ผลการประเมินสำนักหอสมุด ด้านภารกิจหลัก


องค์ประกอบที่ 10 ภารกิจหลัก (อ.ทรงสรรค์)

         ในการประเมินภารกิจหลักควรจะนำ การประเมินนี้ ในรูปแบบของการประเมินที่เป็น output outcome มากกว่า

       ดัชนี 10.1 ด้านการเรียนรู้ด้วยตนเอง

  •  ควรมีการประเมินทรัพยากรสารสนเทศในประเด็นความทันสมัย การมีอยู่จริง ความพอเพียง
  • ห้องสมุดมีพื้นที่แออัด ทำให้พื้นที่ยังไม่เพียงพอ
  • เท่าที่ทำอยู่แสดงถึงเจตนาที่จะมีกิจกรรมเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ด้วยตนเองของผู้ใช้ ดังนั้น อยากให้มีกิจกรรมที่หลากหลายมากขึ้นในลักษณะของการแนะนำ การอบรม การฝึกปฏิบัติ แก่ผู้ใช้บริการตามความต้องการของผู้ใช้ตลอดจนเป็นการใช้ทรัพยากรฐานข้อมูล Online ที่มีอยู่อย่างมีประสิทธิภาพ
  • ควรมีการส่งเสริมการใช้ฐานข้อมูลที่อาจารย์ผู้สอน เพื่อให้อาจารย์ผู้สอนได้ Assign กิจกรรมให้มีการใช้ฐานข้อมูลมากขึ้น

ดัชนี 10.2 ด้านการบริการอย่างมีคุณภาพ

  • ในช่วงของการพัฒนาทรัพยากร อาจจะทำให้ช่วงเวลาที่เป็นอยู่อาจจะทำให้เวลาสั้นกว่า 1 เดือน ทั้งนี้ถ้าหลังจากนี้ทรัพยากรดังกล่าวจะต้องไปผ่านกระบวนการวิเคราะห์อีก 1 สัปดาห์
  • ห้องสมุดมีระบบการซ่อมบำรุงรักษา ที่จัดว่าเป็นมืออาชีพ
  • การทำงานของการวิเคราะห์ สามารถทำการวิเคราะห์ได้อย่างรวดเร็วมากกว่า 8 ชื่อเรื่องต่อวันต่อคน ดังนั้นควรจะระบุมาตราฐานในการวิเคราะห์ใหม่ให้สอดคล้องกับความเป็นจริง
  • หนังสือบริจาค เมื่อนำเข้าสู่ระบบ ควรจะมีการตีมูลค่าเพื่อประโยชน์ในการประเมินเมื่อเกิดการสูญหาย หรือเมื่อคิดมูลค่าทางระบบบัญชี การตีราคาหนังสือบริจาค อาจจะตีราคาจากหน้าเท่ากับค่าซีร็อกคูณจำนวนหน้า
  • การที่ห้องสมุดมีการสนับสนุนให้เกิดงานวิจัยสถาบันด้านการบริการทุกฝ่าย โดยบุคลากรของสำนักหอสมุดนับว่าเป็นสิ่งที่ดี ขอให้ดำเนินการโดยต่อเนื่อง
  • ขอให้รักษาคุณภาพของการให้บริการให้มีคุณภาพอย่างต่อเนื่อง และดียิ่งขึ้น ทั้งนี้ โดยการพัฒนาคุณภาพของบุคลากรในเรื่องของการให้บริการ ตลอดจนสร้างบรรายากาศในการทำงาน อย่างมีความสุขแก่พนักงาน
  • ด้านคุณภาพการบริการของบุคลากร ยังไม่มีการนำผลการประเมินเป็นรูปธรรม ควรนำผลการประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้บริการ และหรือผลของงานวิจัยเกี่ยวกับการบริการมาปรับปรุงงานการบริการให้ดีขึ้น

ดัชนี 10.3 ด้านห้องสมุดมีชีวิต

  • ในสภาพปัจจุบัน ที่มีพื้นที่จำกัด และสภาพแวดล้อมอาจจะเอื้อต่อการเป็นห้องสมุดมีชีวิต สภาพแวดล้อมและบรรยากาศก็ไม่ใช่เป็นปัจจัยเดียวที่ทำให้ห้องสมุดมีชีวิต ทั้งนี้จะต้องให้ความสนใจในส่วนของทรัพยากรตรงต่อความต้องการของผู้ใช้ มีความหลากหลายของทรัพยากร การเข้าถึงทรัพยากรได้อย่างสะดวก รวดเร็ว ตลอดจนการมีจิตใจพร้อมในการให้บริการของบุคลากร เป็นสิ่งจำเป็นมากเช่นกัน
  • มีความพยายามที่จะทำห้องสมุดให้มีชีวิตในลักษณะที่จัดกิจกรรมจัดการ .
  • อยากให้มีการจัดกิจกรรมที่มีการส่เงสริมการที่ผู้รับบริการจะได้ประโยชน์ และกิจกรรมที่ส่งเสริมการเรียนรู้ที่หลากหลายทั้งรูปแบบ และทรัพยากรที่หลากหลาย
  • ให้เพิ่มการพัฒนาบุคลากรโดยเฉพาะด้านการบริการอย่างสม่ำเสมอ โ ดยการเน้นจิตสำนึกของการให้บริการเพื่อนำไปสู่ห้องสมุดมี ชีวิต
  • ประธานแนะนำให้ไปเยี่ยมชมห้องสมุดมารวย จะมีบรรยากาศน่านั่ง

ดัชนี ที่ 10.4 ด้านห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์

  • การยืมทรัพยากรสารสนเทศโดยผ่านระบบเครือข่าย (renew) น่าจะเป็นจุดแข็งของการให้บริการในระบบดิจิตอลด้วย 
  • โครงการกิจกรรมที่อยู่ในแผน นับว่ามีศักยภาพในการให้บริการในระบบดิจิตอล ในปีถัดไป แต่พึงระวังเรื่องความมีประสิทธิภาพของการให้บริการของระบบเหล่านั้น เป็นไปในลักษณะที่เข้าถึงข้อมูลได้อย่างสะดวก และรวดเร็ว
  • จากที่สำนักหอสมุดให้บริการระบบดิจิตอล และมีเอกสารแนะนำการใช้ระบบในฐานข้อมูลต่าง ๆ นั้น ควรจะต้องมีการประเมินว่าเอกสารเหล่านั้น หรือการให้บริการผ่านระบบดิจิตอลก่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์ต่อผู้ใช้บริการเป็นอย่างไร มากน้อยเพียงไร เพื่อประโยชน์ในการปรับปรุง ในการจัดหาพัฒนาและปรับปรุงทรัพยากรที่มีอยู่
  • ต้องมีการประเมินการใช้งานเพื่อประโยชน์ในการปรับปรุงการให้บริการ และการพัฒนาระบบ การให้ความรู้ แก่ผู้ใช้บริการ
  • เมื่อมีการพัฒนา และได้จัดทำ ควรมีการประเมินแบบคู่ขนานว่าระบบนั้นมีประสิทธิภาพในการให้ผู้ใช้บริการได้เข้าถึงข้อมูลอย่างรวดเร็ว และตรงตามความต้องการหรือไม่

ดัชนี 10.5 ด้านความร่วมมือระหว่างห้องสมุด

  • เป็นความพยายามที่ดีที่มีความร่วมมือระหว่างสถาบัน ซึ่งได้มีการประชุมเป็นทางการ 2 ครั้ง
  • พยายามให้ความร่วมมืออย่างมีประสิทธิภาพขึ้น โดยอาศัยช่องทางความร่วมมืออื่น ๆ ที่มีอยู่แล้ว เช่น ความร่วมมือที่ผ่านทาง กสอ. เป็นต้น (ฐานข้อมูล Digital Collection)
  • กิจกรรมความร่วมมือ อาจจะทำได้ในลักษณะของการจัดกิจกรรมร่วมกัน การเปิดกว้างในแง่ของการ Share การให้บริการมากขึ้น
  • เป็นความร่วมมือของข่ายงานห้องสมุดมหาวิทยาลัยในส่วนภูมิภาคที่มีความเข้มแข็ง ทั้งระดับผู้บริหาร และระดับผู้ปฏิบัติงานของห้องสมุด ซึ่งก่อให้เกิดการใช้ทรัพยากรร่วมกัน การแลกเปลี่ยนประสบการณ์ระหว่างห้องสมุด ตลอดจนการบริการที่สามารถเข้าถึงข้อมูล จึงควรจะรักษา และพัฒนาความร่วมมือของเครือข่ายให้อยู่ในระดับที่ดีขึ้น
  •  ความร่วมมือระหว่างสถาบันอุดมศึกษาครอบคลุมสถาบันอื่น ๆ ในวงกว้างของสถาบันอุดมศึกษาทุกระดับของประเทศ เช่น สถาบันอุดมศึกษาของรัฐ มหาวิทยาลัยราชภัฎ มหาวิทยาลัยราชมงคล สถาบันอุดมศึกษาเอกชน ทุกแห่ง ดังนั้นความร่วมมือจึงมิได้เกิดขึ้นจากทางฝ่ายห้องสมุดของมหาวิทยาลัยนเรศวรฝ่ายเดียว 2. ปัจจุบันมีความร่วมมือของสถาบันอุดมศึกษา ตามข้อที่ 1 อยู่ในระหว่างการปรับปรุงโครงสร้างของความสัมพันธ์ของเครือข่าย
หมายเลขบันทึก: 80295เขียนเมื่อ 23 กุมภาพันธ์ 2007 18:24 น. ()แก้ไขเมื่อ 8 พฤษภาคม 2012 10:49 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

เห็นผลการประเมินแล้วก็หายเหนื่อยค่ะ และจะนำข้อเสนอแนะมาปรับปรุงการทำงานต่อไป

  • ดีใจด้วยกับทีมงานค่ะ
  • อ่านจากรายงานผลการประเมินทั้ง 2 บันทึกของอ.หนึ่งแล้ว เห็นด้วยกับความเห็นกรรมการ คิดว่าห้องสมุดน่าจะเข้าใจสภาพความเป็นจริงของตนเองมากขึ้น จะได้รู้ทิศทางการพัฒนาไปข้างหน้าต่อไป
  • อย่าลืมให้กำลังใจคนทำงานเบื้องหลังทุกๆส่วนด้วยนะคะ
  • จากผลการประเมิน  เป็นที่น่าพึงพอใจเป็นรางวัลแด่คนทำงาน ทุกคน
  • และครั้งนี้ หนูได้ความรู้เพิ่มขึ้นมาก และ..จะไม่ถ่อมตนอีกต่อไป เอาจริง ๆ แล้วนะค่ะ ..(อ. ทรงสรรค์ แนะนำค่ะ ว่าอย่าถ่อมตน)
  • และเรายังได้ไอเดียการทำงานเพิ่มมากขึ้น  ต่อไป งานวิเคราะห์ฯ จะมีการ  Re-Check  ทุก ๆ สิ้นเดือนเพื่อตรวจสอบข้อผิดพลาดของตนเองและข้อมูลในระบบ  ค่ะ 
  • ต่อไปเราจะทำการประเมินราคาหนังสือทุกเล่ม  ค่ะ 

                           

                                นี่คือคำสัญญา !!!!

  • ขอบคุณปุ๊ก มากครับที่ส่งกำลังใจมาจากขอนแก่น
  • ใจตรงกันครับ ผมได้เขียนคำขอบคุณผู้อยู่เบื้องหลังไปบ้างแล้ว แม้ว่าอาจจะเอ่ยนามไม่ครบ
  • แล้วยิ่งดีใจยิ่งขึ้นครับ เมื่อเป็นปณิธาน ของพรทิพย์
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท