Leadership and Middle Management


ภาวะผู้นำกับผู้บริหารระดับกลาง

Leadership and Middle Management

 ผมได้อ่านเอกสารที่ "กพร" เผยแพร่ล่าสุด ที่ท่านนายกรัฐมนตรี ได้บรรยายเกี่ยวกับเรื่อง ภาวะผู้กับผู้บริหารระดับกลาง ดังนี้ครับ

 "การเป็นผู้นำที่ดี (Leadership) คนที่เป็นหัวหน้า แล้วไม่มีภาวะผู้นำ มีประโยคภาษาอังกฤษบอกว่า Leader without leadership is not a leader คือ ท่านจะต้องมีภาวะผู้นำ ผู้นำต้องรักงาน รู้จักแคร์คนอื่น รู้จักให้บริการ ต้องเสียสละ เข้าใจคนอื่น กล้ารับผิดชอบ ติดดิน เพราะฉะนั้นผู้บริหารระดับกลางต้องเป็น ตัวอย่างที่ดี"

 "สาเหตุที่ทำให้ผู้บริหารระดับกลางมีความหมายมาก ให้ลองนึกถึงระบบส่งวิทยุ สมมติว่าผมจะส่งวิทยุ ซึ่งวิทยุนั้นจะส่งได้แค่ 5 กิโลเมตร แต่มีคนที่ผมต้องการจะสื่อถึงอยู่ห่าง 8 กิโลเมตร ดังนั้น จะส่งอย่างไรก็ส่งไม่ถึง จึงจำเป็นต้องมี Repeater หรือ เครื่องทวนสัญญาณ โดยรับสัญญาณจากผมในจุดที่สัญญาณยังชัดเจนมาก ๆ และมีกำลังส่งต่อที่ชัดเจนมาก ๆ สัญญาณนั้นก็จะชัดเจน นั่นคือ สิ่งที่ผมพูดก็จะไปถึงสิ่งที่ปลายทางได้ยิน เพราะฉะนั้น Repeater นี้ก็คือ Middle Management หรือผู้บริหารระดับกลางนั่นเอง"

 หลายครั้ง หลายโอกาสครับที่ผู้นำสูงสุดขององค์กรได้แสดง "วิสัยทัศน์ สร้างนโยบาย และ กำหนดมาตรการ โครงการต่างๆ แต่ไม่สามารถนำมาสู่การปฏิบัติได้" ที่เรียก "Policy deployment" จะทำให้เกิด "ปัญหา และ อุปสรรค" ในการพัฒนา โดยเฉพาะการสื่อสาร ยิ่งถ้าไม่มีประสิทธิภาพ จะทำให้องค์กรนั้นเกิดความขัดแย้งอย่างมากมาย ที่กล่าวมาเป็นทฤษฎี ซึ่งผมนำมาขยายจาก "ประสบการณ์ตรงที่ได้ไปประเมินคุณภาพขององค์กรหนึ่ง และ ปัญหาที่เกิดขึ้น ซึ่งกำลังจะนำองค์กรให้เสื่อมถอยอย่างชัดเจน" ผมเองได้ปรึกษาหารือกับทีมงานที่ไปร่วมประเมินด้วย และ แลก เปลี่ยน เรียน รู้ กับ ผู้นำสูงสุด มีความเห็นพ้องต้องกันว่า  จะมี " โครงการพัฒนาผู้นำ" ซึ่งผมจะนำ "การจัดการความรู้" โดยนำการทบทวนการทำงานที่ผ่านมาที่เราเรียกว่า "After Action Review" มาเป็นตัวเดินเรื่อง และ คงมีกิจกรรมเสริมเพื่อสร้าง "ชุมชนนักปฏิบัติ หรือ ชุมชนผู้นำ" ให้เกิดในองค์กรที่เข้าไปมีส่วนร่วมประเมินนี้ครับ

JJ

หมายเลขบันทึก: 8207เขียนเมื่อ 27 พฤศจิกายน 2005 18:53 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 พฤษภาคม 2013 09:05 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ขอเพิ่มอีกมุมมองหนึ่ง    middle management จะทำหน้าที่เชื่อม สัญญาณจากข้างล่างขึ้นข้างบนด้วย   โดยช่วยบอกข้างบนว่าข้างล่างเขามีความสำเร็จอะไรบ้างให้ขยายผล    และข้างล่างเขาอึดอัดเพราะนโยบายข้างบนไม่สอดคล้องกับความเป็นจริงอย่างไรบ้าง

รวมความแล้วผมเห็นด้วยว่า middle management สำคัญมาก   ผมให้ความสำคัญและได้ผลน่าชื่นใจสมัยผมเป็นคณบดีเมื่อ ๒๐ ปีก่อน

วิจารณ์

กราบเรียน ท่าน อาจารย์หมอ วิจารณ์ ที่นับถือ

 ขอบพระคุณครับที่ท่านได้ "นำ Tacit Knowledge" ที่ประสบความสำเร็จมา "ลปรร" ผมระลึกได้ในสองสามประเด็น ในที่มีการ "ประชุมแพทย์ภูมิภาค ซึ่งเป็นการ แลก เปลี่ยน เรียน รู้ ประสบการณ์ ของ มอ.มข และ มช" คือ

 ๑.มอ.ได้มอบอำนาจ"Empowerment" พร้อมสร้างแรงจูงใจในการทำงานให้ "ผู้บริหารระดับกลาง" ค่อนข้างมาก เมื่อเทียบกับ ม.อื่น

 ๒.มีการรายงานผลความก้าวหน้า หลังการ "ลปรร" ของผู้บริหารระดับสูง ( คณบดี ) ผู้บริหารระดับกลาง ( รองคณบดี และ หัวหน้าภาควิชา) และ บางครั้งถึงระดับปฏิบัติ ( หัวหน้างาน ผู้ตรวจการพยาบาล) กันอย่างต่อเนื่อง

 ซึ่งน่าจะเป็น "การจัดการความรู้ ในสมัยนั้น"

 ๓.มีการสรุปทบทวน "ประเด็นหลัก หรือ ที่ เรียกว่า AAR" และ ยังมีการวางแผนกันล่วงหน้า ว่าครั้งต่อไป จะ "ลปรร" เรื่องอะไร หรือ จะนำไปทำอะไร ที่ เรียกว่า "Passion Plan" อีกครับ

 ผมคิดว่าอดีตบางครั้ง ยืนยัน การ "สร้างเครือข่าย" ซึ่ง Middle Management ในสมัยนั้นก็มีกระบวนการสื่อสารแบบ Network ที่ดีนะครับ

 ด้วยความขอบพระคุณครับ

JJ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท