วรรคทองของ Kennedy คำพูดนี้ช่วยเตือนใจ


 

         " Ask not what your country can do for you,
but what you can do for your country."

         " จงอย่าถามว่าประเทศชาติจะให้อะไรแก่ท่าน

แต่จงถามตัวท่านเองว่าจะให้อะไรประเทศชาติของเราได้

บ้าง"
      
          ถ้านำมาใช้ในระดับหน่วยงานให้แคบลง จงอย่า

ถามว่าหน่วยงานจะให้อะไรแก่ท่าน แต่จงถามตัวท่านเอง

ว่าจะให้อะไรแก่หน่วยงานของเราได้บ้าง

          วรรคทองของ John F. Kennedy นี้มีความ

เหมาะสมไว้ให้คิดสะกิดใจในการทำงาน หากเราลดละ

การทำงานที่มุ่งเน้นประโยชน์ส่วนตนมากเกินไปก็เป็นหน

ทางที่ทำให้ไม่สง่างาม   ยามนี้คิดถึงบันทึกในอดีตที่มีคน

ถามคึกฤทธิ์ว่า  หากมีความขัดแย้งระหว่างประโยชน์ส่วน

ตนกับประโยชน์ส่วนรวมควรจะเลือกสิ่งใด คึกฤทธิ์ ได้

ตอบว่า ผู้ที่เลือกประโยชน์ส่วนตนนั้นเหมาะที่จะเป็นพ่อ

บ้าน  ผู้ที่เลือกประโยชน์ส่วนรวมนั้นเหมาะที่จะเป็นพ่อ

เมือง  

หมายเลขบันทึก: 80342เขียนเมื่อ 24 กุมภาพันธ์ 2007 00:32 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 มิถุนายน 2012 13:28 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (18)
  • ขอบคุณในทัศนะสอนใจที่เป็นประโยชน์ต่อสังคม นะครับ
  • สมัยที่ทำกิจกรรมในมหาวิทยาลัย รุ่นพี่เคยสอยไว่ว่า "ประสบการณ์ สอนให้รู้ว่า  นักกิจกรรมมักจะขาดทุนเสมอ  ถ้ามีแต่คนคิดจะเอากำไร แล้วใครล่ะจะยอมเสียสละ"
  • และข้อความนี้ ยังมีนิสิตท่องขึ้นใจสืบมาจนถึงปัจจุบัน

 

  • ตามมาอ่านวรรคทองครับผม
  • ชอบมาก
  • ขอบคุณครับผม
  • ใช่แล้วค่ะ สุนทรพจน์อมตะ
  • give and take ชอบไหมค่ะ
  • นอนหลับฝันดีค่ะ
ข้อคิดคิดดีๆจาก ผอ.ถ้าในสังคมไทยเป็นอย่างก็ดีค่ะแต่บางครั้งสถานการณ์ไม่เอื้ออำนวยในสังคมไทยส่วนใหญ่เห็นประโยชน์ส่วนตนมากกว่าประโยชน์ส่วนรวม  บางครั้งทำอะไรให้กับส่วนรวมแต่กับมองข้ามจึงทำให้เกิดความท้อแท้ แต่จะไม่ท้อถอยจะทำความดีต่อไป
สุขแท้พึงมีในความสงบ

ความสุขที่หวังว่าจะได้จากผู้อื่น นั้นเป็นความทรมานอย่างหนึ่ง เพราะผู้อื่นที่จะสนองความสุขแก่เรานั้นเขายย่อมพิจรณาเหมือนกันว่า เป็นความสุขความพอใจของเขาด้วยหรือไม่ เขายังต้องพิจารณาถึงเงื่อนไขทางสังคมอีกด้วย เกียรติของเขา อนาคตของเขาย่อมสำคัญกว่าความสุขของเรา

ตัวเราเองเท่านั้น ที่จะมองเห็นความสุขของเรานั้นสำคัญ คนอืนหาคิดอย่างเราไม่ การหวังความสุขจากผู้อื่นจึงเป็นการทรมานอย่างหนึ่ง ทางที่ดี คือเลิกหวังเสียดีกว่า พยายามมองหาความสุขจากการสงบใจ ซึ่งหาได้ง่าย ประณีตมั่นคง และปลอดภัยกว่า

ขอให้ผู้มุ่งหวังความสุขที่แท้จริง พึงแสวงหาความสุขจากการสงบใจเถิด จะไม่ผิดหวัง ถ้าจะผิดหวังก็ตรงที่สงบใจไม่ได้สักทีคอยจะฟุ้งซ่าน อยากได้ความสุขจากผู้อื่นอยู่ร่ำไป
ประโยคที่ว่า "หากมีความขัดแย้งระหว่างประโยชน์ส่วน ตนกับประโยชน์ส่วนรวมควรจะเลือกสิ่งใด" ตอบว่า ผู้ที่เลือกประโยชน์ส่วนตนนั้นเหมาะที่จะเป็นพ่อ บ้าน ผู้ที่เลือกประโยชน์ส่วนรวมนั้นเหมาะที่จะเป็นพ่อ เมือง เป็นประโยคคำถาม และคำตอบที่ ดีมากๆๆๆๆๆ แต่ความเป็นจริงประโยชนต์ส่วนตนนั้นทิ้งได้ทั้งหมดไหม ...คงไม่ได้ทั้งหมด....แต่ต้องอยู่ภายใต้ข้อจำกัดและทำพอดูงาม ไม่ใช่เห็นประโยชน์ส่วนตนเป็นส่วนใหญ่..ฝักใฝ่แต่ประโยชน์ส่วนตนเป็นหลัก.....ช่องทางไหนได้ประโยชน์ฉันรู้หมด แต่ช่องทางที่ทำให้เกิดผลงานมีน้อยนิด... น่าจะลองถามตนเองว่า....ทำงานเพื่อเป็นพ่อบ้าน หรือ เป็นพ่อเมือง.....ฝากให้ท่านที่กำลังคิดถึงประโยชน์ที่พูดถึง..นำไปคิดบ้างนะ... ข้อคิดต่อ......เรื่องประโยชน์ส่วนตน ถ้าลูกน้องคิด....ก็ต้องอยู่ในความดูแลควบคุมของเจ้านาย.....ถามว่าทำได้มากน้อยแค่ไหน..น้อยมาก แต่ถ้า.... เจ้านายคิด..มีอำนาจที่จะพึงกระทำได้...ถามว่า.....ใครจะห้าม.... แต่ถ้า...ทุกคน เสียสละประโยชน์ส่วนตนเพื่อประโยชน์ส่วนใหญ่ของประเทศแล้ว อะไรต่างๆก็น่าจะดูดีนะ และคำจำกัดความนี้ก็น่าจะเป็นคำจำกัดความที่น่าจะใช้ได้นะ

ถ้าเลือกทั้ง 2 อย่าง เป็น อดีต พ่อเมือง หรือเปล่าคะ

เป็นข้อความที่ดีมากเลยค่ะ

 

เป็นข้อความที่พูดแล้วกินใจมากเลยครับ...

ผมชอบความคิดของคุณ H5N1 นะ  เหมาะสมและรุ่มลึกดี สำนวนก็ไทยแท้

     อย่างที่ทราบคนส่วนใหญ่รู้ว่า

.....เมื่อเห็นท้องฟ้ามืดครึ้ม  คาดการณ์ได้ว่าฝนจะตกในไม่ช้า

.....ลูกมะม่วงที่อยู่บนต้น   อีกไม่นานก็จะสุก

.....ถ้าทำงานไม่เสร็จตามเวลา   ย่อมถูกหัวหน้างานตำหนิ

.....ถ้ารัฐบาลดำเนินนโยบายเช่นนี้  ในทางทฤษีแล้ว  ผลที่ออกมาน่าจะเป็นไปตามเป้าหมาย

ลองคิดดูบ้างเป็นไร

     เมื่อถึงที่สุด

แล้ววันหนึ่ง

เราจะพบเส้นทางเล็ก ๆ มากมายที่งดงาม

แต่ต้องใช้เวลาในการเดินทางอย่างยาวนาน

เมื่อท่านเป็นผู้รับมากกว่าผู้ให้

ขอบคุณคะในทัศนะสอนใจที่เป็นประโยชน์ต่อสังคม
    หากมองถึงปัญหา...ทั้งสองด้านล้วนแล้วแต่สำคัญทั้งนั้น  ...  หากอยู่กับครอบครัวแต่มุ่ง แต่งาน  เห็นประโยชน์ส่วนรวมมากกว่า  ก็จะเกิดปัญหาครอบครัวขึ้น หากแต่อยู่ที่ทำงานแล้วมุ่งหาแต่ประโยชน์ส่วนตนมากกว่า  ก็เกิดปัญหาเช่นกัน ดังนั้นเราควรหันมามองถึงสาเหตุและการแก้ปัญหาเพื่อรักษาทั้งสองอย่างให้สมดุล เวลาเป็นสิ่งที่สำคัญ  เราควรจัดสรรเวลาให้ถูกต้องและเหมาะสมกับทุกๆ บทบาท  ความเอาใจใส่ก็ควรให้เป็นเวลา เวลาใดควรเอาใจใส่เรื่องใด แค่เราจัดการกับตัวเองได้ เราก็จะมีความสุข ครอบครัวมีความสุข และก็จะทำงานอย่างมีความสุขนะคะ 
ขอขอบคุณทุกข้อความที่ทำให้ได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนเรียนการเรียนรู้ ส่วนการที่คนเรามีมุมมองในทิศทางที่เป็นบวกก็จะนำไปสู่การมองโลกในแง่ดี คนที่มองโลกในแง่ดีจะมองเห็นโอกาสในทุกวิกฤต ส่วนคนที่มองโลกในแง่ร้ายจะมองเห็นวิกฤตในทุกโอกาส เพราะฉนั้นอย่ากลัว จงกล้าที่เปลี่ยนแปลงไปในทิศทางที่ดี และนำมาสู่การสร้างสรรค์ผลงาน กศน. ต่อไป
เห็นด้วยกับข้อความนี้คะ  ขอบคุณนะคะที่ให้ข้อคิดที่ดี 
Miss ดวงพร มังคละสวัสดิ์
คนเราคิดจักทำการใหญ่ไซร้  ควรอย่าเห็นแก่ประโยชน์ส่วนตนเป็นที่ตั้ง
นลินทิพย์ สังข์เจริญ ศบอ.แปลงยาว
  • ขอขอบคุณทุกมุมมอง...และมีแง่คิดดีดีเสมอมาให้อ่านตลอดเวลา
  • แคบนักมักคับขยับยาก
  • กว้างมากก็ไม่มีอะไรจะใส่สม
  • เบาหนักก็มักลอยไปตามลม
  • หนักนักก็มักจบลงดินดาน

ก็......ทุกอย่างก็ต้องเดินสายกลาง.........นั้นแหละค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท