Holistic Corner : หัวใจของความเป็นมนุษย์ It's so simple สิ่งที่เราได้เรียนรู้ 2


การฝึกที่จะดูแลด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ ทำให้เรา เข้าใจอะไรมากขึ้น ที่สำคัญ มันเป็นเรื่องที่เรียบง่าย ( so simple ) อยู่ในชีวิตประจำวัน

2. CQI  ธรรมชาติ  เกิดจากความตระหนัก 

ก่อนที่จะเกิด แผล กรณีตาเสงี่ยม  เราพัฒนา คลินิกสุขภาพหัวใจและหลอดเลือด ในโรงพยาบาลวารินชำราบ มานาน สิบกว่าปี ค่อย ๆ ต่อค่อย ๆ เติม จนน่าพอใจระดับหนึ่ง  สำหรับคลินิกบริการในระดับ ทุติยภูมิ  เราจัดให้มีการ annual screening ปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ จนเกือบครบ ซึ่งในปีนี้เราสามารถ screening DR และ microalbuminuria ได้ แต่ที่เราวางแผนไว้  ในปีก่อนคือการ sceening เท้า complete foot examination  มี foot care nurse ที่มีความชำนาญเรื่องในแพทย์แผนไทยระดับอาจารย์ของสถาบันพัฒนาฝีมือแรงงานทีเดียว ( ชื่อพี่เตี้ย อุดมพร )  ช่วงเดือนเมษายน 2549 เป็นช่วงที่ ตาเหงี่ยม เกิดแผล พอดี 

เรามีระบบข้อมูลข่าวสาร MIS ที่ดีมากระดับหนึ่ง เดือนเมษายน 2549

ตรวจเท้า complete foot examination ได้ 45.58 % ผมฝันหวานเลยว่า สิ้นปีนี้คง 90 % ขึ้นไป จากที่เราไม่เคยได้ตรวจเลย   มี high risk foot 154 ราย  และหนึ่งในนั้นคือ ตาเหงี่ยมของเรานั่นเอง ครับท่าน

ผมเริ่มเข้าใจเลยว่า ตัวเลข % ก็เป็นการแสดงผลงานได้ดีอย่างหนึ่ง แต่คงต้องดูอีกหลายองค์ประกอบ  การจับเพียงว่าตรวจครอบคลุมได้ แม้จะ 100 % ก็อาจไม่ได้บอกว่าเราทำได้ดีจริง  ทุกวันนี้ เรามี KPI ที่คนทำงาน ต้องเก็บข้อมูลส่ง  มากเสียจนผมไม่แน่ใจว่า  KPI ที่เราต้องการ  ได้แสดงถึง perfomance จริง ๆ ของงานบ้างหรือไม่   

ก่อนหน้านี้ มี nurse educator ของเราไปอบรม ( คือคุณสุพินดา )  ที่ กทม. มีทีมโรงพยาบาลเทพธารินทร์ บอกว่าควรตรวจเท้าทุกครั้ง  nurse practitioner รวมทั้งผมยังคิดอยู่ว่าจะทำได้อย่างไร   เรามีผู้ป่วยรับบริการทุกวัน จันทร์ถึงศุกร์  วันละ 70 - 100 ราย   ( จากเมื่อ 10 ปี ก่อน เรามีเพียงวันเดียวต่อสัปดาห์ )  ต้องตรวจถึง บ่ายโมงทุกวัน    จนผมเล่าให้ nurse practitioner ฟังว่าเกิด อะไรขึ้นกับ ตาเหงี่ยม  2 วันต่อมาเกิดรูปนี้ครับ

มีตั่งน้อย ๆ อยู่ข้างโต๊ะตรวจ     ( เดี๋ยวนี้ ที่ PCU ที่ผมทำงานก็เริ่มมีตั่งแบบนี้ด้วย  )    งานนี้  pcu มาช่วยอีกตามเคยครับ  เราจัดให้มีการบริการ เครือข่าย คลินิก สุขภาพหัวใจและหลอดเลือด ใน PCU   มีแพทย์ และเภสัชกร ร่วมกับ เจ้าหน้าที่ pcu   28 แห่ง จากเดิมมีเพียง 8 แห่ง  ( ไว้วันหลังถ้ามีเวลาจะเล่าให้ฟังนะครับ ว่ามีเรื่องแลกเปลี่ยนเรียนรู้อะไรบ้าง )  แม้จะเริ่มต้นเป็น extended opd cva clinic  แต่ก็ช่วย ทำให้คนไข้ลดลง เหลือวันละ 50-60 ราย ช่วยให้มีเวลาคุยมากขึ้น   ชาวบ้านก็ได้ประโยชน์กับการดูแลใกล้บ้าน  ( ผมรวบรวมข้อมูลเป็น pateint benefit profile ไว้วันหลังจะเอามาเล่าให้ฟัง ครับ )  สำหรับ nurse practitioner  2 คน   เกิดการตรวจเท้าทุกราย ทุก visit  ที่สำคัญเกิดเพราะความตระหนักของ ผู้ให้บริการเอง    ผมชอบคำนี้จริง ๆ   " ตระหนัก " เพราะผู้กระทำกระทำโดยความตั้งใจ เต็มใจ  เห็นคุณค่าในสิ่งที่ทำ  เราเกิด CQI ธรรมชาติ

ไม่ใช่เพราะ หัวหน้าสั่ง หรือการบ้านที่ต้องทำ  จริง ๆแล้ว ผมสังเกตุว่าเรามี CQI ธรรมชาติ  บ่อยมาก บางครั้งวันละหลาย ๆครั้ง แต่เรามักมองที่  กระดาษ การเขียนรายงาน 

3. สุขภาพพอเพียง

ก่อนที่ตาเหงี่ยม จะได้พบกับเรา สับสน ท้อแท้ ตกเป็นเหยื่อ ของคนรอบข้าง  ต้วยความต้องการอย่างเดียว ที่จะไม่ต้องโดนตัดเท้า  แม้แต่ต้องเอาเท้าจุ่มน้ำร้อน ๆ ก็ยังยอม  เสียเงินหลายหมื่น เกือบแสน จนเกือบเสียชีวิตด้วยซ้ำ  เป็นทั้งครอบครัว  ลูกสาวเกือบต้องตกงาน เพราะต้องดูแลพ่อ  Hopeless !

 พูดถึงสุขภาพพอเพียง เรามักมองเพียง เรื่องการใช้เงินที่น้อย ในการรักษา  ซึ่งในรายนี้ก็เป็นเช่นนั้น ตาเหงี่ยมแทบไม่เสียเงินอีกเลย เมื่อได้รับการดูแลต่อเนื่องที่เหมาะสม เพราะเรามีระบบประกันสุขภาพ ( ชักเริ่มเห็นประโยชน์ของการประกันสุขภาพแล้วละซี )   แต่ที่เราพบมีมากกว่านั้น

สุขภาพพอเพียง  :  มีเหตุมีผล    พอประมาณ    และมีภูมิคุ้มกันต่อความเปลี่ยนแปลงทั้งภายในและภายนอก

วันนี้ เราพบว่า ตาเหงี่ยมได้รับการดูแลที่มีเหตุผล ตัวแกเองก็มีเหตุมีผล เข้าใจ ตรงกัน คาดหวังตรงกัน คิดตรงกัน ระหว่าง ผู้ให้บริการ และผู้ป่วย รวมทั้งญาติ   การใช้เงินน้อยมาก น้อยมากจริง ๆ จนคนข้างบ้านเห็นผม ไปเยี่ยมแกทุกอาทิตย์ ถามแกว่า หมอเขาคิดเงินเท่าไหร่  แกบอกว่าไม่ได้เสียเงินเลย ทั้งๆ ที่ก่อนหน้านี้ เสียมาเกือบแสน  จนเมื่อวันก่อน ลูกสาวแกเอาเงินใส่ซอง มาให้ผม  แกะซองแล้ว มีเงินอยู่10,000 บาท ผมปรึกษากับ พี่แจ๊ค เจ้าหน้าที่ pcu แล้วว่า จะเอาไว้เป็นกองทุน ทำประโยชน์ให้คนพิการ ในหนองกินเพล ตำบลที่แกอยู่ ซึ่งไปบอกแกกับป้าติ๊ม เมียแกแล้ว ว่าจะเอาไปทำบุญ   ทุกวันนี้ก็ยังมีคนมาหาแกอีกหลายราย  เสนอที่จะรักษาแก บอกว่า เบาหวานก็หายขาด ผมถามแกว่าแล้วแกทำ แกคิดยังไง แกบอกว่า แกไม่หลงเชื่อใครอีกเลย บุหรี่ก็ไม่สูบอีกเลย จริง ๆ  

เริ่มรู้แล้วว่า " ภูมิคุ้มกันต่อความเปลี่ยนแปลงทั้งภายในและภายนอก ."

เป็นสิ่งที่สำคัญต่อความยั่งยืนจริง ๆ  เพราะ เราคงไม่สามารถดูแลแกไปตลอด  คงไม่สามารถคอยถาม เรื่องสูบบุหรี่ ได้ ตลอด  ตัวของแกเองนั่นแหละ ที่ต้องมีภูมิคุ้มกัน ต่อการเปลี่ยนแปลงในวันข้างหน้า ด้วยตัวแกเอง 

" People helping people help themselve."

การฝึกที่จะดูแลด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์  ทำให้เรา เข้าใจอะไรมากขึ้น   ที่สำคัญ มันเป็นเรื่องที่เรียบง่าย  ( so simple )  อยู่ในชีวิตประจำวัน

ผมไม่ได้ทำงานหนักขึ้น  มีเวลาตีกอล์ฟ มีเวลาทำธุรกิจส่วนตัว มีเวลา เขียนโปรแกรม  มีเวลาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ใน gotoknow  มีเวลา สำหรับสมดุลชีวิตของผมเอง ( เราอยากให้คนอื่นมีชีวิตที่ดี แต่ชีวิตเรากลับไม่ได้มีวิถีชีวิตที่ดี คงเป็นเรื่องน่าเศร้าอย่างมาก  )  ขณะที่   เมื่อก่อน เวลาถูกประเมินอะไรสักอย่าง เราต้องทำงานหามรุ่งหามค่ำ ประชุมทุกวัน วันละหลายประชุม   กินข้าวในห้องประชุม  งานเอกสารมากมาย แต่ ไม่เคยถึงตัว ไม่เคยถึงใจคนไข้เลย  เราหาตัวเลขบางอย่าง เพื่อมาแสดงว่าเราดีขึ้น  แต่เราไม่ค่อยได้มีรูปภาพ  รอยยิ้มของคนไข้ และญาติ มาแสดงเลย

 

หมายเลขบันทึก: 81925เขียนเมื่อ 4 มีนาคม 2007 23:10 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:51 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ชอบมากค่ะ

ตรงที่

มีเวลา สำหรับสมดุลชีวิตของผมเอง ( เราอยากให้คนอื่นมีชีวิตที่ดี แต่ชีวิตเรากลับไม่ได้มีวิถีชีวิตที่ดี คงเป็นเรื่องน่าเศร้าอย่างมาก  )

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท