รังสีเทคนิค


รังสีเทคนิค คือ ?

          หวนรำลึกถึงเมื่อตอนอยู่มัธยมศึกษาปีที่ 6 ตอนสอบเอนทรานซ์ขณะที่เลือกวิชาสาขาที่จะสมัครเข้าเรียนต่อ ผมไม่ได้มีความรู้ความเข้าใจมากมายว่าไอ่เจ้า สาขารังสีเทคนิคนี้มันคือ อะไร แต่ด้วยคำแนะนำจากรุ่นพี่ร่วมสถาบัน ก็รู้ว่าเรียนเกี่ยวกับเอกซเรย์คนป่วย ตอนแรกก็สับสนอยู่ในจิตใจเหมือนกันว่า จะเรียนดีไหม แต่สุดท้ายก็ได้เลือกที่จะสมัครสอบเข้ามาเรียน แล้วก็ได้มาเรียนอยู่ในสาขารังสีเทคนิค ที่มหาวิทยาลัยนเรศวร จังหวัดพิษณุโลก    

          เมื่อสองวันก่อนก็มีแนวคิดว่า จะทำอย่างไรให้น้องๆ ที่จะสอบเอนทรานซ์รู้ว่าสาขารังสีเทคนิคนี้เขาเป็นอย่างไร ให้ผู้ที่สนใจได้รับรู้มากกว่าเอกซเรย์คนป่วย และวันนั้นเองได้กลับไปอ่านคู่มือวิชาชีพรังสีเทคนิคที่เรียนตอนปีสองกับอาจารย์ มาลินี ธนารุณ ก็เลยนำบทความมาตีแผ่ให้คนที่สนใจเข้ามาอ่านและรับรู้ถึงวิชาชีพรังสีเทคนิค

ตำแหน่งที่เรียก 

นักรังสีเทคนิค,นักรังสีการแพทย์

เป็นอย่างไร 

 ผู้ที่ประกอบวิชาชีพนี้จะทำงานในโรงพยาบาลหรือสถานพยาบาล ในกลุ่มงานรังสีวิทยา ลักษณะงานเป็นการใช้เครื่องมือที่สลับซับซ้อนทางรังสีการแพทย์ เพื่อวินิจฉัยและรักษาโรค ให้กับผู้ป่วย โดยทำหน้าที่ร่วมกับรังสีแพทย์และบุคลลากรอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

มันเรียนอะไรกันบ้าง

สาขารังสีเทคนิคแบ่งได้สามสาขาดังนี้คือ

1.สาขารังสีวินิจฉัย เรียนเกี่ยวกับทักษะในการบันทึกภาพหรือสร้างภาพด้วยเครื่องมือทางรังสี ในอวัยวะส่วนต่างๆ ของร่างกาย เช่น เครื่องเอกซเรย์ทั่วไป,เครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (Computed Tomography), เครื่องตรวจสนามแม่เหล็ก(MRI), เครื่องอัลตราซาวด์ (Ultrasound) และเครื่องเอกซเรย์เต้านม (Mammography) หน้าที่ของนักรังสีเทคนิค คือ จัดท่าผู้ป่วยและควบคุมปริมาณรังสีให้พอเหมาะให้ได้ภาพที่มีคุณภาพเพียงพอต่อการวินิจฉัยโรค รวมไปถึงการจัดเตรียมฟิล์มและน้ำยาล้างฟิล์ม การเตรียมสารทึบรังสีสำหรับการตรวจพิเศษทางรังสีทุกระบบ

2.สาขารังสีรักษา จะเรียนเกี่ยวกับเครื่องฉายรังสีโรคมะเร็งซึ่งปริมาณรังสีจะสูงกว่าทางรังสีวินิจฉัย เช่น เครื่องเร่งอนุภาคอิเล็กตรอน (LINAC), เครื่องมือสอดใส่แร่, เครื่องแกมมาไนท์, เครื่องฉายรังสีโคบอลต์  หน้าที่ คือจัดท่าผู้ป่วยให้ถูกต้องในแต่ละครั้งการให้รังสีต้องเหมือนเดิม วางแผนกำหนดปริมาณรังสีที่เหมาะสมร่วมกับรังสีแพทย์ ฟิสิกส์การแพทย์ เพื่อรักษาผู้ป่วยโรคมะเร็งต่างๆ

3.สาขาเวชศาสตร์นิเคลียร์ เรียนเกี่ยวกับการให้สารเภสัชรังสีเพื่อวินิจฉัยและรักษาโรค โดยใช้เครื่องมือสร้างภาพทางเวชศาสตร์นิวเคลียร์สร้างภาพอวัยวะภายในผู้ป่วยที่ได้รับสารกัมตรังสีเข้าไปในร่างกาย เช่น เครื่องSPECT, Thyroid Uptake เพื่อดูการแพร่กระจายของมะเร็งและตรวจดูการทำงานของระบบต่างๆในร่างกาย ตลอดจนวิเคราะห์สิ่งส่งตรวจจากผู้ป่วยด้วยวิธีทางห้องปฏิบัตการร่วมกับสารกัมตรังสี เช่น RIA,IRMA

เปิดรับที่ไหนบ้าง

สาขาวิชารังสีเทคนิค มหาวิทยาลัยมหิดล, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, มหาวิทยาลัยนเรศวร

 

คำสำคัญ (Tags): #รังสีเทคนิค
หมายเลขบันทึก: 80283เขียนเมื่อ 23 กุมภาพันธ์ 2007 17:27 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 23:26 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

อืมม! เก็บสมุด lecture ไว้ดีอย่างนี้ น่าจะสืบทอดความรู้  เป็นครูบาอาจารย์ได้นะเนี่ย.....

ภูมิใจค่ะ ที่ครั้งนึงเราได้เป็นเพื่อนกัน ชื่นชมกับ Profile ของคุณจีรศักดิ์ ค่ะ

ยังไงซะคุณก็ยังคงเป็น Nasa veryHandsome ในใจ กบ เสมอ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท