ความสนใจในการศึกษาการจัดการความรู้เรื่องวัว ตอนที่ 2


การที่จะแก้ปัญหาที่เกษตรกรผู้เลี้ยงโคประสบอยู่นั้น จึงควรที่จะให้เกษตรกรใช้ความรู้ที่เป็นภูมิปัญญาควบคู่กับการความรู้ใหม่ในเชิงวิทยาการและเทคโนโลยีมาจัดการให้เป็นระบบ มีการจัดการความรู้ที่ทำให้เกิดการจัดการแบบวิถีไทยเพื่อให้ได้มาซึ่งความรู้ที่เหมาะสมกับบริบทของชุมชน เป็นความรู้ที่กลมกลืนกับชีวิตความเป็นอยู่ และนำไปใช้ได้จริงในสภาพแวดล้อมในชุมชนของตนเอง

ปัจจุบันการเลี้ยงโคกำลังเป็นอาชีพหนึ่งที่ได้รับความสนใจอย่างกว้างขวาง มีคนหันมาเลี้ยงโคกันมากขึ้นทั้งเกษตรกรและคนนอกวงการ ทั้งเลี้ยงเป็นอาชีพหลักและอาชีพเสริม ทั้งนี้ เนื่องจากการเลี้ยงโคเป็นอาชีพที่สร้างรายได้สูงเพราะเนื้อโคราคาแพงและค่อนข้างแน่นอน การบริโภคเนื้อโคในประเทศมีแนวโน้มสูงขึ้นตามอัตราการเพิ่มของจำนวนประชากรและการขยายตัวทางเศรษฐกิจในประเทศและตลาดโลก แสดงถึงความต้องการบริโภคเนื้อโคยังมีอยู่มากและจะขยายตัวเพิ่มขึ้น ทำให้การผลิตเนื้อโคไม่เพียงพอต่อการบริโภคภายในประเทศ และไม่สามารถที่จะพัฒนาเพื่อการส่งออกได้ เพราะระบบการผลิตและการตลาดโคเนื้อยังไม่พัฒนาเท่าที่ควร ทำให้ประเทศต้องสูญเสียรายได้จากการนำเข้าเนื้อโคที่มีคุณภาพจากต่างประเทศ จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ควรจะมีการส่งเสริมให้มีการเลี้ยงโคเพิ่มขึ้นเพื่อสร้างรายได้ให้แก่เกษตรกรและทดแทนการนำเข้า 

รัฐบาลเกือบทุกยุคทุกสมัยมีนโยบายและโครงการส่งเสริมให้มีการเลี้ยงวัวเพื่อสร้างรายได้ให้แก่เกษตกร แต่โครงการเหล่านี้ก็ยังไม่ประสบความสำเร็จและไม่สามารถแก้ปัญหาความยากจนให้แก่เกษตรกรได้  ทั้งโครงการวัวอีสานเขียวที่กลายเป็นวัวพลาสติกในสมัยพลเอกเชาวลิต  ยงใจยุทธ จนมาถึงนโยบายวัวล้านตัวของรัฐบาลทักษิณที่ล้มไปแบบไม่เป็นท่าทั้งคนที่อยากเลี้ยงและรัฐบาล

อาการล้มไม่เป็นท่าของคนเลี้ยงวัวนี้มีเหตุปัจจัยหลายอย่าง

สาเหตุแรก มาจากนโยบายฝันกลางวันหรือนั่งทางในของรัฐ ที่ชอบคิดและตัดสินใจแทนชาวบ้าน แต่ไม่ได้ดู ไม่ได้เห็นและเข้าใจถึงเนื้อแท้ของวิถีชีวิตของแต่ละคนแต่ละพื้นที่ แล้วไปใช้นโยบายผิดทิศผิดทางครอบความคิดชอบบ้านให้ทำตามแบบพิมพ์ความคิดอันเดียวกัน สุดท้ายไปไม่รอด 

สาเหตุที่สองมาจากเกษตกรมีความรู้ไม่พอใช้  เพราะความรู้บางอย่างที่เกษตรกรมีนั้นตกยุค ตามไม่ทันการเปลี่ยนแปลง ไม่ว่าจะเป็นสภาพแวดล้อม ทรัพยากร และเทคโนโลยี เกิดอาการตามไม่ทันความรู้ โดยเฉพาะความรู้ด้านการเลี้ยงวัวในด้าน

 -    การปรับปรุงสายพันธุ์  การวิจัยและการพัฒนาปรับปรุงพันธุ์จะเป็นของหน่วยงานราชการส่วนใหญ่ที่ยังไม่กระจายไปถึงชาวบ้านอย่างทั่วถึง  ทำให้เกิดการขาดแคลนพ่อพันธุ์และแม่พันธุ์ที่มีคุณภาพ เป็นผลให้ได้เนื้อโคที่มีไม่ได้คุณภาพ

-    การจัดการเลี้ยงดูหรือการจัดการฟาร์มไม่ได้มาตรฐานและการรับเทคโนโลยีต่าง ๆ ก็เป็นไปอย่างล่าช้า เนื่องจากยังเลี้ยงแบบพึ่งพาธรรมชาติเป็นหลัก

-   วัวที่เลี้ยงขาดความสมบูรณ์ ทำให้อัตราการการผสมติดต่ำ อัตราการให้ลูกโคต่ำ และอัตราการตายสูง  ทำให้ไม่สามารถสร้างรายได้ที่แน่นอนและมั่นคงแก่เกษตกรได้

-    ภาวะการตลาดโคที่ไม่แน่นอนและถูกเอาเปรียบจากนายทุน เนื่องจากมีการวางแผนปั่นราคาวัว ตามความนิยม  ทำให้เกษตรต้องลงทุนซื้อวัวในราคาสูงแต่ขายได้ในราคาต่ำ

จากเหตุปัจจัยที่กล่าวมาส่งผลให้อาชีพการเลี้ยงโคนั้นไม่พัฒนาไปถึงขั้นที่จะทำให้เกษตรกรประสบความสำเร็จและพึ่งตนเองได้

 การที่จะแก้ปัญหาที่เกษตรกรผู้เลี้ยงโคประสบอยู่นั้น จึงควรที่จะให้เกษตรกรใช้ความรู้ที่เป็นภูมิปัญญาควบคู่กับการความรู้ใหม่ในเชิงวิทยาการและเทคโนโลยีมาจัดการให้เป็นระบบ มีการจัดการความรู้ที่ทำให้เกิดการจัดการแบบวิถีไทยเพื่อให้ได้มาซึ่งความรู้ที่เหมาะสมกับบริบทของชุมชน เป็นความรู้ที่กลมกลืนกับชีวิตความเป็นอยู่ และนำไปใช้ได้จริงในสภาพแวดล้อมในชุมชนของตนเอง
หมายเลขบันทึก: 80287เขียนเมื่อ 23 กุมภาพันธ์ 2007 17:38 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 17:31 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

นี่คือกรอบความคิดในการทำงานครับ

เราต้องเลื่อนระดับความคิดไปถึงประเด็นและชุดความรู้ตามหลักของ อริยสัจ ๔ ครับ

ขอบคุณครับ

อาจารย์แสวงที่เคารพ

          อาจารย์ค่ะ  ประเด็นหลักที่หนูจะนำมาพิจารณาตามหลักอริยสัจ 4 ที่อาจารย์แนะนำนั้น หนูจะเอาประเด็นความรู้ไม่พอใช้ในเรื่องของอาหารและการให้อาหาร  เพราะคิดว่าอาหารเป็นปัจจัยหลักที่มีผลต่อประสิทธิภาพของฝูงมากที่สุดและเรื่องอาหารนี้จะเชื่อมโยงไปสู่อาชีพทางการเกษตรอื่น ๆ รวมทั้งเชื่อมไปถึงธรรมชาติด้วย   

         ซึ่งจะต้องเริ่มที่ปัญหาเกี่ยวกับอาหารเลี้ยงโคในชุมชนก่อน จากนั้นก็จะเป็นวิธีการแก้ปัญหา และผลของการแก้ปัญหาของแต่ละคนว่าประสบผลสำเร็จหรือไม่อย่างไร

        ขอบคุณค่ะ

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท