การพัฒนาองค์กรการเงินและสวัสดิการชุมชน ตอนที่ 2


องค์กรการเงินชุมชนสามารถเชื่อมโยงกับงานพัฒนาอื่น ๆได้เป็นอย่างดี
        เมื่อเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา พอชได้มีการจัดสัมมนาแนวทางการสร้างความเข้มแข้งของระบบการเงินชุมชนฐานรากขึ้น เพื่อประมวลสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงของระบบการเงินฐานรากและกรอบการพัฒนาของชุมชนซึ่งอยู่ในท่ามกลางนโยบายของรัฐบาลและการหนุนเสริมจากหน่วยงานและภาคีการพัฒนาต่าง ๆ รวมถึงกำหนดบทบาทของพอช ในการเสริมสร้างความเข้มแข็งของกองทุนชุมชน   โดยการระดมความเห็นจากผู้แทนองค์กรชุมชนทั่วประเทศ    โดยมีการตั้งคำถามเพื่อการแลกเปลี่ยนในหลายประเด็นคือ  . จะสร้างชุมชนฐานรากให้เข้มแข็งได้อย่างไร   ซึ่งมีการแลกเปลี่ยนเรื่องนี้กันอย่างกว้างขวาง  รวมถึงการเชื่อมโยงองค์กรการเงินกับงานพัฒนาในประเด็นอื่น ๆ ซึ่งสามารถดำเนินการได้เลยและในหลายพื้นที่องค์กรการเงินก็ทำหน้าที่เป็นแกนหลักในการพัฒนาชุมชนอยู่แล้วซึ่งมีรายละเอียดในแง่การเชี่อมโยงกับงานพัฒนาอื่น ๆจะมีในบันทึกตอนต่อไป
หมายเลขบันทึก: 81461เขียนเมื่อ 1 มีนาคม 2007 22:53 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 17:36 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
รัฐกับชาวบ้าน ความคิดเดิมคือ รัฐเป็นผู้อยู่เหนือชาวบ้าน แต่เขาหารู้ไม่ รัฐคือชาวบ้าน ชาวบ้านก็คือรัฐ ตย. ผู้ว่าเกษียณแล้วเป็นอะไร  อธิบดีเกษียณแล้วเป็นอะไร จะเพียงแค่ฝากชื่อไว้กับตำแหน่งที่อุปโหลกกันขึ้นเท่านั้นรือ หรืออยู่อย่างมีศักดิ์ศรี มีคนศรัทธา สรรค์สร้างความสุขที่แท้จริงให้สังคม พอช. ธกส. พมจ. เดินทางมาถูกแล้วครับเรื่องสวัสดิการชาวบ้าน รักและเป็นกำลังใจให้เจ้าหน้าที่ทุกคนครับเสมอครับ
        ต้องขอบคุณ คุณดินแดงมากนะคะที่ให้กำลังใจความจริงเรื่องสวัสดิการชาวบ้านมีเรื่องเล่าเยอะเลยจะทยอยเรียบเรียงในบันทึกต่อๆ ไปค่ะ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท