ประเทศไทยยังขาดอะไรอีกบ้าง


คนไทยปัจจุบันใช้ความรู้จากต่างชาติมากเกินไป จนลืมความสำคัญของความรู้ที่มีอยู่ในตัวเอง ในธรรมชาติ ในท้องถิ่น ในชุมชน ในสังคม และในบริบทของการทำงานของคนไทย
 

วันนี้ (๒๔ กพ ๕๐) ผมวางแผนที่จะเดินทางไปจับเข่าคุยกับนักศึกษาของมหาชีวาลัย ในฐานะอาจารย์ที่ปรึกษา KM research ว่า ท่านยังมีความเดือดเนื้อร้อนใจอะไร ที่ยังเป็นข้อจำกัดในการทำงานของท่าน

  

ในขณะเดียวกันท่านครูบาสุทธินันท์ ก็ได้ขอให้ผมเตรียมประเด็นไปคุยกับนักศึกษา วปอ. ที่นั่งเครื่อง C130 มาเยี่ยมท่านถึงอาศรมในตอนบ่าย ที่สวนป่าสตึก แบบมีโจทย์สั้นๆแค่นี้แหละครับ ตามสไตล์ของท่านครูบาที่ชอบเล่นกลอนสด ไม่ต้องเตรียมตัวล่วงหน้า

ผมก็เลยมามาลองคิดฝันดูว่าครูบาจะโยนคำถามมาให้ผมว่าอะไร แบบเดาใจ ๑๐๐% เลยครับ แต่ไม่ทราบจะถูกกี่ % นะครับ 

คำถามที่ผมเดาและคาดไม่น่าจะห่างจากความคิดของครูบา และเป้าประสงค์ของ วปอ. ก็น่าจะเป็น ประเทศไทยขาดอะไร ทำไมจึงยังพัฒนาได้ช้า และนักศึกษา วปอ. จะช่วยประเทศไทยได้อย่างไร (นี่ก็เดาข้อสอบของครูบาแบบสุดๆ ครับ) 

ถ้าโดนคำถามแบบนี้ ผมควรจะตอบว่าอย่างไรที่จะไม่ทำให้ผู้ถามผิดหวัง หรือผู้ฟังเสียเวลาเปล่า หรือประเทศไทยไม่ได้ประโยชน์อะไรจากการตอบของผม

  

ผมเลยคิดว่าน่าจะเริ่มจาก คนไทยปัจจุบันใช้ความรู้จากต่างชาติมากเกินไป จนลืมความสำคัญของความรู้ที่มีอยู่ในตัวเอง ในธรรมชาติ ในท้องถิ่น ในชุมชน ในสังคม และในบริบทของการทำงานของคนไทย ที่เรากำลังจะยกประเด็นการจัดการความรู้แบบ KMธรรมชาติ นั่นแหละครับ

  

และความรู้ที่ขาดก็ทำให้เกิดผลต่อเนื่องในประเด็นต่าง ที่ต้องแก้ไข ดังนี้

  

1.     การขาดความเชื่อมโยงระว่างความรู้ทางวิชาการที่รับมาจากต่างชาติกับภูมิปัญญาไทย

 

2.     การขาดการพัฒนาความรู้ของเราเอง ที่มีฐานวิถีชีวิตและความรู้ของคนไทยและสังคมไทย

 

3.     เกิดข้อผิดพลาดในการนำความรู้ทางวิชาการ และเทคโนโลยีที่ผลิตขึ้นมาใหม่ไปใช้ในการพัฒนาทรัพยากร สังคม และเศรษฐกิจ ซึ่งทำให้มีผลกระทบเสียหายตามมาอย่างมากมาย

 

4.     เกิดการพัฒนาแบบขาดความเชื่อมโยง ทำให้ระบบการพัฒนาการศึกษา และการถ่ายทอดความรู้ตีบตัน แปรเปลี่ยนจากการศึกษาเพื่อชีวิต มาเป็นการศึกษาเพื่อให้สอบผ่านเป็นหลัก ที่ทำให้เกิดความเสียหายต่อประเทศชาติอย่างรุนแรง ทั้งวันนี้และวันหน้า

 

5.     การวิจัย และพัฒนาทำแบบแยกส่วน ไม่เชื่อมโยงกัน ไม่ค่อยมีการตรวจสอบ ว่างานใดเป็นประโยชน์ ไม่เป็นประโยชน์ต่อสังคมที่แท้จริง  

 

6.     ระบบการตรวจสอบผลการทำงาน มักทำโดยบุคลากรในสายเดียวกัน (Peer review) เพราะส่วนใหญ่เรามีความรู้ที่ขาดตอนแยกส่วน จนหาคนมองข้ามรั้วทางวิชาการที่แบ่งเป็นส่วนๆ (compartments) ได้ยาก

 

7.     การประเมินผลงาน มักเน้นเชิงเอกสารมากกว่าผลงาที่เป็นจริง

 

8.     เชื่อว่าการตีพิมพ์ในวารสารทั้งต่างประเทศและในประเทศจะทำให้คนไทยได้รับความรู้มากขึ้น ทั้งๆที่คนไทยส่วนใหญ่ที่เป็นนักวิชาการและชาวบ้านทั่วไปไม่ค่อยชอบอ่านหนังสือ และการบังคับให้อ่านหนังสือก็จะพบกับอุปสรรคอีกมากมาย

 

9.     การสื่อสารเพื่อการพัฒนาจึงต้องตรงกับ จริต ของคนไทย ที่ต้องแทรกไปกับการเล่านิทาน และชอบดูการแข่งขัน ที่ปัจจุบันกลับกลายเป็น ภาพยนตร์น้ำเน่า และ เกมส์โชว์ สารพัดรูปแบบในโทรทัศน์ของไทย ที่มีผู้ชมสูงมาก หรือในรูปการตีพิมพ์บันเทิงแทรกความรู้ แบบเล่านิทาน ก็จะช่วยได้มาก

 10. ถ้าเราช่วยกันปรับระบบการสื่อสารให้ตรง จริต ของคนไทย ในรายการหรือระบบการสื่อสารปกติ แต่สอดแทรกความรู้บางอย่างเข้าไปอย่างกลมกลืน แบบ KMธรรมชาติ (จัดการความรู้เพื่อการพัฒนาชีวิตตนเอง) ก็จะเกิดผลการเปลี่ยนแปลงในทางความคิดที่ดีได้ 

ผมเชื่อว่าการจุดประกายการพัฒนาต้องมีที่เริ่มต้น

และท่านนักศึกษา วปอ. นี่แหละที่มีพลังในการทำงานต่อไปข้างหน้า ที่จะช่วยกันประคับประคองให้ประเทศไทยหันมาพัฒนาอย่างถูกทาง เกิดการพัฒนาที่พอเพียง ทั้งด้านปัจจัย ๔ ความรู้ ความสามารถ ที่จะสนองพระมหากรุณาธิคุณ ด้านปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงได้อย่างถูกต้องและครบถ้วน ใช้งานได้จริง เป็นประโยชน์กับทุกคน ที่จะทำให้สังคมไทยพัฒนาได้อย่างต่อเนื่อง ยั่งยืนต่อไป 

ครจะช่วยเติมเต็ม ให้อีกก็เชิญเลยครับ

ยังมีเวลาครับ แต่แม้จะเลยเวลาการประชุมก็น่าจะมีท่านนักศึกษา วปอ. บางท่านที่มีโอกาสมาย้อนอ่านอีกครับ 

ขอบคุณล่วงหน้าครับ

หมายเลขบันทึก: 80363เขียนเมื่อ 24 กุมภาพันธ์ 2007 09:28 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 พฤษภาคม 2012 00:49 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (10)

ผมเห็นด้วยว่า คนไทยก็คือคนไทยครับ การสื่อสารที่ส่งผ่านสื่อต่างๆควรที่จะเหมาะสม และถูก "จริต"

ช่วงนี้ผมเอง ให้คำปรึกษาแบบพี่ปรึกษาน้องๆ ของผมที่เป็น นศ.ปริญญาโท หลายๆคนด้วยกัน

น้องๆของผม ส่วนหนึ่งทำ Thesis ที่มีเนื้อหา KM ที่ชัดเจน หรือ แทรกสอดข้างในนั้น แต่ปรากฏว่าน้องเองก็ยังมึนเมากับศัพท์ กับการอธิบายของผม(หรือเปล่า)

แต่ผมก็พร่ำบอกให้เกิดความเข้าใจ ว่า กระบวนการในThesis เหล่านั้น นั่นหละคือ KM เป็น KM ในระดับท้องถิ่นที่เนื้อหางานพวกเขามุ่งลงชุมชน

KM ธรรมชาติที่เกิดขึ้นภายใต้บรรยากาศท้องถิ่นที่เราคุ้นเคย ไม่ใช่ KM ไอที หรือ ธุรกิจ ที่ผมคิดว่าผิดทิศผิดทาง ไม่เหมาะสมอย่างยิ่ง แก่การนำมาใช้แต่เพียงแนวทางเดียว

ผมเคยอยากเรียนต่อ ป.เอก ด้าน KM ในสถาบันที่เปิดสอนในขณะนี้ แต่พิจารณาดูแล้ว ค่อนข้างร่อแร่ในแนวคิดที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน ก็เลยถอยๆ ตอนนี้มีสาขาที่อยากเรียนในใจแล้วครับ..คงได้ปรึกษาท่านอาจารย์ ดร.แสวง ต่อเนื่องเรื่อง การเรียนของผม

ขอบคุณอาจารย์ครับ สำหรับบันทึกสะกิดใจจาก Km research ถึง การพัฒนาระดับประเทศ

ขอบคุณครับคุณจตุพร

ที่มาสนับสนุนประเด็นการสื่อสารตาม "จริต" ผมจะนำไปพูดเน้นเลยครับในวันนี้ตอนบ่าย

นี่คือพลังของ gotoknow ที่ชัดเจนครับ

สำหรับการเรียนนั้น ผมวาคุณจตุพรอยู่ในระดับที่สอนตัวเองได้เกือบ ๑๐๐% แต่เพียงให้เก็บและตามประเด็นเชิงเปรียบเทียบกับแนวทางของคนอื่นๆ โดยหลักการ triangulation แล้ว ผมเชื่อว่าไปได้สวยแน่นอน

ขอให้โชคดีครับ

เรียน ดร.แสวง ครับ 

    ประเทศไทยขาดอะไร ทำไมจึงยังพัฒนาได้ช้า และนักศึกษา วปอ. จะช่วยประเทศไทยได้อย่างไร ตามที่อาจารย์เก็งข้อสอบไว้ล่วงหน้านั่นนะครับ ผมขอฝากประเด็นย่อย อาจารย์ช่วยพิจารณาพูดให้ด้วยนะครับถ้าเห็นว่าพอจะเข้าเค้าบ้าง...ว่าในท่ามกลางที่เราจะมุ่งพัฒนาไปสู่สังคมอุดมปัญญา สังคมเรียนรู้นั้น แต่มีข้อเท็จจริงหรือปรากฏการณ์...

  • คนไทยอ่านหนังสือเฉลี่ยปีละ 8 บรรทัด
  • ระดับปีการศึกษาเฉลี่ยของคนไทยวัยแรงงานอายุระหว่าง 15-59 ปี อยู่ที่ 8 จุดกว่าๆ ประมาณ ม. 2 กว่านิดๆ
  • การศึกษาภาคประชาชน การศึกษานอกระบบโรงเรียนเพื่อคนส่วนใหญ่ 80-90% ของประชากรทั้งหมด อ่อนแอ ไม่ทราบปฏิรูปการศึกษากันอย่างไรทำให้การศึกษาภาคประชาชนอ่อนแอไปได้
  • ความรู้ในคนมีมากมาย ขาดการสกัด ตีความ ยกระดับคุณค่า ซึ่งเป็นความรู้สดๆ ความรู้หน้างาน รู้แล้วกินได้ รู้แล้วส่งลูกไปเรียนต่อได้ ทำทุนในการประกอบการทำมาหากินได้ เจ้าภาพในเรื่องนี้ไม่มี
  • ฯลฯ

      จะทำและหาทางออกให้กับประเทศนี้ได้อย่างไร

      ขอบพระคุณมากครับอาจารย์

เรียนอ. แสวง

     ขาดคนค่ะอาจารย์  ขาดคนที่มีใจรักและจิตสำนึกในการทำเพื่อบ้านเกิด  จริงๆ เรามีคนเก่งมากหลายคนนะค่ะ  แต่จะมีใครมาทำอย่างอาจารย์น้อยมากค่ะ

ขอบคุณครับครูนง

ผมลองแล้วครับ ไม่ทราบจะได้ผลหรือเปล่านะครับ

กรุณาติดตามตอนต่อไปนะครับ

  • โอ้...หนิงพลาดงานนี้ได้ไงเนี่ย... 
  • นี่แหละค่ะ  เพิ่งได้ชีวิตของตัวเองกลับมาค่ะ อาจารย์ ดร.แสวงค่ะ  ไข้หายดีแล้วและก็มีแรงเยอะแล้วค่ะ วันนี้พาคุณแม่ไปธุระที่ขอนแก่นเพิ่งกลับมาค่ะ

ประเทศไทยขาด

  • นักเรียน
  • ผู้เรียน
  • คนเรียน
  • คนเรียนจริงๆ ส่วนใหญ่ เรียนเล่นๆ
  • รู้เล่นๆ
  • ไม่เป็นหมากเป็นผล
  • มีความรู้ไปพอใช้ไม่พอพัฒนาประเทศ
  • ตกเป็นทาสความรู้คนอื่น
  • ต้องให้คนอื่นรับรองความรู้
  • สถาบันในประเทศไม่มีกึ๋นพอที่จะรับรองการพิมพ์วิทยานิพนธ์ของตนเอง
  • เรียนไม่จริง ทำให้ไม่เชื่อมั่นว่าตนเองจะรู้จริง
  • หลายส่วนยังเป็นลิงหลอกเจ้าจ้า!!

เรียนกันจนไม่รู้ว่าจะเอายังไงกับชีวิต

   เกิดมาแล้วไม่รู้ว่า

  • จะไปไหน
  • ควรทำอะไรบ้าง และ
  • จะไปได้อย่างไร

ขาดการพึ่งตนเอง ภูมิปัญญาไทย

ขาดความมั่นใจในและวัฒนธรรมตนเอง

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท