อ.กร
นางสาว กรศศิร์ ติ๋ม ชิดดี

จรรยาบรรณวิชาชีพพยาบาล


ธรรมนูญของไทยว่าด้วยสิทธิและเสรีภาพ

จรรยาบรรณพยาบาล ฉบับปี พ..2546

……………………………………………………………………………………………………………………….

          จรรยาบรรณพยาบาลฉบับนี้ เป็นจรรยาบรรณฉบับที่ 2  ซึ่งปรับปรุงแก้ไขจากจรรยาบรรณวิชาชีพการพยาบาลที่ได้ประกาศใช้เป็นฉบับแรกใน พ..2528 ได้รับการปรับปรุงให้เป็นหลักนำการประกอบวิชาชีพ  ที่ตอบสนองความต้องการของยุคสมัย ภายใต้อิทธิพลของแนวโน้มและสภาวะการณ์ปัจจุบัน ซึ่งประเทศมีความก้าวหน้าทางการศึกษาเทคโนโลยีการสื่อสารและการคมนาคม เป็นภาวะโลกาภิวัฒน์ที่ทำให้ความรู้ ความคิดเห็น วัฒนธรรม ความต้องการ สภาพการดำรงชีวิต ตลอดจนปัญหาสุขภาพ หรือลักษณะโรคของประชาชนเปลี่ยนแปลงเร็วขึ้น รวมทั้งความก้าวหน้าในวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทางการแพทย์ ซึ่งมีผลในการใช้เทคโนโลยีขั้นสูงในการตรวจวินิจฉัย และรักษาโรคความก้าวหน้าของศาสตร์ทางการพยาบาล และศักยภาพของวิชาชีพการพยาบาลในระบบบริการสุขภาพ ในขณะเดียวกันประชาชนมีความตื่นตัวในสิทธิมนุษยชน และการพึ่งตนเอง รวมทั้งต้องการมาตรฐานคุณภาพชีวิตที่สูงขึ้น ซึ่งได้รับการส่งเสริมและคุ้มครองโดยรัฐธรรมนูญ แห่งราชอาณาจักรไทย ฉบับ พ.. 2540 ในหมวดว่าด้วยสิทธิและเสรีภาพของชนชาวไทย  และหมวดว่าด้วยแนวนโยบายพื้นฐานของรัฐเกี่ยวกับการคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของบุคคล และการจัดและส่งเสริมการสาธารณสุขให้ประชาชนได้รับบริการที่ได้มาตรฐาน และมีประสิทธิภาพอย่างทั่วถึง

          จรรยาบรรณพยาบาลแต่ละข้อเป็นหลักนำการปฏิบัติที่มีข้อความสั้น เพื่อให้เห็นความเป็นเอกภาพของจรรยาบรรณพยาบาลได้ ซึ่งแต่ละข้อมีความหมายครอบคลุมการปฏิบัติหน้าที่ทางจริยธรรมแต่ละหมวดอย่างกว้างขวาง มีแนวการปฏิบัติขั้นละเอียด เพื่อขยายความหมายของแต่ละข้อ จรรยาบรรณฉบับนี้ใช้ในการประกอบวิชาชีพการพยาบาลทุกด้าน ในทุกสถานที่และทุกตำแหน่งหน้าที่

          การประกาศจรรยาบรรณเป็นการแสดงออกซึ่งความตระหนักในความรับผิดชอบทางจริยธรรมของพยาบาลและเพื่อใช้เป็นหลักนำการประกอบวิชาชีพให้มีมาตรฐานสูง สอดคล้อง ตรงกันทั่วประเทศ รวมทั้งเป็นการสื่อสารที่ช่วยให้ผู้ใช้บริการผู้ร่วมงานในวิชาชีพนั้นๆ  และประชาชนทั่วไปได้ทราบถึงจรรยาบรรณที่พยาบาลยึดถือในการประกอบวิชาชีพ และแสดงความมุ่งมั่นของพยาบาลที่จะประกอบวิชาชีพให้มีคุณภาพในมาตรฐานสูง โดยเหตุนี้จรรยาบรรณพยาบาลทำหน้าที่ประดุจเครื่องมือ ประเมินผลพฤติกรรมของพยาบาลในการปฏิบัติวิชาชีพ โดยผู้ใช้บริการ ผู้ร่วมงาน ผู้เกี่ยวข้องทั่วไป และใช้ในการประเมินผลตนเอง

 

หมายเลขบันทึก: 80255เขียนเมื่อ 23 กุมภาพันธ์ 2007 15:13 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 21:46 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

ผมมีเรื่องสงสัย...ขออนุญาตถามนะครับ

เมื่อหมอบอกว่าคนไข้รายนี้หมดทางรักษาแล้ว...อย่างมากก็แค่ประวิงเวลาไว้ และญาติคนไข้ก็ตกลงที่นำคนไข้กลับบ้าน...

การถอดเครื่องช่วยหายใจเป็นหน้าที่ของใครครับ หมอ พยาบาล หรือญาติคนไข้ครับ...

เพราะเคยเห็นกรณีหนึง...ญาติคนไข้ไม่กล้าถอดและพยาบาลก็ไม่ยอมถอดให้...

ผมว่าเป็นการลำบากใจนะครับถ้าจะให้ลูกถอดแล้วเห็นพ่อตายไปต่อหน้าต่อตาครับ...

 

ความคิดเห็นเกี่ยวกับปัญหานี้     

น่าจะใช้วิธีการปรึกษากันและหาข้อสรุปที่ไม่ทำความลำบากใจให้กับทุกฝ่าย

โดยเคารพการตัดสินใจของญาติ ตามสิทธิผู้ป่วย

ส่วนใครจะถอดเครื่องช่วยหายใจนั้นควรเป็นแพทย์หรือพยาบาลไม่ใช่ญาติผู้ป่วย.......

ปัจจุบันแพทย์ซึ่เป็นผู้รักษาผู้ป่วยจะให้ข้อมูลเพื่อการตัดสินใจแก่ญาติแม้กระทั่งการฉีดยามอร์ฟืนเพื่อให้ผู้ป่วยตายอย่างสงบโดยญาติยินยอมเพราะการปล่อยให้ผู้ป่วยทรมานก่อให้เกิดความทุกข์อย่างมากแก่ญาติๆ  อาจต้องเลือกดูแลด้านจิตใจคนเป็นด้วย   ตามความต้องการและเลือกตัดสินใจของเขา  สิ่งสำคัญคือข้อมูลและท่าทีของการสื่อสารที่แสดงเจตนาดีของแพทย์และพยาบาลจะลดข้อขัดแย้งได้ดีทีเดียว

ขอบคุณมากครับ...

ผมก็คิดเหมือนกันว่าน่าจะเป็นหน้าที่ของหมอหรือพยาบาลมากกว่า...

ขอบคุณอีกครั้งครับ...

ดิฉันมีเรื่องสงสัย....ขออนุญาตถามนะค่ะ

จากกรณีศึกษา...จะมีผู้ป่วยคนหนึ่งมาใช้บริการซึ่งพยาบาลก็ถามขึ้นมาว่าเป็นอะไร เคยมีบัตรหรือยัง ผู้ป่วยก็บอกว่ายังไม่มี พยาบาลจึงบอกให้ไปกรอกข้อความโดยชี้มือไปที่โต๊ะริมห้องโถงบริเวณที่รอตรวจและบอกว่าไปที่โต๊ะโน้นนะแล้วก็ไม่ได้อธิบายอะไร ผู้ป่วยไม่รู้จะทำอะไร เนื่องจากอ่านหนังสือไม่ออก เขียนก็ไม่ได้

....ดิฉันอยากทราบว่า การปฏิบัติของพบาบาลที่มีความสอดคล้องกับข้อปฏิบัติเชิงวิชาชีพตามเงื่อนไขทางจริยธรรมหรือไม่ อย่างไรค่ะ แล้วควรมีข้อพึงปฏิบัติอย่างไรบ้างค่ะ...ขอแสดงความนับถือนะค่ะ

การปฏิบัติของพบาบาลที่มีความสอดคล้องกับข้อปฏิบัติเชิงวิชาชีพตามเงื่อนไขทางจริยธรรมหรือไม่ อย่างไรค่ะ แล้วควรมีข้อพึงปฏิบัติอย่างไรบ้างค่ะ

จริยธรรมวิชาชีพมีข้อหนึ่งกล่าวว่า  พยาบาลต้องทำสิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อผู้ป่วย   จากกรณีศึกษาการกระทำของพยาบาลไม่เกิดประโยชน์แก่ผู้ป่วย  ถ้าผู้ป่วยไม่ได้รับการตรวจโรคแล้วมีอาการป่วยรุนแรงขึ้นนับได้ว่าพยาบาลทำสิ่งที่เป็นอันตรายต่อผู้ป่วยปัญหาจริยธรรมที่เกิดขึ้นเพราะการสื่อสารของพยาบาลที่มีสาเหตุจากการไม่ไช่จิตเอื้ออาทรในการบริการ  การให้ข้อมูลน้อยเกินไปไม่ตรงกับความต้องการของผู้ป่วยสามารถ   แต่ตรงกับความรับผิดชอบของพยาบาลและระบบบริการของโรงพยาบาล  ผู้ป่วยไม่รู้จะทำอะไร เนื่องจากอ่านหนังสือไม่ออก เขียนก็ไม่ได้    พยาบาลต้องเพิ่มทักษะการให้บริการโดยการมีจิตอาสาและช่วยเหลือ  ควรสังเกตว่าผู้ป่วยต้องการความช่วยเหลืออะไรเพิ่มเติมหรือถามว่า "ต้องการให้ช่วยเหลืออะไรอีกไหมคะ"  น่าจะมีคำพูดติดปากพยาบาลว่า"ต้องการให้ช่วยเหลือเรื่องอะไรไหมคะ" เหมือนพนักงาน 7-11 ที่ถามว่า  "จะรับซาละเปาเพิ่มไหมคะ"  แต่พยาบาลจะถามว่า"จะรับโรคอะไรเพิ่มไหมคะ"  คงจะไม่ดี   จริงไหมคะ  (มีอารมณ์ขันวันละนิดจิตแจ่มใส)        ครูยินดีให้บริการวิชาการคะ

อยากทราบข้อมูลดังนี้

บทนำเรื่องจรรยาบรรณวิชาชีพพยาบาล

กฎหมายวิชาชีพพยาบาลที่เกี่ยวข้อง

ข้อดี ข้อเสีย

ทุกอย่างที่เกี่ยว กับจรรยาบรรณวิชาชีพพยาบาล

กรุณาติดต่อกลับที่เบอร์ 0871025724

หลังส่งข้อมูลให้เรียบร้อย

ภายในวันที่ 5 ตุลาคม 2551

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท