Internal evaluation


Internal evaluation
การเกิดเครือข่าย (Node) การวิจัยเชิงคุณภาพ ของโครงการ (ข้อมูลที่ได้จาก Field note แทบไม่มีข้อมูลที่กล่าวถึงเครือข่ายหรือ Node เลย จึงสรุปจากการประชุมในครั้งต่าง ๆ ในช่วงของการพัฒนาโครงการระยะที่สอง) ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการขยาย Node แนวร่วม หรือผู้ร่วมอุดมการณ์(สรุปจาก Field note)1. บริบทของพื้นที่            1.1 ความเข้มแข็งของเครือข่ายบริการสุขภาพเดิมของพื้นที่ พบว่าในพื้นที่ที่เครือข่ายบริการสุขภาพเดิม มีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน มีการช่วยเหลือเกื้อกูลในด้านต่าง ๆ อยู่เดิมจะสามารถสร้าง พัฒนา Node ได้สำเร็จ และต่อเนื่อง เช่นที่จังหวัดน่าน เป็นต้น             1.2 วัฒนธรรมการทำงาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการดำเนินงานด้านวิชาการของพื้นที่ พบว่าในพื้นที่ที่มีการนำงาน หรือผลงานทางวิชาการมาใช้ในการบริหารจัดการด้านสุขภาพอย่างแพร่หลายมาก่อน  จะสามารถสร้าง พัฒนา Node ได้สำเร็จ และต่อเนื่อง เช่นที่จังหวัดน่าน แต่ในบางพื้นที่มีวัฒนธรรมการทำงานด้านสาธารณสุขค่อยข้างจะมีลักษณะเป็นการเมือง การเกิดและขยาย Node ในลักษณะเป็นกลุ่มใหญ่ ๆ จะเป็นได้ลำบากมาก อาจต้องเลือกใช้แบบการฝึกในการปฏิบัติงานประจำ (on the job training) จะเหมาะสมกับบริบทของพื้นที่มากกว่า             1.3 การสนับสนุนของผู้บริหาร ซึ่งพบว่าคล้ายกับการดำเนินงานในเรื่องอื่น ๆ ทั่วไปหากได้รับการสนับสนุนในด้านต่าง ๆ จากผู้บริหาร งานนั้น ๆ ก็จะมีโอกาสสำเร็จได้ง่ายกว่า มากกว่า  2. บริบทของนักวิจัย (ผู้ที่จะทำให้เกิด Node)            2.1 ความรู้ ความสามารถ พบว่าเป็นสิ่งสำคัญที่จะสามารถดึงคนอื่น ๆ มาเป็นแนวร่วม โดยผู้ให้ข้อมูลที่เป็นแนวร่วมของโครงการนี้หลายคน ให้เหตุผลของการมาร่วมเพราะเป็นว่าผู้สอนมีความรู้ความสามารถทั้งในทางวิชาการ และทักษะการสอน การถ่ายทอด ที่ดี เป็นคนเก่งในสายตาของพวกเขา            2.2 บารมี และการเคารพนับถือ มีแนวร่วมไม่น้อยที่ในระยะแรกตัดสินใจมาร่วมเรียนรู้และนำเนินการตามกระบวนการ เพราะเกรงใจ และความเคารพนับถือต่อผู้ชักชวน หรือผู้สอน            2.3 ผลกระทบอันเกิดจากงานวิจัยที่ผ่านมาของนักวิจัย ปรากฏชัดเจนว่าการที่ผลการวิจัยของผู้สอนสามารถนำไปสู่การแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ในการทำงานของหน่วยงาน ทำให้คนอื่น ๆ ในหน่วยงานมีความต้องการที่จะเรียนรู้และนำกระบวนการที่มาใช้การทำงานของตนต่อไป            2.4  ความสัมพันธ์เชิงสังคมกับเพื่อนร่วมงาน หรือทีมงาน    พบว่าในหลายกรณีด้วยความเป็นพี่ เป็นน้อง เป็นกันเองของสอน นั้นเองที่เป็นแรงดึงดูดสำคัญให้คนในหน่วยงานหันมาสนในและต้องการที่จะเรียนรู้และนำกระบวนการที่มาใช้ ลักษณะการเกิด Node            Node ในที่นี่จะหมายถึงกลุ่มคน หรือกระจุกคนที่มาร่วมกันเพื่อเรียนรู้และทำวิจัยเชิงคุณภาพตามกระบวนการ หรือใช้แนวทางของกระบวนการของโครงการหลักของชมรมพยาบาลชุมชนแห่งประเทศไทย ดังนั้นในอีกมุมมองหนึ่ง Node จึงเป็นหน่วยย่อย ๆ ของเครือข่าย หรือแนวร่วมของกลุ่มพยาบาลที่ใช้แนวคิด กระบวนการของการวิจัยเชิงคุณภาพเป็นเครื่องมือในการสร้างเสริมสุขภาพในบริบทต่าง ๆ ของพยาบาลนั้นเอง ดังนั้นจากมุมมองนี้ ในช่วง 3 ปี ของการดำเนินโครงการฯ ระยะที่หนึ่ง พบว่ามีการเกิดขึ้นหรือการขยายแนวคิด และกระบวนการของโครงการ ฯ ในรูปแบบของ Node  หรือแนวร่วม หรือผู้ร่วมอุดมการณ์ ในหลายลักษณะ คือ1. Node ที่เกิดขึ้นโดยตรงตามแผนการขยาย Node ของโครงการหลักเป็นการเกิด Node  หรือแนวร่วม หรือผู้ร่วมอุดมการณ์ ซึ่งเป็นไปตามแผนงาน และการบริหารจัดการโดยตรงของโครงการหลัก โดยในปีแรกมีจำนวน 1 Node ประมาณ 35 คน และเกิดขึ้นปีละ 2  Node ในการดำเนินโครงการปีที่ 2 และ 3 ของระยะแรก2. Node ที่เกิดขึ้นจากการขยายแนวคิดและกระบวนการ ของผู้ผ่านการอบรมใน Node หลักเป็นการเกิด Node  หรือแนวร่วม หรือผู้ร่วมอุดมการณ์  ที่ไม่ได้เกิดจากการบริหารจัดการโดยตรงจากโครงการ  แต่เกิดในลักษณะของการสอนต่อ บอกต่อ ของผู้ที่ผ่านกระบวนการหลักของโครงการ ซึ่งเป็นผลกระทบที่สำคัญและยิ่งใหญ่ของโครงการ เป็นกระบวนการที่สามารถทำให้เกิดการขยายแนวคิด สร้างแนวร่วมให้ได้จำนวนมาก ครอบคลุมทั้งประเทศได้ในที่สุด โดยพบว่า Node ในลักษณะนี้มีหลายรูปแบบดังนี้1)         Node แบบครูน้อยสอนเพื่อน  คือเกิดแนวร่วมในการสร้างเสริมสุขภาพโดยใช้กระบวนการวิจัยเชิงคุณภาพโดยนักวิจัยที่ผ่านการอบรมในโครงการหลัก ที่ได้รับการการอบรมเพิ่มเติม เกี่ยวกับกระบวนการจัดการความรู้ และการเป็น Coaching และ Facilitator และมีความรู้ ความสามารถเป็นผู้สอน (ครูน้อย)   ซึ่งพบว่ามี 2 รูปแบบคือ1.1)            แบบเต็มรูปแบบตามกระบวนการหลัก สามารสร้างแนวร่วมในการสร้างเสริมสุขภาพโดยใช้กระบวนการวิจัยเชิงคุณภาพได้ไม่น้อยกว่า 15 คน ต่อครั้ง ต่อ Node 1.2)            แบบประยุกต์ โดยการจัดตั้งกลุ่มสนใจ จำนวนกลุ่มละไม่เกิน 5 คน เพื่อสอนและฝึกทักษะ และทำวิจัยวิจัยเชิงคุณภาพแบบ RAP 2) Node แบบพี่เลี้ยง สอนน้อง เป็นการสร้างแนวร่วมในการสร้างเสริมสุขภาพโดยใช้กระบวนการวิจัยเชิงคุณภาพโดยใช้นักวิจัยที่ผ่านการอบรมในโครงการหลัก ที่ได้รับการการอบรมเพิ่มเพิ่ม เกี่ยวกับกระบวนการจัดการความรู้ และการเป็น Coaching และ Facilitator แต่โดยบริบทพื้นที่ และความสามารถนักวิจัย ไม่สามารถ สอน หรือจัดตั้งกลุ่มได้ แต่สามารถฝึกเพื่อนร่วมงาน (พี่เลี้ยง) ในการร่วมปฏิบัติงานวิจัยจริง (On the Job Training) ครั้งละประมาณ 2- 3 คนอย่างไรก็ตามพบว่าการขยายผลโครงการ โดยเฉพาะอย่างในการเพิ่มจำนวน และความครอบคลุมของแนวร่วมในการสร้างเสริมสุขภาพโดยใช้กระบวนการวิจัยเชิงคุณภาพ จะได้มากน้อย ช้าหรือเร็วเพียงใด ส่วนหนึ่งขึ้นกับความพร้อมในบริบทของพื้นที่ และลักษณะนักวิจัยที่เข้าสู่กระบวนการของโครงการ ซึ่งเป็นปัจจัยภายนอกที่ควบคุมไม่ได้ โดยพบว่ามีลักษณะการเพิ่มขยายค่อนข้างเป็นรูปแบบ กล่าวจาก 100 คนที่ผ่านกระบวนการ จะเกิดนักวิจัย หรือแนวร่วมในการสร้างเสริมสุขภาพโดยใช้กระบวนการวิจัยเชิงคุณภาพเกือบทั้งหมด ในจำนวนนั้นจะมีประมาณ ร้อยละ 5 ที่พัฒนาสู่ระดับผู้สอน (ครูน้อย) ที่สามารถสอนและสร้างทีมแนวร่วมในการสร้างเสริมสุขภาพโดยใช้กระบวนการวิจัยเชิงคุณภาพได้เป็นจำนวนมาก สามารถดำเนินการได้ครบกระบวนการตามหลักสูตร และมีประมาณร้อยละ 10 ของนักวิจัยที่สามารถเป็นพี่เลี้ยงและฝึกคนในทีมวิจัยในลักษณะ On the job training ได้ครั้งละประมาณ 1 – 2 คน ดังแผนภาพ             ทั้งนี้แบบแผนดังกล่าวอาจเทียบเคียงและอธิบายได้ด้วยความจริงของระบบการศึกษาทั่ว ๆ ไป ที่พบว่า แม้นักศึกษาทั้งร้อยคนจะสามารถจบการศึกษาเป็นบัณฑิตเหมือนกันทุกคน แต่ก็มีไม่กี่คนที่ได้เกียรตินิยม และมีไม่กี่คนที่สามารถพัฒนาถึงขั้นเป็นครูสอนคนอื่นได้ ประกอบแนวคิดเรื่องการพัฒนาคนตามศักยภาพที่แตกต่างกันของปัจเจกคน แบบแผนการสร้างแนวร่วมในการสร้างเสริมสุขภาพโดยใช้กระบวนการวิจัยเชิงคุณภาพของโครงการนี้ จึงน่าเชื่อถือได้             
คำสำคัญ (Tags): #node
หมายเลขบันทึก: 82280เขียนเมื่อ 6 มีนาคม 2007 19:25 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 เมษายน 2012 01:39 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

ไม่อนุญาตให้แสดงความเห็น
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท