Best Practice จาก มจธ.


ทางมหาวิทยาลัยเทคโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี เป็นมหาวิทยาลัยแห่งแรกของโลกที่นำ Six Sigma มาใช้กับสถาบันการศึกษา

   ผมได้ไปเข้าร่วมสัมมนา เรื่อง วิจัยสถาบันเครื่องมือใหม่สำหรับการพัฒนาใหม่และการประยุกต์สู่การศึกษาในวันที่ 24-26 พฤศจิกายน 48 ที่ สถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ มีวิทยากร 2 ท่านที่เป็นผู้บรรยาย คือ ศ.ดร.วิจิตร ศรีสอ้าน และรศ.กิติศักดิ์ พลอยพานิชเจริญ ประเด็นที่น่าสนใจ คือ ทางมหาวิทยาลัยเทคโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี เป็นมหาวิทยาลัยแห่งแรกของโลกที่นำ Six Sigma มาใช้กับสถาบันการศึกษา โดยส่วนตัวผมไม่มีความรู้เรื่อง Six Sigma แต่วิทยากรผู้บรรยาย รศ.กิติศักด์ ได้บรรยายโดยมีมุขสลับตลอด ทำให้ดึงความสนใจของผู้เข้าร่วมฟังได้เป็นอย่างดี สำหรับ Six Sigma อาจารย์อธิบายว่า วิชา Six Sigma เป็นวิชายุทธศาสตร์ที่มองปัญหาในภาพรวมขององค์กร และวันนี้ทางมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ได้นำ Six  Sigma มาใช้กับการวิจัยมหาวิทยาลัย (University Research) หรือวิจัยสถาบัน  โดยได้ดึงบุคลากรสายสนับสนุนมาทำงานวิจัยของมหาวิทยาลัย มีการจัดทำโครงการวิจัยมหาวิทยาลัย และปรับโครงการสร้างการบริหารวิจัยของมหาวิทยาลัยตามแนวทาง Six Sigma ดังนี้ครับ

  • อธิการบดี (Executive Champion)          ผู้นำสู่การเปลี่ยนแปลง (Part time)
  • รองอธิการบดีอาวุโสฝ่ายบริหาร (Development Champion) เจ้าของโครงการ (Part time)
  • รองอธิการบดีฝ่าย UR (Master Blackbelt)  Facilitator (Full time)
  • ผู้บริหาร (ผู้อำนวยการกอง/เลขานุการคณะ) (Blackbelt) (Full time)
  • สมาชิก (ผู้ปฏิบัติงานที่มีความเชี่ยวชาญในเรื่องที่ทำวิจัย) (Greenbelt) (Part time)

     ตามโครงสร้างดังกล่าวจะเห็นว่าผู้บริหาร (ผู้อำนวยการกอง/เลขานุการคณะ) จะต้องทำหน้าที่เป็นนักวิจัยเต็มเวลา  โดยต้องเข้ารับอบรมเกี่ยวกับ Six Sigma เพื่อนำความรู้มาให้ประยุกต์ในการแก้ปัญหาของมหาวิทยาลัย เป็นเวลาไม่น้อยกว่า 2 ปีตามหลักสูตร (อาจปรับระยะเวลาได้) โจทย์วิจัยนั้นผู้บริหารของมหาวิทยาลัยเป็นผู้กำหนด และนักวิจัย (ผู้อำนวยการกอง/เลขานุการคณะ) เป็นผู้ดำเนินการเพื่อให้ได้มาถึงสาเหตุของปัญหาดังกล่าว และนำเสนอผู้บริหาร เพื่อการตัดสินใจ วันนี้ทราบว่าโครงการวิจัยของมจธ.ดังกล่าว มีนักวิจัยแล้ว 2 รุ่น รุ่นที่ 2 เห็นทางวิทยากรแจ้งว่ามีอาจารย์จากม.นเรศวรร่วมเป็นสมาชิกด้วย เพราะสมาชิกไม่จำเป็นต้องเป็นคนในมหาวิทยาลัย เป็นบุคลากรจากภายนอกก็ได้ที่มีความเชี่ยวชาญในเรื่องดังกล่าว ในการสัมมนาวันสุดท้ายได้มีการนำเสนอโครงการวิจัยมหาวิทยาลัย 2 โครงการ คือ

  • โครงการวิจัยมหาวิทยาลัย เรื่อง การวิเคราะห์วิธีการคิดต้นทุนงานบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี นำเสนอโดย นายสมพร น้อยยาโน ผู้อำนวยการกองบริการการศึกษา
  • โครงการวิจัยมหาวิทยาลัย เรื่อง การวิเคราะห์สัดส่วนภาระงานของบุคลากรกลุ่มวิชาการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี นำเสนอโดย นางสาวฉันทนา ภู่ธราภรณ์ หัวหน้างานวิเคราะห์นโยบายและแผน

      ผู้รับผิดชอบโครงการดังกล่าวประกอบด้วย

  • อธิการบดี
  • รองอธิการบดี
  • ผู้ช่วยรองอธิการบดี
  • ที่ปรึกษา
  • นักวิจัย คือบุคลากรสายสนับสนุนที่เป็นผู้บริหารระดับกลาง (ผู้อำนวยการกอง/เลขานุการคณะ)

     โครงการวิจัยมหาวิทยาลัย เป็นการวิเคราะห์หาสาเหตุรากเหง้าของปัญหา บางโครงการทำเสร็จในรุ่นแรก บางโครงการต้องทำต่อในรุ่นต่อไป เป็นการฝึกพัฒนาคนโดยเฉพาะบุคลากรสายสนับสนุน (อาจารย์ใช้คำว่า ตาเห็นผล สมองเห็นเหตุ สำหรับงานวิจัยที่นำ Six Sigma มาประยุกต์ใช้ในสถาบันการศึกษา) งานวิจัยสถาบันที่มจธ. ทำอยู่ในตอนนี้ส่วนใหญ่เป็นงานวิจัยเชิงนโยบาย ผมเห็นวิทยากรจากมจธ.ที่เป็นสายสนับสนุนส่วนใหญ่มีความภาคภูมิใจในการทำวิจัยมหาวิทยาลัย โดยมีการตั้งเป้าหมายว่าจะมีผลงานไปนำเสนอในที่ประชุมวิชาการ ปีละไม่น้อยกว่า 10 เรื่อง ซึ่งก็ทำได้เกินเป้าหมาย (น่าภาคภูมิใจด้วยจริง ๆ ) เวทีที่นำไปเสนอคือที่ประชุมวิชาการของสมาคมวิจัยสถาบันและพัฒนาอุดมศึกษา มีผู้อำนวยการกองแผนของมจธ. พูดติตตลกว่า เส้นลำบากขึ้นตอนแก่ แต่โดยรวมแล้วนักวิจัยที่เป็นบุคลากรสายสนับสนุนมีความภาคภูมิใจที่มหาวิทยาลัยให้โอกาสในการพัฒนาสำหรับนักวิจัยมือใหม่ สำหรับตัวผมเองวันนี้คงต้องไปรีบทำการบ้านงานวิจัยส่งท่านคณบดีต่อไป

บอย

ชุมชนสำนักงานเลขานุการ

คำสำคัญ (Tags): #วิจัยสถาบัน
หมายเลขบันทึก: 8161เขียนเมื่อ 27 พฤศจิกายน 2005 13:56 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 มิถุนายน 2012 23:18 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)
คุณบอยช่วยเก็บเอกสารและแนวความคิดดี ๆ ไว้สำหรับ ลปรร. กันภายใน มน. เร็ว ๆ นี้ด้วยครับ

ขอขอบคุณที่ช่วยแนะนำโครงการให้ มจธ. และหากสายสนับสนุนทุกมหาวิทยาลัยได้รับการพัฒนาเช่นเดียวกันจะเป็นเรื่องที่ดีสำหรับวงการอุดมศึกษาไทยต่อไป

 

สุนิตย์ เทพไพฑูรย์

ความคิดเห็นส่วนตัวคิดว่าโครงการที่ มจธ. กำลังทำอยู่เกิดประโยชน์กับพวกเราสายสนับสนุนเป็นอย่างมาก หากใครสนใจถ้ามีโอกาศอยากให้มาเรียนร่วมกับบุคคลากรของมจธ. เดือนมกราคม 49. จะเปิดรุ่นที่ 3 แล้วจ้า

                                จาก สุนิตย์ เทพไพฑูรย์

           รักษาการผู้อำนวยการโครงการ UR / ผอ.กองแผนงาน

                        

น่าสนใจ มีรายละเอียดไหมครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท