เป้าหมายที่แท้จริงของ KM


เป้าหมายของการจัดการความรู้ จะต้องอยู่ที่ "ตัวงาน" เป็นสำคัญ มุ่งเน้นไปที่การกระทำ หรือ "To Do" มากกว่าที่จะไปติดอยู่แค่ "To Know"

คำว่า "จัดการความรู้" มักจะทำให้ "มือใหม่" หลายท่านเข้าใจผิด   ไปยึดติดอยู่กับ "ตัวความรู้" จนลืมเป้าหมายที่แท้จริงของการทำ KM มักจะมองเรื่อง "การจัดการ" ในลักษณะที่เอา "ความรู้เป็นตัวตั้ง"   ซึ่งทำให้ผลผลิตของการจัดการความรู้ในทำนองนี้มีเป้าหมายอยู่ที่การสร้าง "คลังความรู้ (Knowledge Asset)" เป็นหลัก

เป้าหมายของการจัดการความรู้ จะต้องอยู่ที่ "ตัวงาน" เป็นสำคัญ  มุ่งเน้นไปที่การกระทำ หรือ "To Do" มากกว่าที่จะไปติดอยู่แค่ "To Know" สามารถเห็นได้ชัดเจนว่า การสร้าง การใช้ และการเผยแพร่ความรู้นั้น เป็นเพียงส่วนหนึ่งของกระบวนการ KM   มิใช่เป้าหมายสุดท้ายอย่างที่เข้าใจกัน  

KM ที่ได้ผลจึงมีเป้าหมายอยู่ที่ผลสัมฤทธิ์ของงาน   ผมจินตนาการไปว่า ...ถ้าท่านอาจารย์พุทธทาสมีชีวิตอยู่   ท่านคงจะใช้คำพูดในทำนองที่ว่า "ใช้ความรู้ทำงานนะโว้ย!"  เพื่อ Shift Paradigm พวกบูชาหรือบ้าความรู้ทั้งหลาย ให้เข้าใจเป้าหมายที่แท้จริงของการทำ KM ซะที  ดีกว่าปล่อยให้ไปผิดทาง!

คำสำคัญ (Tags): #knowledge#management
หมายเลขบันทึก: 7977เขียนเมื่อ 24 พฤศจิกายน 2005 22:15 น. ()แก้ไขเมื่อ 4 มิถุนายน 2012 10:47 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)
ชัดมากครับ เอาความรู้ไปทำงาน เอาการทำงานให้เกิดผลต่อลูกค้าหรือประชาชน
เห็นด้วยกับอาจารย์ประพนธ์และคุณหมอพิเชษฐ์ และมีข้อสังเกตเพิ่มเติมว่าความรู้เพื่อการทำงานนี้ บางทียังไม่ต้องเรียกชื่อความรู้ให้ชัดๆ เลย แต่เอาไปใช้ได้

ขออนุญาต ขอโอกาส

เรื่องตัวรู้นี้    ที่ดีกว่ารู้งาน คือ รู้กาย รู้เวทนา รู้จิต รู้ธรรม

KM ที่ส่งจิตออกนอก   อันตรายมาก  เพราะ ขาดสติ

 

 

รู้ แบบนี้ คือ มหาสติปัฏฐาน ๔   อันเป็น ทางสายเอก 

รู้ภายในตน   ก็จะรู้ทั้งหมด  

 

การจัดการความรู้ตามความหมายนี้ออกจะต่างกับแนวคิดที่ญาณวิทยา ที่มุ่งเน้นไปที่ตัวความรู้

นางสาวปราณี โลหิตา 2472101753

ข้าพเจ้าคิดว่า  KM   มีเป้าหมายเพื่อเป็นองค์กรเรียนรู้  การปรับเปลี่ยนวัฒนธรรมองค์กรและการสร้างและใช้ความรู้ในการปฏิบัติงาน   มีการเรียนรู้ร่วมกันและแลกเปลี่ยนการเรียนรู้   ส่วนในแง่ของบุคคลในหน่วยงาน  เช่น  ถ้าเป็นหน่วยงานของรัฐก็จะเป็นข้าราชการเป็นบุคคลเรียนรู้  ควรมีภาวะผู้นำและสามารถเรียนรู้จากผู้อื่น  ซึ่งอาจจะเป็นเพื่อนร่วมงานหรือผู้ใช้บริการ

    ซึ่งเหตุผลที่แต่ละองค์กรต้องมี  KM   ก็เพราะสังคมมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในด้านความรู้  เทคโนโลยี  ซึ่งส่งผลต่อบุคลากรจำเป็นต้องเรียนรู้และพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง  การลดขนาดของหน่วยงาน    การจำกัดอัตรากำลังคน  ทำให้ความรู้และประสบการณ์ส่วนหนึ่งของหน่วยงานขาดหายไป   บุคลากรที่เหลืออยู่จำเป็นต้องรักษาและพัฒนาความรู้ของหน่วยงานต่อไป  รวมทั้งแสวงหาความร้ใหม่  ๆ  ในเวลาที่น้อยลงและการบริการมีลักษณะใช้ความรู้มากขึ้น  การปรับเปลี่ยนเป็นบริการที่มีลักษณะฉลาด   รวมทั้งความรู้เป็นการได้เปรียบทางการแข่งขันและนำไปสู่ความสำเร็จของหน่วยงานและสุดท้ายเป็นเพราะกระแสโลกาภิวัตน์ที่เปิดโอกาสให้สามารถเลือกบริการได้

คุณปราณี เขียนได้ดี แสดงว่าเข้าใจเรื่อง KM ...ไม่ทราบว่าเปิด blog หรือยังครับ ....ถ้ายัง ...เชียร์ให้เปิดนะครับ จะได้แชร์ได้เต็มที่ เรื่องอะไรก็ได้ครับ ไม่จำเป็นต้องเป็นเรื่อง KM เท่านั้น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท