รู้จักกับห้องสมุดประธานาธิบดี:ห้องสมุดอีกประเภทหนึ่งที่ไม่มีในเมืองไทย


ห้องสมุดประธานาธิบดีในสหรัฐอเมริกา U.S. Presidental Libraries
  • คุณ Cocharne วิทยากรที่มาบรรยายในการสัม,นาที่สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น เมื่อวันที่ 20-21 ก.พ ในด้าน trends in...digital library. ได้ให้ความรู้เกี่ยวกับห้องสมุดประธานาธิบดีในสหรัฐ ซึ่งเธอมีประสบการณ์จากการทำ PhD เรื่อง The Presidential library System : a Quiescent Policy Subsystem

เธอเล่าว่า ตอนนี้ในสหรัฐอเมริกามีห้องสมุดประธานาธิบดี  12 แห่ง ซึ่งมักตั้งอยู่ในรัฐที่เป็นภูมิลำเนาของประธานาธิบดีแต่ละคน และเมื่อแต่ละท่านสิ้นสุดวาระหลังจากดำรงตำแหน่งคราวละ 4 ปี ก็จะมอบเอกสารต่างๆที่เกิดจากการดำเนินงานระหว่างที่ท่านปฏิบัติงานอยู่ให้กับห้องสมุดที่ก่อตั้งขึ้น  งบประมาณที่สนับสนุนอาจจะได้จากการบริจาคส่วนหนึ่งจากประธานาธิบดี แต่ทุนหมนุนเวียได้จากการสนับสนุนของมหาวิทยาลัยเอกชน มหาวิทยาลัยในท้องถิ่น องค์กรและสถาบันต่างๆ ที่อยากจะมีส่วนรวมในชุมชน ซึ่งค่าใช้จ่ายส่วนนี้สามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้ด้วย แถมยังเป็นการประชาสัมพันธ์องค์กรของตนเองอีก ดังนั้นแหล่งที่มาของงบประมาณจึงไม่เป็นปัญหา

สำหรับห้องสมุดประธานาธิบดี 12 แห่งนั้น ได้แก่

1.Herbert Hoover library ตั้งอยู่ที่ West Brach รัฐไอโอว่า

2.Franklin d. Roosevelt library ตั้งอยู่ที่ Hyde park รัฐนิวยอร์ค

3.็Harry s. truman library ตั้งอยู่ที่ Independence รัฐมิสซูรี

4.Dwight D. Eisenhower library ตั้งอยู่ที่ Abilene รัฐเคนซัส

5.๋John F. Kenendy Library ตั้งอยู่ที่เมืองบอสตัน  รัฐแมสซาซูเซส

6.Lyndon B. Johnson Libraryตั้งอยู่ที่เมืองออสติน รัฐเท็กซัส

7.Richard M. Nixon Library ตั้งอยู่ที่ํ Yoyba Linda รัฐแคลิฟอร์เนีย

8.Gerald R. Ford Library&Museum แยกเป็น Librray-Ann Arbor และ Museum Grand Rapids ตั้งอยู่ที่รัฐมิชิแกน

9.Jimmy Carter Library ตั้งอยู่ที่เมืองแอทแลนต้า รัฐจอร์เจีย

10. Ronald W. Reagan Library ตั้งอยู่ที่ Simi Valley รัฐแคลิฟอร์เนีย

11.George H.W. Bush Library ตั้งอยู่ที่ College Station รัฐเท็กซัส

12.William Jefferson Clinton Library ตั้งอยู่ที่ Little Rock รัฐ Arkansas

 

  •  สงวนลิขสิทธิ์โดยสิริพร ทิวะสิงห์ ยินดีให้นำไปเผยแพร่โดยอ้างอิงที่มาได้. ห้ามนำไปใช้เพื่อการค้า > 10 สิงหาคม 2552
หมายเลขบันทึก: 81647เขียนเมื่อ 2 มีนาคม 2007 17:58 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 17:37 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

อยากให้เมืองไทยมีบ้าง

อดีตนายกไทยคนไหนจะเริ่มบริจาคก่อน

อาจจะเริ่มจที่นักการเมืองท้องถิ่นก็ดีนะคะ

ขออนุญาตเพิ่มเติมอีกหน่อยค่ะ  Presidential Libraries นั้นเป็นลักษณะพิเศษสำหรับสังคมสหรัฐอเมริกา และจัดเป็นห้องสมุดเฉพาะประเภทหนึ่งนะคะ  โดยมี NARA เป็นหน่วยงานของรัฐบาลกลางที่รับผิดชอบทั้งในด้านงบประมาณและการดูแลโดยตรงค่ะ 

 เพราะฉะนั้นที่บอกว่าแหล่งเงินงบประมาณไม่มีปัญหานั้น ก็ไม่แน่เสมอไป อย่างกรณี Ford กว่าจะสร้างได้ ค่อนข้างวุ่นวายค่ะ เพราะ Ford นั้นเป็นประธานาธิบดีเพียงรายเดียว (มังคะ) ที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง  การที่เขามีห้องสมุด 2 แห่งนั้น กว่าจะสร้างได้ เกือบแย่เหมือนกันค่ะ  ที่ UM- Ann Arbor นั้นได้รับบริจาคเอกสารส่วนบุคคลของ Ford นะคะ ก็เลยถือว่ามีความพร้อมด้านทรัพยากรสารสนเทศค่ะ

ส่วนปัญหาด้านเอกสารนั้น ก็มีมากค่ะ โดยเฉพาะ Nixon ซึ่งไม่ยอม declassify และ release เอกสารส่วนตัวจำนวนมากที่เกี่ยวกับคดี Watergate  เพราะฉะนั้นในระยะแรก Nixon Presidential Library ก็เป็นที่ถูกนินทากันมากค่ะ

เกร็ดอีกเล็กน้อย คือ อดีตประธานาธิบดีที่ยังมีชีวิตอยู่ จะได้รับการรักษาความปลอดภัยเป็นกรณีพิเศษค่ะ โดยมี secret service ดูแลนะคะ  อันนี้เขาทำเป็นระบบตามกฎหมายค่ะ  ไม่ต้องจ้างส่วนตัวค่ะ ฮ่า 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท