พิพิธภัณฑ์บ้านแพรก


แหล่งเรียนรู้รากเหง้าชุมชน"บ้านแพรก"
บ้านแพรก เป็นตำบลหนึ่งที่แยกออกมาจากอำเภอมหาราช  คำว่า "แพรก" หมายถึงหญ้าชนิดหนึ่ง ต้นเป็น ฝอย  
  ใช้เป็นเครื่องสักการะห้า หรืออีกความหมายหนึ่ง หมายถึงทางแยกของสายน้ำ คือแม่น้ำลพบุรีสายเก่ากับคลองตาเมฆ  
  ปัจจุบัน    อำเภอบ้านแพรกเป็นอำเภอที่เล็กที่สุดของจังหวัดพระนครศรีอยุธยา  
  v สภาพทั่วไป       
  iภูมิประเทศ  
  มีพื้นที่  44.43  ตร.กม. หรือประมาณ  27,768.75  ไร่  อำเภอบ้านแพรก  ตั้งอยู่ทางทิศเหนือของจังหวัดพระนครศรีอยุธยา  
  ห่างจากห่างจากจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ประมาณ  52  กิโลเมตร และห่างจากรุงเทพมหานคร ประมาณ 118  กิโลเมตร  
  iอาณาเขต  
   ทิศเหนือ         จดเขต ต.โก่งธนู อ.เมือง จ.ลพบุรี  
  ทิศใต้             จดเขต ต.พิตเพียน อ.มหาราช จ.พระนครศรีอยุธยา  
  ทิศตะวันออก   จดเขต ต.ดงตะงาว อ.ดอนพุด จ.สระบุรี  
  ทิศตะวันตก    จดเขต ต.ตรีณรงค์  อ.ไชโย จ.อ่างทอง  
  iการปกครอง  
  แบ่งออกเป็น 5 ตำบล 27 หมู่บ้าน 1 เทศบาล, 2 อบต. และ 3 สภาตำบล  
   v ประชากร  
   อาจารย์ประสาน  เสถียรพันธุ์ มีประชากร  จำนวน  9,133   คน     ชาย  4,308   คน    หญิง   4,825   คน  
  iกลุ่มชาติพันธ์-ภาษาพูด-ภาษาเขียน      
 
 อดีต   เป็นคนเชื้อสายลาว พูดภาษาไทย ภาคกลาง เขียนภาษาไทย     
 
  ปัจจุบัน  เป็นคนเชื้อสายไทย พูดภาษาไทย ภาคกลาง เขียนภาษไทย ประชาชนส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ      
  v วิถีชีวิตและวัฒนธรรม-ประเพณีพื้นบ้าน   
  ประ เพณีที่สำคัญคือไหว้วัดหรือไหว้พระปิดทอง  เป็นงานประจำปี  งานตรุษสงกรานต์  ประเพณีวันสงกรานต์ การแห่เทียน  
  พรรษา ประเพณีลอยกระทง  ทอดกฐินผ้าป่า  ทำบุญขึ้นปีใหม่  การแข่งเรือ ยาว  ประเพณีทำบุญกลางบ้าน ประเพณีแห่  
  นางแมวขอฝน  
  v โบราณสถาน-โบราณวัตถุ-แหล่งท่องเที่ยวในอำเภอ  
  iโบราณสถาน    
  - วัดมีพระสงฆ์  8 วัด   
  - วัดร้าง  9  วัด  
  - ฐานโบสถ์  ที่วัดกระเรียน (ร้าง) ต.บ้านใหม่  
  iโบราณวัตถุ  
  - พระพุทธรูปหินทรายสีเขียว (หลวงพ่อเขียว)  ที่วัดหลวงพ่อเขียว ต.สำพะเนียง  
     
เครื่องปั้นดินเผา iแหล่งท่องเที่ยวในอำเภอ                    การสานพัด
พิพิธภัณฑ์บ้านแพรก - พิพิธภัณฑ์พื้นบ้าน "ศูนย์ศึกษาประวัติศาสตร์ และวัฒนธรรม ลุ่มแม่น้ำลพบุรี" อำเภอบ้านแพรก  
  v อาชีพ   
   iอาชีพหลัก : ทำนา ทำสวน ค้าขาย จักสาน  
  iอาชีพรอง/อาชีพกลุ่มย่อย : รับจ้าง  
  v ผลิตภัณฑ์ของอำเภอ    
  - พัดสานบ้านแพรก ต.บ้านใหม่ ต.บ้านแพรก  
  - ดอกไม้จันทน์ ต.คลองน้อย  
  - เครื่องเงิน ต.สำพะเนียง  
  - พลอย ต.สำพะเนียง  
  - ปลาย่าง ต.สำพะเนียง  
  v บุคคลสำคัญ-ผู้มีผลงานดีเด่นด้านวัฒนธรรม  
  iบุคคลสำคัญ  
  iหลวงพ่อใช้  ธรรมโชติ  พระนักเทศน์ อดีตเจ้าอาวาสวัดโบสถ์บ้านแพรก ต.บ้านแพรก  

ผลิตภัณฑ์พลอย

iกำนันสุวรรณ  ทองแผ่  กำนันแหนบทองคำคนแรกของอำเภอบ้านแพรก ต.คลองน้อย  และยังเป็น "คนดีศรีบ้านแพรก"                พัดสานบ้านแพรก
  iนางสมพร  ทรัพย์รอด  ประธานสภาวัฒนธรรมอำเภอบ้านแพรก  
  
iผู้มีผลงานดีเด่นด้านวัฒนธรรม            
  iนายประสาน  เสถียรพันธุ์  บ้านเลขที่ 40 ม.1 ต.สำพะเนียง อ.บ้านแพรก จ.พระนครศรีอยุธยา  เป็นผู้มีผลงานดี เด่นทางด้านวัฒนธรรม สาขาภูมิปัญญาชาวบ้าน และสาขาผู้ทำประโยชน์ทางด้านวัฒนธรรม โทร.0-3538-6051  
iนางระยอง  แก้วสิทธิ์  บ้านเลขที่ 9 ม.4 ต.บ้านใหม่ อ.บ้านแพรก จ.พระนครศรีอยุธยา  เป็นผู้มีผลงานดีเด่นทางด้านวัฒนธรรม สาขาหัตถกรรมพื้นบ้านพัดสานบ้านแพรก โทร.0-3538-6771  
iนายบุญเลิศ  พุ่มพวง  บ้านเลขที่ 2 ม.4 ต.บ้านแพรก  อ.บ้านแพรก จ.พระนครศรีอยุธยา  เป็นผู้มีผลงานดีเด่นทางด้านวัฒนธรรม สาขาส่งเสริมและอนุรักษ์วัฒนธรรมมรดกไทยทางพระพุทธศาสนา  โทร.0-3538-6028

  v ดนตรี-การแสดง-การละเล่นพื้นบ้าน  
   - ลิเกคณะประยูร  ค้ำชู  ต.สำพะเนียง        
  v ภูมิปัญญาท้องถิ่น    
  iคุณระยอง  แก้วสิทธิ์    การสานพัด    9 ม.4 ต.บ้านใหม่ โทร.0-3538-6771  
  iคุณเกษม  ห้องจำปา   การเจียระไนพลอย    147 ม.1 ต.สำพะเนียง โทร. 0-3538-6727               

การทำเครื่องเงิน

iคุณพเยาว์  ตันบุญยืน   การทำดอกไม้จันทน์ 16 ม.2 ต.คลองน้อย โทร. 0-3538-6440           ผลิตภัณฑ์ดอกไม้จันทน์
 

iคุณบุญเลิศ  พุ่มพวง   การทำสถาปัตยกรรมไทย  2 ม.4 ต.บ้านแพรก โทร.0-3538-6028

ความเป็นมาของพิพิธภัณฑ์บ้านแพรก  จากคำบอกเล่าของอาจารย์ประสาน  เสถียรพันธุ์  อำจารย์โรงเรียนบ้านแพรกประชาสรรค์  ผู้ก่อตั้ง "พิพิธภัณฑ์บ้านแพรก" กล่าวว่า...บริเวณโรงเรียนบ้านแพรกประชาสรรค์  มีการขุดพบวัตถุโบรษรสมัยสุโขทัยและสมัยอยุธยาจำนวนมากตามแนวแม่น้ำลพบุรีสายเก่า เช่น เครื่องบั้นดินเผาจากแหล่งเตาเผาบ้านบางปูน ตำบลพิหารแดง อำเภอเมืองสุพรรณบุรี  จากแหล่งเตาเผาศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย และจากแหล่งเตาเผาแม่น้ำน้อย  ตำบลเชิงกลัด  อำเภอบางระจัน  จังหวัดสิงห์บุรี  โดยเฉพาะอย่างยิ่งในบริเวณโรงเรียนบ้านแพรกประชาสรรค์ เป็นที่ตั้งของวัดหลายวัด  วัดที่สำคัญคือ "วัดสังคโลก" ซึ่งเป็นสถานที่ขุดพบเครื่องสังคโลกสมัยสุโขทัยเป็นจำนวนมาก

อาจารย์ประสาน  เสถียรพันธุ์  ได้เล็งเห็นความสำคัญของโบราณวัตถุต่างๆเหล่านี้ จึงได้ชักชวนบุคคลสำคัญของชุมชนและกรรมการหมู่บ้านร่วมกันอนุรักษ์วัตถุโบราณเหล่านี้ไว้ให้เป็นมรดกและแหล่งเรียนรู้ของชุมชน  จนกระทั่งมีวัตถุโบราณจำนวนมากมาย จึงได้จัดตั้งเป็น "พิพิธภัณฑ์บ้านแพรก" ขึ้น  โดยมีวัตถุประสงค์ที่จะให้เป็นแหล่งรวบรวมและศึกษาค้นคว้าข้อมูลทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมของชุมชนลุ่มแม่น้ำลพบุรี  อันเป็นมรดกตกทอดมาจากบรรพบุรุษของชาวบ้านแพรกสู่ลูกหลานไทยในสมัยปัจจุบัน  นับว่าเป็นสิ่งที่น่าภาคภูมิใจและหวงแหนเป็นอย่างยิ่ง  สมควรที่ชาวบ้านแพรกและชาวไทยทุกคนจะได้ช่วยกันอนุรักษ์ไว้สืบไป

ศิลปะท้องถิ่นในพิพิธภัณฑ์บ้านแพรก  ประกอบด้วย
* พัดสานบ้านแพรก
* ประติมากรรมท้องถิ่น
* ตุ๊กตาเสียกบาล
* เพลงพื้นบ้าน
* ลิเกหอมหวล
* สมุดข่อยโบราณ
* เครื่องปั้นดินเผา
* เรือพื้นบ้าน ฯลฯ
ท่านที่สนใจ สามารถติดต่อขอเข้าชมชมได้ที่

โรงเรียนบ้านแพรกประชาสรรค์  เลขที่ 49 หมู่ 4 ตำบลสำพะเนียง  อำเภอบ้านแพรก  จังหวัดพระนครศรีอยุธยา โทร 0353-86120

 
                                                                                                                                                                                                 
คำสำคัญ (Tags): #หอจดหมายเหตุ
หมายเลขบันทึก: 8070เขียนเมื่อ 26 พฤศจิกายน 2005 10:05 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 มิถุนายน 2012 18:17 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

หวัดดีจ้าดิฉันเป็นอีกคนที่เคยไปพิพิธภัณฑ์บ้านแพรกรู้สึกดีคะเด็กที่ร.ร.ก็ดีนะอยากให้ 
พิพิธภัณฑ์บ้านแพรกพัฒนาไปเรื่อยๆและขอให้ร.ร.จัดงานดีๆๆตลอดไปจ้า 

ฉานคือ...อาราเล่...โอโหย๋โหย๋....

บ้านแพรกจงเจริญ

มีเด็กร.รบ้านแพรก(ผู้ชาย)ม.3ขึ้น4ขึ้นด้วยนอหนูความหมายคำคือ  อะไรที่อยู่ในคลองของเหลวคนเนี้ยไม่น่าคบคะหวังดีนะถ้าเขาได้อ่านก็ขอให้ปลับตัวด้วยนะ

ยากหัยมาเที่ยวกันเยอะๆๆนะค่ะ จะได้รู้อารายหลายอย่างเลยนะค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท