่อายุ 30 นะครับ ได้รับผิดชอบอะไรหลายๆ อย่างครับ แต่ท่านก็เล่าว่ามีปัญหาเหมือนกัน ตอนเด็กอยู่เค้าให้ทำงานบริหารแต่ไม่ได้มีอำนาจอะไรในการตัดสินใจ ผมแอบยิ้มในใจ
  • ในวงการคณิตศาสตร์ และประยุกต์ ในยุโรปต้องรูปจักคนนี้ครับ Prof. Willi Jaeger
  • ท่านบอกผมว่า เวลาผมจบเรียบร้อยแล้ว ท่านจะไปปืนต้นมะพร้าว ที่เมืองไทยด้วยครับ ทำเอาเพื่อนๆ คนอื่นต้องคิดถึงต้นมะพร้าวในประเทศตัวเอง บ้างก็บอกว่า บ้านฉันมีต้นกล้วยนะ ถึงแม้จะไม่มีต้นมะพร้าวก็ตาม อิๆ
  • ขอบคุณมากครับ
สวัสดีครับคุณ Patrickz 2.0 ขอบคุณมากนะครับ ยินดีต้อนรับนะครับผม คงมีโอกาสได้แลกเปลี่ยนกันบ้างครับ ตามโอกาสและวาระนะครับ โชคดีนะครับ
ภูมิใจแทนประเทศชาติ..ที่มีคนไทยที่เก่งและดีอยู่ในคนๆเดียวกัน..ขอชื่นชมอย่างจริงใจค่ะ..
P

สวัสดีครับคุณครู

  • ขอบคุณมากนะครับ
  • แต่อย่าเพิ่งเชื่อว่าดีและเก่งนะครับผม ต้องดูไปนานๆนะครับ
  • ขอบคุณมากๆ นะครับ โชคดีในการทำงานและวันหยุดครับผม

สวัสดีครับ

น่าปลื้มใจนะครับ

กำลังตามอ่านประวัติ Prof. ท่านนี้อยู่ครับ

เท่ด้วย (แต่กินไม่ได้) อิๆๆ

สวัสดีครัีบคุณธ.วั ช ชั ย

    สบายดีนะครัีบผม ขอบคุณมากครับ ที่สนใจตามมาอ่านถึงตรงนี้นะครับ โปรฯ ท่านเป็นโปรเฟสเซอร์ตั้งแต่อายุ 30 ปีครัีบ เป็นคนเ่ก่งก็ต้องทำงานหนักกว่าคนทั่วไปครับ  คนเก่งไม่ใช่คนที่สบายกว่าคนทั่วไปนะครับ คนเรียนสูงเป็นคนที่ต้องทำงานหนักกว่าคนทั่วไปครัีบ รับผิดชอบมากกว่าคนทั่วไปครัีบ เพราะถือว่าประเทศชาติได้สร้างคุณขึ้นมาเพื่อทำงานเพื่อชาติเช่นกันครัีบ

ขอบคุณมากครัีบ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท