วิมานดิน ศิลปะที่ใครก็สามารถ


จะว่าเป็นไปตามกระแสของเรื่องราวการสร้างบ้านดิน ของคุณโจน จันได และชุมชนมั่นยืนหรือเปล่าก็ไม่ทราบเหมือนกันนะครับ แต่ที่แน่ๆกระแสดังกล่าวกำลังแผ่ขยายไปทั่วทั้งแผ่นดินไทย สำหรับคนที่ต้องการสร้างบ้าน ในราคาถูก(แทบไม่น่าเชื่อ) สามารถดีไซน์รูปแบบตามใจชอบด้วยมือและจินตนาการของผู้อยู่อาศัยเอง โดยผู้ที่ทำไม่จำเป็นต้องเป็นวิศวะกร สถาปนิก ช่างฝีมือ ช่างก่อสร้างแต่อย่างใด  เพราะลูกเด็กเล็กแดง ตาสีตาสา ก็ทำได้ แต่อย่างว่าก็ขึ้นอยู่ที่ความต้องการของผู้ที่อาศัยด้วยว่าต้องการรูปแบบสวยงามมั่นคงเพียงใด ถ้าอยากได้แบบมาตรฐานหน่อยอาจจะปรึกษาช่างฝีมือด้วยก็ได้ เป็นการประยุกต์รูปแบบกันได้ ไม่เสียหาย     

ที่จังหวัดพิจิตร ก็กำลังได้รับความสนใจกันอยู่พอสมควร วันนี้จึงนำภาพกิจกรรม "ผ้าป่าฝ่าเท้า" ที่พาเด็กๆมาร่วมเรียนรู้ สัมผัสดิน เติมแต่งจินตนาการ  ที่บ้าน "คุณหนุ่ม" ต.ท่าเสา อ.โพทะเล ซึ่งเป็นอาสาสมัครของมูลนิธิร่วมพัฒนาพิจิตร เกิดปิ๊งไอเดียไปขายความคิดให้แม่ทำ (ย้ำว่าแม่ทำนะครับ) เพราะเป็นหัวเรือหลักเห็นว่าคุณหนุ่มสนใจจริง จึงเริ่มย่ำทำก้อนดิน ก่อรูปขึ้นโครงเองในช่วงที่คุณหนุ่มมาช่วยงานที่มูลนิธิฯ (แต่พอกลับบ้านคุณหนุ่มก็จะไปช่วยแม่ทำต่อ)   แม่หนุ่มเล่าให้ฟังว่า คนขับรถผ่านไปผ่านมาเห็นแม่ทำอยู่คนเดียวก็สงสัยว่าทำอะไร ส่วนใหญ่ก็จะไปถามบ้านเรือนเคียง ไม่ถามตรงๆ  พอรู้ว่าตั้งใจทำบ้านดิน ก็เกิดคำถามตามมาอีกมากมาย ส่วนใหญ่ก็จะสงสัยว่ามันจะคงทนถาวรรึ!!! โดนฝน โดนแดดเดี๋ยวก็ละลายพังลงมาละมั้ง   แม่หนุ่มก็พยายามอธิบายให้เขาเข้าใจว่ามันมีกระบวนการทำ คนที่เค้าทำสำเร็จแล้วอย่างคุณโจน จันได ก็บอกบ้านดินอยู่ได้กว่า 80 - 100 ปี (ก็ชั่วชีวิตคนๆหนึ่งหล่ะครับ) อย่างไรก็ตามถ้าบ้านยังไม่เสร็จก็คงยังไม่มีใครเชื่อ รอให้ถึงวันนั้นก่อน คิดว่าคนที่สงสัยก็คงจะเข้าใจ

กิจกรรมครั้งนี้ คุณหนุ่มได้ประสานกับ "คุณครูสุวัฒน์"  พาเด็กๆมาจากโรงเรียนวัดบ้านหนองดง ต.ท่าเสา อ.โพทะเล จ.พิจิตร มาร่วมทำกิจกรรม ประมาณ 20 คน เป็นเด็กชั้น ป.5 - ป.6     คุณหนุ่มให้ผมมาช่วยทำกระบวนการ ถ่ายรูป ถ่ายวีดีโอ แล้วก็เล่นกับเด็กๆ 

ช่วงระหว่างที่เด็กๆทำการย่ำดิน ทำก้อนดินอย่างสนุกสนาน ผมก็ได้มาพูดคุยกับคุณครูสุวัฒน์ นอกรอบ ฟังข้อมูลจากครูสุวัฒน์ แล้วอดสงสารเด็กๆไม่ได้เลยนะครับ ครูสุวัฒน์ เล่าว่า .....เด็กๆที่มา 20 คนนี้ ล้วนแต่เป็นเด็กมีปัญหาทางครอบครัวเป็นส่วนใหญ่ (มีเพียงคนเดียวที่ครอบครัวอบอุ่น)   คือ บ้างก็ไม่มีพ่อ บ้างก็ไม่มีแม่ บ้างก็ยากจน อยู่บ้านกับตากับยาย พ่อแม่ไปทำงานกรุงเทพฯ กันเกือบหมด แต่ว่าเด็กๆเหล่านี้มีพรสวรรค์ทางด้านศิลปะมากทั้ง วาดภาพ เล่นดนตรีไทย (เล่นได้ทุกคนเสียด้วย)....      หลังจากพูดคุยกับครูสุวัฒน์เสร็จ ผมก็เลยมาเล่นดินกับเด็กๆ พูดคุยหยอกล้อ สร้างความสนุกสนานกัน อย่างน้อยก็ได้เห็นรอยยิ้มเด็กๆ บ้างก็ยังดี แม้ว่าจะเป็นแค่ช่วงระยะเวลาสั้นๆก็ตาม   หลังจากทำกิจกรรมกันเสร็จและได้เวลาจะกลับบ้าน ผมกับคุณหนุ่ม และก็ครูสุวัฒน์ ได้ถามความคิดเห็นจากเด็กๆแต่ละคนว่าที่มาร่วมกิจกรรมเป็นยังไงบ้าง? สนุกมั้ย? อยากร่วมกิจกรรมอย่างนี้อีกหรือเปล่า?   ซึ่งเด็กๆต่างตอบเป็นเสียงเดียวกันว่า .....อยาก!!!!!!.... มาแล้วได้ความรู้เรื่องบ้านดิน ได้เล่นกับเพื่อนๆ สนุกด้วย คุณครูก็ใจดี เอามะม่วงในสวนมาเลี้ยงด้วย... ว่าแล้วคุณหนุ่มก็ตบท้ายด้วยการให้ความหวังกับเด็กๆว่าถ้าบ้านดินเสร็จแล้วจะพากันมาเลี้ยงขึ้นบ้านใหม่ด้วยกันนะ       

 

 

 

 

 

 

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 80213เขียนเมื่อ 23 กุมภาพันธ์ 2007 11:29 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:50 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (11)
  • เป็นเรื่องดี ๆ ที่น่าสนใจ
  • นี่เป็นครั้งแรกที่ผมได้เห็นบรรยากาศของบ้านดิน...
  • พลันนึกถึงนวนิยายหลายเรื่องของจีนที่มีบ้านในทำนองนี้...
  • บ้านดิน...เป็นเรื่องที่น่าสนใจจริง ๆ ครับ

คุณแผ่นดินครับ

เป็นกิจกรรมสนุกๆครับ และคงตามที่คุณโจน จันได กล่าวไว้ว่า บ้านดินก็แค่เป็นเครื่องมือหนึ่ง ในการใช้ชีวิตแบบพึ่งพาตนเองได้ แต่เป็นจุดเริ่มต้นสำหรับการขยายไปสู่เรื่องอื่นๆ เช่น เรื่องอาหาร ยารักษาโรค เสื้อผ้า ทำอยู่ทำกินอย่างพอเพียง  

ทำไปเล่นไป สนุกๆกับเด็กๆเปิดพื้นที่โอกาสให้เด็กได้สัมผัสกับวิถีชีวิตใกล้ตัวที่กำลังถูกกลืนกินไปทุกชั่วขณะ

ผมสนใจ เรื่องการทำบ้านดินครับ

และ มีโอกาส อยากชวน พรหมลิขิต มาทำกระบวนการแบบนี้ให้กับเด็กที่แม่ฮ่องสอน

ชวนไว้ก่อนนะครับ

อาจารย์เอกครับ

เป็นเกียรติอย่างยิ่งเลยครับ เพราะผมเองก็อยากเจออาจารย์ด้วย แหมถ้าไปจริงๆเรื่องบ้านดงบ้านดินคงไม่ค่อยสนใจเท่าไรแน่เลยครับ  คงมานั่งจ้อพูดคุยกันมากกว่าแน่นอนเลย  เป็นไปได้อยากไปตั้งแค้มป์นอนที่นู้น (อ.ปาย แม่ฮ่องสอน) สัก 3 - 4 วัน น่าจะดีนะครับอาจารย์

ยินดีครับ...

ผมก็ว่านะ เวลามาก็คงได้แต่คุยกันมั้งครับ..

อ.ปายมีจุดที่น่าสนใจหลายๆจุดให้เราได้เที่ยวได้เรียนรู้กัน คิดว่า พรหมลิขิต จะชอบครับ

  • ในวันขอบคุณนักกิจกรรมที่ผ่านมาเมื่อคืนนี้
  • ผมเล่าเรื่องบ้านดินให้นิสิตฟัง  โดยอาศัยเรื่องราวจากบันทึกนี้
  • นิสิตให้ความสนใจไม่น้อย  คิดว่าน่าจะชวนให้เขาศึกษาให้ลึกขึ้น  อย่างน้อยก็เป็นความรู้ประดับปัญญาของเขาเอง
  • ขอบคุณครับ
สวัสดีค่ะ เป็นกิจกรรมที่น่าสนุกดีนะคะ เห็นเด็กๆย่ำโคลนแล้วพลอยรู้สึกสนุกไปด้วย เป็นการยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียงเลยนะคะ ตอนนี้กำลังหาผู้สูงอายุที่ไม่มีที่อยู่อาศัย ขาดคนดูแล เพื่อสร้างที่อยู่อาศัยให้ โดยใช้งบประมาณของศูนย์พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ จะลองเสนอบ้านดินดูเกิดเขาสนใจ สัวสดีค่ะ

p' pia  ครับ

การทำบ้านดินไม่ยากอย่างที่คิดนะครับ ใช้งบประมาณน้อย แทบไม่น่าเชื่อ แต่อย่างว่าแหล่ะครับมันไม่มีอะไรได้มาอย่างง่ายดายเสียเลยทีเดียว เพราะสูตรสำเร็จไม่ได้อยู่ที่เทคนิควิธีการ แต่อยู่ที่ "ใจ"  รัก อดทน อยากเห็นบ้านดินที่ปั้นด้วยตัวเอง มั๊กม๊ากกกก  เพื่อไม่ให้ลดทอนความตั้งใจ ให้เริ่มต้นด้วยหลังเล็กๆ เทคนิคง่ายๆก่อน แล้วค่อยขยับเป็นบ้านหลังใหญ่อาศัยได้  เพราะเห็นว่าพี่ทำงานที่เกี่ยวพันกับเด็กๆ และผู้สูงอายุด้วย มาช่วยกันย่ำดิน ทำอิฐดิน น่าจะสนุกดีนะครับ และเป็นสิ่งแปลกใหม่ให้หมู่บ้านได้เห็นกิจกรรมดีดีด้วย  ที่สำคัญคนที่ย่ำดินยังสุขภาพดีเพราะเท้าสัมผัสดินเป็นประจำ (ในแง่ทางวิทยาศาสตร์น่าจะอธิบายได้นะครับ ลองค้นหาดู)  ทดลองดูนะครับ

 

ผมขอเสริมคุณพรมลิขิตนะครับ....บ้านดินยังดึงเอาชุมชนหรือครอบครัวมาสร้างกิจกรรมร่วมกันได้อย่างมีความสุขด้วยนะครับ...ซึ่งที่คุณพรมลิขิตได้เขียนนั้นเป็นที่บ้านพรมเองครับซึ่งผมได้จัดอบรบให้ให้กับเด็กๆแล้วเห็นภาพที่น่าประทับใจหลายๆสิ่งหลายๆอย่างอย่างที่ไม่เคยเห็นมาก่อนเลยนะครับ...

.....นายแน่มาก วันหน้าจะเข้าไปช่วยถ้ายังไม่เสร็จ.. เผื่อเขาไล่ออกจากราชการ จะได้มีบ้านที่อยู่อาศัยเอง..

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท