02 Quantam Physics and Relativity


ธาตุทั้ง๔อันเป็นพื้นฐานของPhysics นั้น มีลักษณะแห่งสัมพัทธภาวะอยู่ด้วย คือ มันไม่อาจแยกขาดจากกันได้ มีความต่อเนื่องสัมพันธ์กัน ด้วยลักษณะแห่งการเปรียบกัน อิงอาศัยกันเกิดขึ้น.
Quantum Physics and Relativity.

กล่าวถึงเรื่องระดับควันตัม ก็คือ การพิจารณาไปในเชิงละเอียด ซึ่ง จากที่ได้อ้างถึงหน่วยพื้นฐานทางรูปทั้ง๔อย่างนั้นแล้ว ก็จะเห็นธาตุทั้ง๔นี้ ไปในทุกระดับ ไม่ว่าจะพิจารณาไปในมุมกว้างใหญ่ไพศาลด้วยขนาด และเล็กละเอียดแบบควันตัมก็ตาม.

ดังที่ได้กล่าวไว้แล้วว่า ธาตุทั้ง๔อันเป็นพื้นฐานของPhysics นั้น มีลักษณะแห่งสัมพัทธภาวะอยู่ด้วย คือ มันไม่อาจแยกขาดจากกันได้ มีความต่อเนื่องสัมพันธ์กัน ด้วยลักษณะแห่งการเปรียบกัน อิงอาศัยกันเกิดขึ้น.

เหมือนอย่างว่า ในก้อนหินหรือก้อนดินขนาดเท่ากำมือเรานี้ ซึ่งเรามองเห็นมันปรากฏโดยความเป็นปฐวีธาตุนั้นเอง เมื่อเราพิจารณาลงไปในเชิงละเอียด เชิงหน่วยพื้นฐานของมัน ก็จะเห็นกลุ่มก้อนแห่งสารประกอบ เกาะกันอยู่เป็นกลุ่มๆ เชื่อมโยงกันอยู่ภายในก้อนหินก้อนดินนั้น.

ถามว่า กลุ่มเกล็ดหรือผลึกแห่งสารประกอบเหล่านั้น ทำไมยังอยู่รวมกันในก้อนใหญ่ได้ โดยไม่แตกแยกออกเป็นชิ้นใครชิ้นมัน โดยอิสระจากกัน. เขาก็อธิบายว่า มีแรงยึดเหนี่ยวดึงดูดระหว่างผลึกไว้ ด้วยแรงแห่งขั้ว แรงแห่งแม่เหล็กหรือแรงดึงดูดระหว่างมวลก็ดี ทำให้เกิดความปรากฏประหนึ่งว่า มีแรงหลายแรงทำหน้าที่ยึดเหนี่ยวเกล็ดเหล่านั้นไว้ แต่แรงทั้งหมดเหล่านั้น โดยที่แท้ ไม่ได้แตกแยกกัน ทั้งหมดนั้นคือแรงอันเดียวกันที่เรียกรวมๆว่า อาโปธาตุ แต่คนสังเกต มีทฤษฎีต่างกัน จึงเพ่งพิศอาการต่างกัน จึงเรียกชื่อมันไปต่างๆกัน.

จะเห็นว่า ในระดับละเอียดลงไปจากก้อนหินและก้อนดินนั้นเอง ก็มีเกล็ดเล็กๆเชื่อมโยงกันไว้ด้วยอาโปธาตุ.

ก็เมื่อซักไซ้ไล่เลียงต่อไปว่า แล้วอาโปธาตุนั้น เกิดขึ้นได้อย่างไร? ความยึดเหนี่ยวกันนั้น มันมาจากไหน? หากว่าขยายเกล็ดเหล่านั้นขึ้นให้เห็นช่องว่างระหว่างเกล็ดอย่างชัดเจน แล้วสังเกตดู ก็จะเห็นเกล็ดเหล่านั้นเคลื่อนไหวกลับไปกลับมา ไม่อาจหนีออกจากกันได้ ทำให้เกิดอาการเหมือนจะดูดกันก็ไม่ใช่ เหมือนจะผลักกันก็ไม่ใช่ ซึ่งผลรวมที่สมดุลของสองอาการนั้น ก็คือสิ่งที่เรียกว่า อาโปธาตุ. ก็จะเห็นว่า อาโปธาตุนั้นล่ะ อาศัยวาโยธาตุเกิดขึ้น หากว่าก้อนหรือเกล็ดผลึกเหล่านั้นไม่มีการเคลื่อนไหวไปมา การดึงดูดระหว่างกันก็ไม่ปรากฏ คือ หากมันเคลื่อนไปในทิศเดียวไปเลย มันก็จะกระจัดกระจายไป แต่นี้ มันจะเคลื่อนไปทางใดทางหนึ่งเลยก็ไม่ใช่ แต่มันเคลื่อนกลับไปกลับมา เหมือนพฤติกรรมคลื่น จึงเกิดผลของการรักษาสภาพ.คลื่นคือพฤติกรรมของอาโปธาตุ

และจะเห็นว่า คลื่น เกิดขึ้นในสิ่งที่มีอาโปธาตุเท่านั้น สิ่งใดไม่ปรากฏอาโปธาตุ สิ่งนั้นจะไม่ปรากฏพฤติกรรมของคลื่น. อย่างไร?

เหมือนอย่างว่า ในทะเล ที่ผิวน้ำนั้น เรือแล่นไปที่ผิว ก็เกิดคลื่นที่ผิวน้ำ เพราะน้ำมีอาโปธาตุปรากฏเด่น. ไม่ใช่แต่เท่านั้น หากว่าตาดีไปกว่านั้น มองดูในอากาศ ซึ่งมีอาโปธาตุบางเบากว่าในน้ำ ก็จะเห็นได้ว่า พฤติกรรมของอนุภาคในอากาศ จะกระจายตัวออกในลักษณะคลื่นเช่นกัน และเป็นไปโดยรอบลำเรือนั้นด้วย ไม่ใช่เป็นแต่เฉพาะในระนาบแบนๆ

ลักษณะของคลื่นคือ มีการบีบอัดและผ่อนคลายของกลุ่มอนุภาค.

จินตนาการให้ง่ายกว่านั้น เหมือนอย่างเรือดำน้ำ แล่นไปในน้ำลึก เมื่อมันแล่นไปอยู่ มีน้ำเลี้ยงอยู่โดยรอบ น้ำโดยรอบลำเรือจะถูกแหวกออกด้วยแรงลม ลมนั้นแล่นกระทบอนุภาคของน้ำ(อนุภาคพื้นฐานของน้ำนั้นหรือโมเลกุลของน้ำนั้นคือปฐวีธาตุ) ก็จะถูกแรงลมกระทบ แล้วแล่นไหวไป กระทบอนุภาคที่อยู่ถัดห่างจากลำเรือออกมาโดยลำดับ.

ก็แต่ว่า ในระหว่างอนุภาคเหล่านั้นเอง ก็มีอาโปธาตุอันละเอียดยิ่งกว่า แทรกซึมอยู่ ซึ่ง ทำให้ความเร็วในการพัดไปของวาโยธาตุเป็นไปไม่สม่ำเสมอกัน ที่เขาเรียกว่า การเสียพลังงานในระหว่างการเคลื่อนที่หรือการส่งไปของพลังงาน มันจะถูกหน่วงไว้บางส่วนในน้ำอันเลี้ยงอนุภาคเหล่านั้นไว้.

อนุภาคนั้นเคลื่อนไปด้วยแรงลม แล้วกระทบกัน ส่งต่อกัน แล้วแล่นหนีไม่ทัน ก็อัดกันเอง เมื่ออัดกันเอง มันก็เกิดการสะสมแรงลมที่กระแทกมาด้วยกำลังเท่านั้นล่ะ เป็นครั้งที่สองทื่สามสี่ห้า ก็สะสมแรงลมได้มากขึ้น มันก็ส่งกระแทกอนุภาคถัดๆกันไป จึงเกิดปรากฏการณ์การบีบอัดและการผ่อนคลายของกลุ่มอนุภาค และเกิดยอดคลื่น คือ ช่วงที่อนุภาคอัดกันแน่นเข้า.

ทีนี้ เขากล่าวถึงคลื่นตามขวางกับตามยาว ที่แท้แล้ว มันไม่ได้ต่างกัน เพราะคลื่นทั้งหมดเป็นคลื่นสามมิติ ไม่ใช่สองมิติ. คือ มันแผ่ออกไปโดยรอบ.

ในผิวน้ำนั้นเอง ปรากฏคลื่นตามขวาง คือ เหมือนกับว่า อนุภาคของน้ำที่รับแรง มันแกว่งไปมา แต่โดยรวมแล้ว ก็แกว่งคลุมตำแหน่งเดิมของมันนั้นเอง. เขาก็ว่า มันเคลื่อนตั้งฉากกับทิศทางการเคลื่อนที่ของคลื่น.

ทำไมที่ผิวน้ำ มันจึงเกิดพฤติกรรมของยอดคลื่นชัด ก็เพราะว่า ตอนที่อนุภาคมันวิ่งไปตามแรงลม ตอนที่ลมอัดมันแน่น มันจะหนีไปในที่ว่างกว่า โปร่งกว่า คือ ทิศเบื้องบนผิวน้ำ ก็เลยปรากฏเป็นยอดคลื่นน้ำสูงขึ้น แต่ถ้าทั่วทั้งหมดนั้น โดยรอบ เป็นน้ำหมด มีแรงอาโปเท่ากันหมด อะไรจะเกิดขึ้น?

ก็ต้องบอกว่า อนุภาคนั้นจะเคลื่อนกลับไปกลับมาเท่านั้นเอง ในทิศทางตั้งฉากกับทิศทางของวัตถุที่วิ่งผ่านน้ำ. เหมือนอย่างเรือดำน้ำแล่นไป มันก็ปรากฏห้วงของคลื่นแผ่ออกโดยรอบ แต่ว่า คลื่นทางหน้าเรือกับหลังเรือไม่เท่ากัน ไม่เหมือนกัน เพราะด้านหน้ามีลมเรือเข้าไปอัด และหลังเรือ มีลมผลักเรือ ทำให้เกิดอาการเหมือนว่าง ที่ท้ายเรือจะเกิดคลื่นวน หน้าเรือจะเกิดการหนี.

อนุภาคที่ถูกลำเรือชนเข้า ก็กระเด็นออกจากที่เดิม ไปชนอนุภาคอื่นๆโดยรอบ.

แม้ในบรรยากาศของโลกเอง ซึ่งมีอนภาคที่บางเบากว่าในน้ำทะเล แต่มันก็มีอาโปธาตุอยู่เจืออยู่ทั่วไปในอากาศ เมื่อเครื่องบินแล่นผ่านไป มันก็เกิดปรากฏการณ์ของคลื่นในอากาศ.ไม่ใช่แต่เท่านั้น แม้แต่ที่ในอวกาศเอง มันก็ปรากฏว่ามีคลื่นเกิดขึ้น แต่ว่า อาโปธาตุมีบางเบากว่าในชั้นบรรยากาศ จึงยากจะสังเกตเห็นได้ จนแทบไม่มีผลกับก้อนปฐวีขนาดใหญ่เลย.

ถามว่า อาโปธาตุจะหนาแน่นหรือบางเบา ขึ้นอยู่กับอะไร? ก็ขึ้นอยู่กับขนาดของอนุภาค หากอนุภาคที่รวมกลุ่มกันอยู่ มีขนาดใหญ่ อาโปธาตุก็จะปรากฏชัด แต่ถ้ามันหนาแน่นกันหนักเข้า มันก็เป็นปฐวีงธาตุ. เพราะอย่างนี้ ปฐวีธาตุกับอาโปธาตุ จึงอาศัยกันและกัน.

ปฐวีธาตุ ก็คือ กลุ่มของปฐวีขนาดเล็กๆ ที่อยู่ใกล้ชิดกันมาก จนไม่เห็นอาการของคลื่นเลย.

อนุภาคขนาดเล็กในอากาศ

ก็แต่ว่า ในอากาศนี้ มีปฐวีธาตุขนาดใหญ่ เช่น โลก ดาวเคราะห์ ดวงอาทิตย์ ลอยอยู่ท่ามกลางอาโปธาตุ ซึ่ง ก็คือกลุ่มอนุภาคที่เล็กมากๆเมื่อเทียบขนาดกับดวงดาวเหล่านั้น นั่นคือ อาโปธาตุนั้น ที่แท้ก็คือปฐวีธาตุขนาดเล็กๆนั้นเอง ที่ประกอบไปด้วยวาโยธาตุมีการเคลื่อนไหวไปมาในช่องว่าระหว่างก้อนปฐวีใหญ่ๆนั้น. นี่เรียกว่า ลักษณะแห่งสัมพัทธภาพของธาตุ คือ โดยเนื้อแท้ ทุกสิ่งทุกอย่าง ไม่มีอะไรต่างกันเลย มันมาจากอันเดียวกันทั้งนั้น.

ทีนี้ แล้ววาโยเกิดจากอะไร? ก็เกิดจากปฐวีขนาดที่เล็กกว่าอาโปธาตุนั้นอีก ซึ่งอาศัยอยู่ในระหว่างช่องว่างของกลุ่มอนุภาคเล็กๆของปฐวีระดับอาโป. เรียกปฐวีระดับนี้ว่า เป็นวาโย คือ เพราะกลุ่มอนุภาคนี้เคลื่อนตัวไปกระทบกันและกัน ทำให้เกิดแรงมหาศาล ถ่ายทอดไปกระทบอนุภาคระดับอาโป ทำให้อนุภาคระดับอาโปเคลื่อนกลับไปกลับมาในระหว่างก้อนปฐวี ซึ่ง ก่อให้เกิดแรงกระทบก้อนปฐวี ทำให้อนุภาคที่อยู่ผิวปฐวีนั้น หลุดออกมาเป็นอาโปด้วยบ้าง และหรือ อนุภาคของอาโปนั้น เข้าไปรวมกับก้อนปฐวีบ้าง.

แล้วเตโชเกิดจากอะไร? ก็คือ ในระหว่างอนุภาคเล็กๆของอนุภาควาโยนั้นเอง ก็มีอนุภาคที่เล็กยิ่งไปกว่านั้น อยู่ระหว่างอนุภาควาโย เป็นตัวส่งกำลังไปยังอนุภาควาโย. ซึ่งโดยที่แท้ เตโชก็คือปฐวีระดับเล็กที่สุดนั้นเอง.

สัมพัทธภาพแห่งมหาภูตรูป

เมื่อเป็นอย่างนั้น จะเห็นว่า
ปฐวีนั้นล่ะ คือ อาโปที่หยาบขึ้น หนาแน่นขึ้น
ปฐวีนั้นล่ะ คือ วาโยที่หยาบขึ้น หนาแน่นขึ้นอย่างยิ่ง
ปฐวีนั้นล่ะ คือ เตโชที่หยาบขึ้น หนาแน่นขึ้น อย่างยิ่งอย่างยิ่ง. นี่คือสัมพัทธภาพแห่งปฐวีธาตุ.

อาโปนั้นล่ะ คือ ปฐวีที่ละเอียดบางเบาลง
อาโปนั้นล่ะ คือ วาโยที่หนาแน่นขึ้น หยาบขึ้น.
อาโปนั้นล่ะ คือ เตโชที่หนาแน่นขึ้น หยาบขึ้น อย่างยิ่ง. นี่คือสัมพัทธภาพแห่งอาโปธาตุ.

วาโยนั้นล่ะ คือ ปฐวีที่ละเอียดอย่างยิ่ง เบาบางอย่างยิ่ง
วาโยนั้นล่ะ คือ อาโปที่ละเอียด ที่บางเบา(กว่าอาโปมาตรฐาน)
วาโยนั้นล่ะ คือ เตโชที่หยาบขึ้น หนาแน่นขึ้น. นี่คือ สัมพัทธภาพแห่งวาโยธาตุ

เตโชนั้นล่ะ คือ ปฐวีที่ละเอียดอย่างยิ่งอย่างยิ่ง เบาบางอย่างยิ่งอย่างยิ่ง
เตโชนั้นล่ะ คือ อาโปที่ละเอียดอย่างยิ่ง บางเบาอย่างยิ่ง
เตโชนั้นล่ะ คือ วาโยที่ละเอียด และบางเบา (กว่าวาโยมาตรฐาน). นี่คือ สัมพัทธภาพแห่งเตโชธาตุ.

เมื่อพิจารณาโดยสัมพัทธภาพระหว่าง ปฐวี อาโป วาโย เตโช จะเห็นอาการที่ต่างกันว่า ปฐวีมีอาการหนาแน่น อาโปมีอาการหล่อเลี้ยงซึมซาบ วาโยมีอาการพัดไหว และเตโชมีอาการร้อนเย็น.

ก็เพราะในบรรดาธาตุทั้ง๔นี้ หากเทียบกันด้วยลำดับอย่างนี้ เตโชธาตุ เป็นธาตุที่ละเอียดสุด และจิตสามารถจะใช้งานมันได้ ท่านจึงเทียบกำลังแห่งฤทธิ์กันด้วยเดช คือ เตโชธาตุ.

Physics space
จินตนาการถึงอวกาศ ที่เป็นอากาศอย่างเดียวล้วนๆ ไม่มีเตโช วาโย อาโป หรือปฐวีธาตุเลย.

ต่อมา นำดวงอาทิตย์มาวางไว้ดวงเดียว ซึ่ง มีลักษณะเป็นก้อนปฐวีเป็นแกนกลาง. และมีลักษณะแห่งเปลวคือ กลุ่มอนุภาคขนาดเล็กพุ่งออกมาโดยรอบ หล่อเลี้ยงก้อนปฐวีนั้นไว้ เป็นอาโปธาตุ. และมีอาการพัดไปไหวไปแห่งเปลวเหล่านั้น พ้นออกไปจากเปลว พ้นออกไปจากก้อนปฐวีนั้น เป็นลักษณะของวาโยธาตุ. และที่ถัดจากอาณาเขตที่วาโยธาตุพุ่งไปถึง เป็นอาณาเขตที่เตโชธาตุแผ่คลุมอยู่ทั้งสิ้น.

พิจารณาโดยนัยแห่งขนาดอนุภาค หรือกลุ่มก้อน. จะเห็นส่วนที่เรียกปฐวีว่า มีขนาดใหญ่ที่สุด กระจุกอยู่ในพื้นที่แคบๆเป็นแกนกลาง.

เห็นอนุภาคระดับที่ก่อเปลวนั้น แทรกซึมหนาแน่นอยู่ทั่วอาณาบริเวณที่ปฐวีธาตุคลุมอยู่ คือ หากแยกย่อยก้อนปฐวีนั้นดู ก็จะเห็นกลุ่มอนุภาคของเปลวนั้นล่ะ อัดกันแน่น ไม่มีช่องว่าง แต่ว่า ในช่วงที่มันปรากฏเป็นเปลว หล่อเลี้ยงก้อนแข็งนั้นไว้โดยรอบนั้น ระยะห่างระหว่างอนุภาคเล็กๆเหล่านั้น มันห่างกว่าในอาณาเขตแข็งๆนั้น. อนุภาคขนาดเล็กเท่านั้น สมมติว่า อยู่ในระดับโมเลกุลหรืออะตอม เรียกว่า เป็นเขตแดนอาโปธาตุ ย่อมคลุมเขตแดนปฐวีธาตุไว้ด้วย.

ก็ในอาณาเขตที่พ้นจากกลุ่มอนุภาคที่มีขนาดอะตอมหรือโมเลกุลที่สมมติเรียกว่าแดนอาโป คือ แดนที่มีอาการหล่อเลี้ยงก้อนปฐวีไว้นั้นแล้ว ก็จินตนาการไปจนสุดเขต ก็จะเห็นอนุภาคที่ขนาดเล็กกว่าอะตอมหรือโมเลกุลในชั้นอาโปนั้นกระจายตัวอยู่ทั่วในเขตนั้น อาจจะเรียกว่าเป็นระดับ ควากส์ หรือ ควันตัม ก็แล้วแต่ นี่สมมติว่าเป็นอนุภาคพื้นฐานระดับวาโย.

ถัดเขตแดนแห่งวาโยนั้นออกไป เจืออยู่ทั่วไปในอวกาศ ปรากฏเป็นอนุภาคที่เล็กละเอียดกว่าควากส์หรือควันตั้มนั้นไปอีก เป็นอนุภาคพื้นฐาน เรียกว่า เขตแดนเตโช.

อันนี้ก็เป็นแต่เพียงสมมตินะครับ คุณแค้ทก็อย่าไปถือมั่นว่า มันมีเขตปฐวี อาโป วาโย เตโชเหมือนที่ว่า คือ ให้พิจารณาสอบกลับมาให้ครบรอบอย่างนี้ว่า

ธาตุปฐวีนั้น ไล่มาแต่จุดศูนย์กลางดวงอาทิตย์ ออกไปโดยรอบทุกทิศทาง จะเห็นความหนาแน่นของปฐวี และความละเอียดของปฐวี กระจายจากหนาแน่นไปยังบางเบาไปเรื่อยๆ. นี่เป็นเรื่องของปฐวี คือ ปฐวีหยาบๆ แทรกซึมไปได้ไม่มากเท่าปฐวีละเอียดๆ แต่เขตแดนของปฐวีนั้น ไม่ได้มีแน่นอน อากาศแผ่ไปถึงไหน ปฐวีแผ่ไปถึงนั่น.

ธาตุอาโปก็เช่นกัน คุณแค้ทลองพิจารณาไล่มาแต่จุดศูนย์กลางของดวงอาทิตย์ ก็จะเห็นอาโปธาตุหนาแน่นกว่าบริเวณที่เป็นเปลว และค่อยๆจืดจางออกไปเรื่อยๆ เจือไปตลอดอากาศ. ก็แต่ว่า เมื่ออาโปนี้ ทับซ้อนกันกับปฐวีเข้า ความปรากฏของอาโปธาตุในบริเวณั้นย่อมไม่มีแก่ผู้สังเกต เพราะปฐวีปกคลุมไว้ อาโปธาตุจึงเป็นสิ่งที่ซ้อนอยู่ภายในปฐวีเขตนั้น.

ธาตุวาโยก็เช่นกัน คุณแค้ทพิจารณาจากจุดศูนย์กลางดวงอาทิตย์ออกไปโดยรอบ ก็จะเห็นว่า วาโยธาตุที่จุดกึ่งกลางจะมีความรุนแรงกว่า และที่บริเวณโคนเปลว ไม่ปรากฏเป็นเปลวนั้น ย่อมมองไม่เห็นอาการพัดอาการไหว ทั้งๆที่มันมีความรุนแรงของวาโยกว่าตอนปลายเปลวเสียอีก. ความปรากฏของวาโยธาตุ ก็ปรากฏชัดที่อาการพัดไหวของเปลวนั้นเอง จึงรู้ว่า นี่ไงวาโยธาตุ. ทั้งๆที่แท้แล้ว วาโยธาตุ แผ่ออกไปโดยทั่วถึงทั้งอากาศ แต่มีความหนาแน่นและเบาบางลงไปโดยลำดับ ตามความหยาบใหญ่แห่งปฐวีธาตุ.

ธาตุเตโชก็เช่นกัน คุณแค้ทพิจารณาจากใจกลางดวงอาทิตย์ออกมา ก็จะเห็นว่า มันจะหนาแน่นที่สุด และค่อยบางเบามาเรื่อย คือ ในเขตอาโปก็มีเตโชบางกว่าในเขตปฐวี และในเขตวาโยก็มีเตโชบางกว่าเขตอาโป และพอเข้าเขตเตโชจริงๆ เจืออยู่ในอากาศ เหมือนไม่มีมันอยู่.ในเขตเตโชนั้นเอง จึงมีความปรากฏของเตโชธาตุเด่นที่สุด. ณ เขตเตโชนั้นเอง แม้ปฐวีมีอยู่ แต่เป็นปฐวีระดับละเอียดมาก มองไม่เห็นด้วยตา ด้วยเครื่องมือใดๆ แม้วาโยและอาโปมี ก็มองไม่เห็นเช่นกัน เพราะว่า วาโยและเตโช อาศัยปฐวีเป็นเครื่องเปรียบ เมื่อไม่เห็นปฐวี อาโปและวาโยจึงไม่ปรากฏอาการ ทั้งๆที่มีอยู่ แต่มันละเอียดมาก.

มันจึงมีเขตแดนปรากฏของอาการแห่งปฐวี อาโป วาโยและเตโชอยู่ไปโดยลำดับอย่างนี้.

อุปมาด้วยก้อนดิน๔ขนาด

เหมือนอย่างว่า คุณแค้ทมีก้อนหินกลม ขนาดเท่าสนามฟุตบอล เอาก้อนหินขนาดเท่านั้นจำนวนพันก้อนมาวางไว้รวมกันในตะกร้าใหญ่ๆ ให้อยู่ชิดกัน. แม้มันจะชิดกันแค่ไหน แต่มันก็มีช่องว่างระหว่างก้อนหินเหล่านั้น. นี่สมมติให้เป็นปฐวีมาตรฐาน มีอากาศคือ ช่องว่างแทรกอยู่.

ต่อแต่นั้น เอาก้อนหินขนาดเท่าลูกฟุตบอลนี้ จำนวนมากพอจะบรรจุในตะกร้ายักษ์นั้น เทลงไปจนเต็ม คุณแค้ทจะเห็นก้อนหินขนาดเท่านี้ แทรกซึมลงไประหว่างช่องว่างแห่งหินชุดแรกนั้น สมมติว่า ให้หินพวกนี้บรรจุเต็มเหยียด ใช้ช่องว่างทุกที่อย่างมีประสิทธิภาพ แต่ แม้กระนั้น มันก็มีช่องว่างของหินขนาดนี้อยู่. นี่สมมติให้เป็นอนุภาคในเขตอาโปมาตรฐาน.

เอาก้อนหินขนาดเท่าเมล็ดถั่วเขียว โปรยลงไปให้เต็มตะกร้ายักษ์นั้น คุณแค้ทก็จะเห็นก้อนถั่วเขียวนี้ แทรกซึมไปอยู่ในระหว่าง ก้อน ปฐวีกับปฐวี ปฐวีกับอาโป และอาโปกั
หมายเลขบันทึก: 79042เขียนเมื่อ 16 กุมภาพันธ์ 2007 17:10 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 21:21 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท