จับภาพ มรภ.สวนดุสิต


การจัดการความรู้

เมื่อวันที่ 21 กพ.50 ที่ผ่านมา น้ำไปจับภาพ มรภ.สวนดุสิตมา จ๊ะ ไปกับพี่หญิงสคส.

สิ่งที่จะเขียนเล่าให้ฟังนั้นขอเป็นแกนหลักๆ เรื่องการจัดการความรู้แล้วกัน ส่วนเรื่องรายละเอียดเอาไว้เล่าให้ฟังวันหลังน่ะ

(เข้าเรื่องเลยแล้วกัน)

ผลจากการไปจับภาพ พบว่า การจัดการความรู้ของที่นี่ มีอยู่ 3 เรื่องด้วยกันคือ KM ในกระบวนการเรียนการสอนนักศึกษาปริญญาโท,km ในคณะที่กำลังพยายามเริ่มจากวงKM cafe และ KM ให้กับหน่วยงานภายนอก ที่สนใจ

KM ที่นี่เริ่มจากการพยายามทำเพื่อหวังคะแนน เริ่มทำในกลุ่มCOP เลขาจาก 11 หน่วยงานในมหาลัยฯ แต่ไม่ประสบความสำเร็จเนื่องจากทำเพราะหวังคะแนน เป็นการบังคับ และยังมีการตั้งงบประมาณขึ้นมาทำให้บรรยากาศในการใช้KM เป็นกึ่งบังคับ แต่ก็พยายามตบให้กลุ่มนี้เข้าใจKM ที่แท้จริงอยู่

ต่อมามีการตั้งศูนย์จัดการความรู้ขึ้น โดยมี รศ.ดร.ธำรงค์ อุดมไพจิตรกุล เป็นผอ.โครงการ พร้อมกับตั้งคณะทำงานให้รับภารกิจในกาขัเคลื่อนการจัดการความรู้ให้กระจายทั่วทั้งมหาลัยฯ

งานที่ทำคู่ขนานกันไปคือการสร้างหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการจัดการความรู้ขึ้น เป็นรุ่นแรก เมื่อปีที่ผ่านมา  โดยเป็นการสอนที่เน้นความรู้ปฏิบัติไม่ใช่ความรู้เชิงทฤษฎี วิธีการก็คือวันเสาร์จะเป็นการเรียนรู้ทฤษฎีจาก ผู้เชี่ยวชาญที่ “ผู้จัดการวิชา” เชิญมาเป็นวิทยากรให้ อาทิ อ.ประพนธ์ ผาสุขยืด , คุณหมออภิชาติ จากศิริราช หรือบริษัทเอกชนอย่าง cpac ปูนซิเมนต์ไทย เป็นต้น  และวันอาทิตย์ก็จะเป็นการนำความรู้ที่ได้มาปฏิบัติจริง

กระบวนการในห้องเรียนจะเกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ กันโดยเฉพาะวันอาทิตย์นักศึกษาจะจับกลุ่มกัน พูดคุยกันถึงสิ่งที่เรียนมาในวันเสาร์ และสรุป และลองเขียนแผนขึ้นมาส่งอาจารย์ วิธีการประเมินก็คล้ายๆ กับเป็นการAAR ว่าผู้เรียนได้เรียนรู้อะไร อะไรที่บรรลุเป้าหมาย อะไรที่ไม่บรรลุเป้าหมาย

ในส่วนของ KM cafe เป็นวงcop ที่ศูนย์จัดการความรู้ต้องการให้เกิดขึ้นเป็นวัฒธนธรรมของมหาลัย โดยทุกๆ สัปดาห์ที่ 3 ของเดือน จะมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในเวทีนี้ ซึ่งในวันที่ไปดูกิจกรรมเขา ถือเป็นครั้งที่ 8 หัวข้อ แผนที่ชีวิตคนทำงานสวนดุสิต เป็นประเด็นที่สืบเนื่องมาจากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้คราวที่แล้ว เรื่อง “มหาวิทยาลัยของเรา” ว่าการจะทำให้มหาวิทยาลัยของราเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้จะต้องทำอะไรบ้าง ซึ่งครั้งที่ 7 นี้เอง เป็นครั้งแรกที่ เกิดเป็นAction plan ขึ้นมา

 ลืมบอกไปว่า เริ่มต้นของวงแลกเปลี่ยนนี้ จะเป็นการกำหนดหัวข้อโดยศูนย์ก่อน หลังจากนั้นผู้เข้าร่วมก็จะเป็นผู้กำหนดประเด็นกันเอง ซึ่งสมาชิกในการแลกเปลี่ยนแต่ละครั้งจะเข้ามาตามความสนใจและไม่สนใจ ครั้งละไม่เกิน 10 คน ไม่มีการบังคับ ที่ผ่านมาสมาชิกซ้ำหน้าบ้าง หน้าใหม่บ้าง

ซึ่งในวันที่ไปจับภาพนั้น บรรยากาศเต็มไปด้วยกัลยาณมิตร ในห้องอาหารแห่งหนึ่งในมหาลัยฯ ในห้องนั้นก็มีกลุ่มcop มาประมาณ 9 คน ส่วนโต๊ะอื่นๆ ผู้คนก็ทานอาหากันไปตามปกติ บางคนก็สงสัยว่า พวกนี้มาทำอะไร คุยอะไรกันในห้องอาหาร ส่วนกลุ่มก็ดำเนินไป โดยมี รศ.ดร.เป็นประธาน เขาแนะนำเรา จากนั้น เราก็ปล่อยเวทีให้เป็นของเขาคอยดูอยู่ห่างๆ เท่านั้น มีการแนะนำตัว เพราะอาจารย์บางท่าน เคยเห็นหน้ากันในมหาลัย แต่ไม่เคยคุยกันมาก่อน ยิ้มแย้มแจ่มใส ทานอาหารไปด้วย ส่วนเรื่องที่เล่า ก็เป็นชีวิตในการทำงาน ซึ่งแต่ละคนเล่าได้เห็นTacit คือไม่เพียงแต่จะเล่าว่าที่ผ่านมาตนมีตำแหน่งอะไร เขยิบขึ้นมาอย่างไร แต่ทุกคนใส่วิธีการกระบวนการพัฒนานักศึกษา ลงไปด้วย ซึ่งเพื่อนคนอื่นๆ ก็พยักน่า สนใจ และจดบันทึกลงไปในกระดาษ เพราะเป็นสิ่งที่ดี ที่ได้เรียนรู้

กระทั่งเล่ากันครบทุกคน ก็มีการนัดหมายกันว่าคราวหน้าอยากจะคุยเรื่องอะไรกันต่อ สรุปว่ามี 2 ประเด็นที่จะคุยกัน น่าชื่นชมคือ ความก้าวหน้าของกลุ่มCOP นี้ มีอาจารย์ท่านหนึ่งรับไปเป็นเจ้าภาพจัดเวทีขึ้นที่คณะฯของตนเอง ส่วนอีกประเด็นหนึ่ง ศูนย์รับจัดพูดคุยกันที่โรงอาหารเหมือนเคย

ตอนท้ายเราได้สัมภาพษ์ อาจารย์ท่านหนึ่ง ท่านคือ อ.จันทร์จนา ตันสกุล ที่ปรึกษาด้านอนามัยและสุขาภิบาล หัวหน้าโปรแกรมวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาหาร ซึ่งเพิ่งเข้ามาร่วมเวทีนี้เป็นครั้งแรก กล่าวว่า อยากจะเข้ามาร่วมเวทีนี้หลายครั้ง แต่ไม่มีโอกาส ได้ยินคำว่า KM หลายครั้งแต่ไม่รู้จริงๆ สักที แต่ก่อนที่จะเข้าร่วมเวทีนี้ ก็นำKM ไปใช้ในหน่วยงานบ้างกับ น้องๆ ซึ่งเป็นอาจารย์ในแผนกวิชาฯ จากเดิมที่ไม่ค่อยได้คุยกัน นอกจากเรื่องงาน ก็เปลี่ยนเป็นการพยายามเดินเข้าไปหาเขาก่อน นอกจากนี้ยังใช้e-mail ที่จากเดิมจะส่งเฉพาะสิ่งที่ควรรู้ เช่นประกาศ งานหรือสิ่งสำคัญๆ มาเป็นการเพิ่มเติมเนื้อหารายละเอียดคำพูดที่ สามารถโต้ตอบกันได้ มีอารมณ์ความรู้สึก ความห่วงใย และความรู้เข้าไปใน E-mail เป็นต้น

ส่วนเมื่อมาเข้าร่วมเวทีนี้จริงๆ ก็ทำให้ตนได้เรียนรู้การจัดการความรู้ว่าควรจะเป็นอย่างไร วิธีการสรุปประเด็น การเล่าความรู้ ก็จะลองกลับไปใช้กับน้องๆ ในที่ทำงาน

หมายเลขบันทึก: 80292เขียนเมื่อ 23 กุมภาพันธ์ 2007 18:09 น. ()แก้ไขเมื่อ 8 มิถุนายน 2012 14:30 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท