เทคนิคการแพทย์
เทคนิคการแพทย์ สถาบันบำราศนราดูร

การผจญภัยของเลือดHIV-positive_2(การขนส่ง)


โดยไม่รู้ตัวเลยว่าสิ่งที่ตนประคับประคองทะนุถนอมมาตลอดทางนั้น อานุภาพเปรียบได้ดัง อาวุธชีวภาพ ดีๆนี่เอง
ตอนที่ 2 .........เดินทางไกล........

        แววตาของญาติ แสดงออกถึงความกลัว ทักทายด้วยเสียงสั่นๆ คุณศิริรัตน์จึงเริ่มด้วยการแนะนำตัวเอง เพื่อสร้างความคุ้นเคยและลดอาการสั่น ก่อนที่จะถามถึงที่มาที่ไป       

ญาติจึงเริ่มเล่าว่า

          ขณะที่ตนนอนเฝ้าพี่ชาย   ã ตามปกติ ประมาณ 6 โมงเช้า ได้มีพยาบาลมาปลุก บอกว่า จะเจาะเลือด

 

          เมื่อเจาะเสร็จ ก็เอา หลอดเลือด ใส่ถุงซิปพลาสติก แถมใส่ น้ำแข็ง หยิบมือนึง แล้วส่งมาให้ พร้อมใบส่งตรวจ CD4 และใบส่งตัว โดยระบุที่ส่งต่อคือ บำราศฯ แต่กลับบอกให้ญาติเอาไปส่งที่ สถาบันโรคทรวงอก      

 

         แต่ไม่รู้ว่าเป็นเพราะคุณพยาบาล เข้าใจผิด  หรือ หวังดี

กลัวว่าญาติจะไปไม่ถูก จึงบอกสถานที่ส่งเลือดผิดไป   

       พอฟังเสร็จ ก็เอาถุงเลือดใส่ถุงยาอีกที แล้วออกเดินทางที่เวลา 7 โมง โดยที่ในใจก็เริ่มสงสัย!?! เพราะจำได้ว่าหมอเคยบอกว่า ให้ส่งบำราศฯ    

        เริ่มจากโรงพยาบาล ต้องเข้าตัวจังหวัดก่อน เพื่อต่อรถ v ต่อไปยังอู่รถเมล์สาย 33 เพื่อข้ามเข้าสู่จังหวัดนนทบุรี ระหว่างทางกลัวว่าน้ำแข็งก้อนน้อยจะละลาย จึงแวะซื้อ น้ำแข็ง ข้างทาง  

      หลังข้ามจังหวัดมาแล้ว ก็ต้องนั่งรถสองแถวเข้าโรคทรวงอก    

เมื่อรู้ตัวแล้วว่าไม่ใช่ เลยรีบซ้อน  Œมอเตอร์ไซค์รับจ้าง บึ่งมาบำราศฯ    

     จนมากดบัตรคิวได้ที่เวลา 9.36 น.

   

      โดยไม่รู้ตัวเลยว่าสิ่งที่ตนประคับประคองทะนุถนอมมาตลอดทางนั้น อานุภาพเปรียบได้ดัง อาวุธชีวภาพ ดีๆนี่เอง 

       

      ในทางปฏิบัติ จะมีเจ้าหน้าที่ขนส่งเลือดจากโรงพยาบาลเครือข่าย กว่าจะส่งเลือดกันได้นั้น ต้องห่อกันถึง 5 ชั้น ดังนี้      

   ชั้นที่ 1 นำหลอดเลือดใส่ซองพลาสติก แยก 1 หลอด / 1ซอง

        เพื่อ ป้องกันการกระแทกกัน แตก       

      

               ชั้นที่ 2 เอาหลอดที่ห่อแล้วมามัดรวมกัน ห่อด้วยทิชชู            

                                  เพื่อ  เป็นตัวดูดซับเลือดถ้าเกิดการรั่ว

                     ชั้นที่ 3 เอาถุงซิปพลาสติกใบใหญ่มาสวม       

                                             เพื่อ ถ้าเกิดรั่วจะได้แต่อยู่ในถุง ไม่กระเด็นไปสู่คนอื่น

                                         ชั้นที่ 4 ห่อด้วยพลาสติกกันกระแทก

                                                        เพื่อ ลดแรงกระแทกไม่ให้ไปถึงหลอด ในกรณีรถเกิดอุบัติเหตุ

                                                    

                                                    ชั้นที่ 5 ใส่กระป๋องพลาสติก

  เพื่อ เป็นฉนวนกันความร้อนและเย็นจากภายนอก

และหุ้มทุกอย่างให้อยู่อย่างปลอดภัย

แล้วใส่ในกระติกน้ำแข็ง ที่มี ก้อนน้ำแข็งพลาสติก

ที่ต้องทำขนาดนี้ก็เพื่อ

          1.   รักษาอุณหภูมิขณะส่ง  เพราะต้องรักษาอุณหภูมิตลอดการส่ง ให้ได้ประมาณห้องที่เปิดแอร์แรงๆ (16-22˚C) 

        2.      ป้องกันหลอดเลือดแตก เพื่อป้องกันความเสี่ยงต่างๆ ที่เกิดจากการแพร่เชื้อสู่สาธารณะได้ (คนที่อยู่รอบข้างไม่ให้ติดเชื้อนี้)

 เพราะสิ่งเหล่านี้สามารถควบคุมได้ หากมีมาตรการและใช้อุปกรณ์ที่เหมาะสม และระบบการประสานงานระหว่างโรงพยาบาล และที่สำคัญที่สุดคือ ระหว่างบุคลากรทางการแพทย์กับผู้ป่วย เพื่อไม่ให้เกิดเหตุการณ์ที่เหนือความคาดหมาย อย่างเช่นเรื่องนี้

........................................................................................................................................................... ต่อไปนี้จะถึงจุด Climax ของเรื่องนี้คือ จะบอกญาติอย่างไร”                                           

        ---โปรดรอพบกันกับตอนต่อไป---                       

  บันทึกโดย ...Sunny...     เด็กใหม่ ต.8/5          

หมายเลขบันทึก: 80128เขียนเมื่อ 22 กุมภาพันธ์ 2007 21:47 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 มิถุนายน 2012 17:23 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ชอบมากครับ ขอนำบทความนี้ไปเผยแพร่ ที่เว็บไซต์และจุลสารสมาคมเทคนิคการแพทย์ได้หรือไม่ครับ

ตอบเมล์กลับด้วยนะครับผม

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท