mee
นาย นายจุล จุล มีสมศักดิ์

กฎหมายที่ควรรู้


กฎหมายที่ต้องรู้ไว้           กฎหมายที่ต้องรู้ไว้ ถ้าอ่านคำนี้รู้สึกจะใช้ภาษาที่ไม่ค่อยจะสลวยนัก แต่จำเป็นต้องใช้คำนี้ เพราะการใช้กฎหมายต้องมีความแน่นอน และมีความหมายอันถูกต้อง โดยเฉพาะกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ต้องใช้ปฏิบัติ ถือว่าเป็นกฎหมายใกล้ตัว ซึ่งจำเป็นต้องรู้และต้องปฏิบัติให้ถูกต้องตามที่กกหมายกำหนดไว้ ทั้งนี้เพื่อประโยชน์แก่ตนเองและผู้อื่นในฐานะที่อยู่ในสังคมเดียวกัน ขอนำเสนอเท่าที่หน้ากระดาษและที่คนความได้ดังนี้          ๑. บ้านอยู่ไกล้าเคียงกัน เป็นธรรมดาทุกบ้านจะต้องมีอาณาเขตของบ้านติดต่อกันอย่างหลีกเลี่ยงไม่พ้น เพื่อรักษาน้ำในต่อกันมิให้เกิดการกระทบกระทั่งเกิดขึ้น ควรจะได้ใช้ความถูกต้อง และยืนอยู่บนความถูกต้องแห่งความเป็นธรรมตามหลักกกหมายและจริยธรรมต่อกันโดยเคารพสิทธิของกันและกัน ในเรื่องดังต่อไปนี้                   (๑) การปลูกสร้างอาคารและสิ่งปลูกสร้างอื่น ๆ ควรได้ระมัดระวังให้อยู่ในเขตจำกัดภายในพื้นที่ของตน ถ้าจะเกิดการรุกล้ำควรงดเว้นเด็ดขอด เพราะตามกฎหมาแพ่งกำหนดให้  เจ้าของที่ดินนั้นมีกรรมสิทธิ์ในที่ดินทั้งบนดิน ไต้พื้น ดินและในอากาศ โดยกำหนดไว้ว่า แดนกรรมสิทธิ์ที่ดินนั้นกินทั้งพื้นดินและใต้ดินด้วยหมายความว่า กินทั้งใต้ดิน บนดิน และในอากาศดังกล่าวแล้ว ถ้าปลูกสิ่งก่อสร้างบนที่ดินของตนแต่ต้องคำนึ่งถึงน้ำตกลงในที่ของผู้อื่นด้วย อย่าให้ไปลงในที่ดินของผู้อื่นเขา การกระทำนั้นเป็นการละเมิดต่อสิทธิของผู้อื่นและเป็นการใช้สิทธิอันอาจจะทำให้เกิดการเสียหายบุคคลอื่นถือว่าเป็นการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย คือไม่ชอบด้วยกฎหมายก็คือ การกรทำความผิดเกิดขึ้นนั่นเอง ถ้าเกิดการเสียหายแล้วจะต้องชดใช้คำสินไหมทดแทน ขอได้โปรดระวังด้วย                   ตัวอย่าง นางสดศรี กับนางอุบลศรี ปลูกบ้านเรือนในที่ดินติดต่อกัน อยู่กันอย่างสงบสุขตลอดมาไม่มีอะไรเกิดขึ้นอยู่มาวันหนึ่ง นางอุบลศรีให้ช่างมาทำหลังคาพอดีกับรั้วของนางสดศรี และเอาปูนมาพอกตรงที่น้ำฝนจะกระเซ็นในที่ของตนบนกำแพงรั้วของนางสดศรี ทำให้น้ำที่ตกจากหลังคาไหลลงบนกำแพงตกลงในบ้านของนางสดศรี เปียกนองแกะขังอยู่ทำให้นางสดศรีเดือดร้อนในบ้านของนางสดศรี และเกิดความเสียหาย       นางสดศรีจึงให้นางอุบลศรีรื้อถอนปูนที่พอกบนกำแพงรั้วออก และทำให้น้ำฝนหรือน้ำตกจากหลังคาไม่ให้ลงในบริเวณบ้าน นางอุบลศรีเพิกเฉยไม่ยอมกรกะทำดังนางสดศรีบอก                   นางสดศรีจึงฟ้องศาล ศาลชั้นต้นพิพากษาให้นางอุบลศรีจำเลยจัดทำรางน้ำไม่ให้น้ำตกในที่ของนางสดศรีโจทก์                   โจทก์อุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์แก้เป็นให้จำเลยเอาหลังคาออกให้พ้นแนวรั้วของโจทก์ ให้ทำกำแพงให้อยู่สภาพเดิม นอกนั้นให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น                   จำเลยฎีกา ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า การกระทำของจำเลยที่ต่อเติมอาคารใช้กำแพงรั้วของโจทก์เป็นที่สุด และก่อปูนปิดมิให้น้ำฝนไหลลงในที่ของจำเลย ทำให้น้ำฝนตกลงในบริเวณบ้านของโจทก์ เป็นการใช้สิทธิมีแต่จะเกิดความเสียหายแก่บุคคลอื่น เป็นการกระทำไม่ชอบด้วยกฎหมาย และโจทก์ก็มีสิทธิที่จะปฏิบัติการเพื่อยังความเสียหายเดือดร้อนนั้นให้สิ้นไปได้ การกระทำเป็นการละเมิดต่อโจทก์ เป็นการกระทำละเมิดตามมาตรา ๔๒๐ มาตรา ๑๓๓๗ และมาตรา ๔๒๐ ตามที่ศาลอุทธรณ์พิพากษานั้นชอบแล้ว จึงพิพากษายืนเทียบกับคำพิพากษาฎีกาที่ ๗๓๗๑/๒๕๓๗                        (๒) การขุดบอ ขุดสระ ทำหลุมรับโสโครก เป็นธรรมดาบ้านชิดติดกันการกระทำดังกล่าวย่อมเกิดขึ้น ดังนั้นจึงได้มีกฎหมายบัญญัติให้เจ้าของบ้านพึงปฏิบัติต่อกัน แบบถ้อยทีถ้อยอาศัย แต่อย่าละเมิดต่อกฎหมาย โดยกำหนดไว้เลยว่าจะขุดเข้าใกล้เขตแข่งแดนของอีกฝ่ายหนึ่ง ต้องห่างจากเส้นแบ่งแดนไม่น้อยกว่าสองเมตร                   คำว่าไม่น้อยกว่าสองเมตร หมายความว่าจะขุดให้พอดีกับเขตแบ่งแดนตรงสองเมตรไม่ได้ ต้องห่างออกมาอีก และเมื่อขุดแล้วต้องระมัดระวังไม่ให้ดินพังอีกด้วย ถ้าไม่กระทำเช่นว่านี้ถือว่าเป็นกระทำไม่ชอบด้วยกฎหมาย                   ตัวอย่าง นายติ่งขุดหลุมส้วมและบ่อทิ้งน้ำเสีย ห่างจากเส้นแบ่งเขตคือรั้วเพียง 50 เซนติเมตร ทำให้น้ำชำระส้วม และน้ำในหลุมทิ้งน้ำเสียซึมลงใต้ดินไม่หมดล้นเอ่อซึมเข้ามาในที่ดินของนายต่ายเจ้าของบ้านใกล้เคียง ขังนองและส่งกลิ่นเหม็น ทำความรำคาญให้แก่นายต่ายและคนในบ้าน นายต่ายบอกให้นายติ่งแก้ไข นายติ่งกับบอกว่าเขาขุดหลุมในที่ดินของเขาส่วนน้ำไหลมาท่วมและส่งกลิ่นเหม็นก็เพียงบางครั้งไม่มาก ทำให้เสียหายแก่นายต่ายจึงนิ่งเฉยไม่ทำอะไร เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนให้หมดไป การกระทำที่นายติ่งอ้างนี้นายติ่งมีสิทธิจะทำได้ไหม                      คำตอบ ชนิดฟันธงเลยว่า เป็นการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฏหมายตามประมวลกฏหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๑๓๔๒ บัญญัติว่า บ่อ สระ หลุมรับน้ำโสโครก หรือหลุมรับปุ๋ยหรือขยะมูลฝอย ท่านว่าจะขุดในระยะสองเมตรจากแนวเขตที่ดินไม่ได้ เห็นไหมกฎหมายใช้คำว่า ในระยะสองเมตรจากแนวเขตไม่ได้ ก็หมายความว่าต้องห่างจากแนวเขตเกินสองเมตรไม่ใช้ 50 เซนติเมตรตามปัญหา                   เทียบกับคำพิพากษาฎีกาที่ ๑๖๐๗/๒๕๑๘ วินิฉัยว่า ถ้าส้วมที่ใช้เป็นที่เก็บอุจาจาระมีลักษณะเช่นเดียวกับหลุมรับน้ำโสโครก จึงรวมอยู่ในความหมายของคำว่า หลุมรับน้ำโสโครกตามประมวลกกหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา ๑๓๔๒ ด้วย ถึงส้วมจะเป็นถึงแข็งอย่างไรก็ตามจะสร้างอยู่ในระยะ ๒ เมตรจากแนวเขตที่ดินติดต่อกันไม่ได้ แม้โจทก์จะไม่นำสืบเรื่องละเมิดศาลก็พิพากษาให้กลมหลุมนั้นได้ ลักษณะคล้ายคลึงกับในกรณีไม่ขุดหลุมแต่ขุดคลอง ศาลพิจารณาเห็นว่าขุดหลุมขุดคูหรือคลอง ก็คือการลักษณะคล้ายกันต้องขุดห่างไม่น้อยกว่า ๒ เมตร และถ้าลึกต้องทำที่กันป้องดินพังให้อีกด้วย คำพิพากษาฎีกาที่ ๒๘๘๒/๒๕๓๘                         (๓) ในการสร้างอาคารสูงติดกับที่ดินของผู้อื่น เวลาฝนตกจากดาดฟ้า หรือกรณีเทน้ำซักฟอกที่เทลงมาจากตึก แล้วไหลเข้าไปในที่ดินของผู้อื่นท่วมขัง และส่งกลิ่นเหม็นข้างเคียง ผู้เช่าตึกหรือเจ้าของต้องรับผิดชอบเพราะเป็นการใช้สิทธิมีแต่จะให้เกิดเสียหายแก่บุคคลอื่น เป็นการไม่ชอบด้วยกฎหมาย ผู้นั้นทำละเมิดตามมาตรา ๔๒๐ มาตรา ๔๒๑  และเจ้าของที่ดินมีสิทธิที่จะปฏิบัติ เพื่อยังความเสียหายหรือเดือดร้อนนั้นให้สิ้นไปได้ ตามมาตรา ๑๓๓๗ และเจ้าของที่ดินที่ต่ำกว่าอาจจะเรียกร้องให้เจ้าของที่ดินสูงกว่าทำทางระบายน้ำและออกค่าใช้จ่ายในการนั้นเพื่อระบายน้ำให้ลอดที่ดินต่ำจนถึงทางน้ำหรือท่อสาธารณะทั้งนี้เป็นไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา ๑๓๔๐ ซึ่งเทียบกับคำพิพากษาฎีกาที่ ๑๕๖๘ /๒๕๐๕                    ครับท่านผู้อ่านผู้อ่านที่มีบ้านใกล้เคียงกันวันหนึ่ง ๆ ท่านก็ยอมพบปะกันหรือไม่ลูกหลานของท่าน อาจจะร้องเพลงว่า บ้านเรือนเคียงกัน แอบดูทุกวันมองเมียงก็เพราะเพื่อนบ้านกันแต่ขัดใจกัน ส่วนเด็กเขาไม่รู้เรื่องด้วยทำอะไรก็ทำเสียแต่ยึดหลักแห่งความถูกต้องคือกฎหมาย และจริยธรรมประกอบด้วยกันดีแน่ ทราบแล้วเปลี่ยน                        (๔) การขุดดินใกล้กับบริเวณที่ดินติดกัน การขุดดินจากที่ของท่านก็จริง แต่เพียงสักแต่ขุดอยู่ในเขต แต่ไม่คำนึงถึงการจะกระทบถึงที่ดินข้างเคียงว่าจะเกิดการเสียหายอย่างไรก็ดีการบรรทุกน้ำหนักเกินควรในบริเวณเส้นแบ่งเขตก็ดี ผู้กระทำความระมัดระวังและปฏิบัติให้เป็นไปตามกฎหมาย กล่าวคือ มีกกหมายได้เขียนห้ามไว้ชัดแจ้ง ถ้าจำเป็นต้องขุดก็ต้องป้องกันการพังของที่ข้างเคียง อย่าให้เกิดความเสียหายและเดือดร้องแก่เจ้าทรัพย์สินใกล้เคียง ทั้งนี้มีบทบัญญัติกฎหมายกำหนดไว้ว่า ห้ามมิให้ขุดดินหรือบรรทุกน้ำหนักบนที่ดินเกินควรจนอานเป็นเหตุให้เกิดอันตราย แก่ความมั่นคงแห่งที่ดินที่ติดต่อ เว้นแต่จะจัดการเพียงพอเพื่อป้องกันความเสียหาย ครับข้อนี้มีตัวบทกกหมายเขียนไว้ชัดเจน ถ้าได้อ่านและไม่ทำให้ผิดกฎหมายก็จะปลอดภัย                   (๕) ต้นไม้ปลูกในที่ดินของตน แต่รากใบและกิ่งยื่นไปในที่ดินของผู้อื่น ในส่วนนี้จะเกิดจากผู้ที่มีที่ดินติดกัน ถ้าเป็นญาติกันปัญหาก็เกิดขึ้นยากเพราะครอบครัวคนไทย วัฒนธรรมของไทย ยังยึดหลักความเคาระต่อผู้อาวุโส สอนให้มีกตัญญูกตเวทีต่อผู้มีพระคุณและญาติผู้ใหญ่ ให้ความเมตากรุณาต่อญาติผู้น้อง โดยยึดระบบคุณธรรมและจริยธรรม แต่ถ้าเป็นเพียง  เพื่อนบ้านกันควรยึดความถูกต้อง และกฎหมายเป็นหลักและเคารพในสิทธิของผู้อื่นถ้ามีการละเมิดก็จะเป็นการใช้สิทธิ์ไม่ขอบตามมาตรา ๔๒๑ ต้องชดใช้ค่าตอบแทนตามมาตรา ๔๒๐ และผู้เป็นเจ้าของเขาย่อมจะมีสิทธิปกป้องเพื่อยังความเสียหาย และเดือดร้อนให้สิ้นไปตามมาตรา ๑๓๓๗ ดังมีบทบัญญัติตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา ๑๒๓๕ บัญญัติๆว้ดังนี้                             มาตรา ๑๓๔๕ รั้วกำแพง รั้วต้นไม้ ดูเครื่องหมายที่ดินท่านให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเจ้าของที่ดินเป็นเจ้าของรวมกัน หมายความว่า ตามบทบัญญัติ บทนี้ให้เป็นเจ้าของรวมกัน เช่น                   มีต้นไม้ใหญ่อยู่ในบริเวณเขตรั้วทั้งสองฝ่ายตามกกหมายให้สันนิฐานว่าเป็นเจ้าของร่วมกัน ฉะนั้นถ้ามีดอกผลก็ต้องแบ่งกัน และถ้าจะตัดต้องตกลงร่วมกัน หรือจะขายก็ต้องตกลงร่วมกัน โดยนำเงินที่ขายได้มาแบ่งคนละครึ่ง                   คำว่าแล่งคนละครึ่งถ้าจะผ่าต้นไม้ แล้วนำมาชั่งแบ่งกันคงไม่มีใครแม้ปัญญานิ้มทำแน่ คงต้องนำเงินแล่งกันแต่บังเอิญเหลือเศษยี่สิบห้าสตางค์ทำอย่าไร ถ้าย้อนอดีตก่อน     สงครามโลกครั้งที่สอง เศรษฐกิจของประเทศไทยไม่เป็นอย่างทุกวันนี้ ค่าของเงินบาท ไม่ลอยตัวอย่างขณะนี้มีการใช้เงินสตางค์ ซึ่งบุคคลเกิดก่อนหรือระยะเปลี่ยนแปลงการปกครองคงได้ใช้เพราะครึ่งสตางค์ซื้อขนมสอดไส้หรือขนมกล้วยได้หนึ่งห่อ ซึ่งต่างกันกับเดี๋ยวนี้ปัญหาเรื่องแบ่งครึ่งคงลงตัว คือคนละ ๑๒ สตางค์ครึ่ง แต่เมื่อไม่มีคิดว่าไม่คงมีใครติดใจเงินเพียงยี่สิบห้าสตางค์ แต่เขียนมาเพื่อให้ท่านผู้อ่านย้อนอดีตประเดี๋ยวจะลืมแต่คนรุ่นปัจจุบันคงไม่มีโอกาสสัมผัส สตางค์ครึ่งหาไม่ได้แล้วเหลือพอมีสตางค์คงให้เห็น                   แต่ตามถ้าต้นไม้มีรากเลื้อยไปอยู่ในที่ดินของผู้อื่น ท่านว่าเจ้าของที่ดินขุดเอารากนั้นออก และเอารากนั้นเสีย                   ถ้าเป็นกิ่งของต้นไม้ยื่น ท่านว่าให้บอกผู้ครอบครองให้ตัด ถ้าเขายังเฉยให้ผู้เป็นเจ้าของที่ดินตัดเอาเสีย ขอย้ำว่าต้องบอกผู้ครอบครองที่ดินที่ติดต่อหรือที่ต้นไม้นั้นขึ้นอยู่ก่อนจึงตัดได้ ถ้าเขาไม่ยอมตัดอย่าตัดโดยพลการ อาจจะมีปัญหาข้อกกหมายเรื่องทำให้เสียทรัพย์ตามมาเป็นคดีอาญาแต่ถ้าผลไม้ของต้นไม้อยู่เขตติดต่อกัน สุกล่วงในที่ดินของเจ้าของที่ดินอีกฝ่ายหนึ่ง เจ้าของที่ดินนั้นเก็บเอาเสียได้ แต่ทั้งนี้     ต้องหล่นเอง ไม่ใช่เกิดจากคนทำให้หล่น หรือลมพายุพัดผลให้หล่นเช่นนี้ผลไม้ที่หล่นลงมา แม้ในที่ดินของอีกฝ่าย ซึ่งไม่ใช้เจ้าต้นไม้ เจ้าของที่ดินก็ไม่มีสิทธิ ทั้งนี้เป็นไปตามประมวลกกหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา ๑๒๓๗ เจ้าของที่ดินอาจตัดรากไม้ที่รุกเข้ามาจากที่ดินติดต่อกันเอาไว้เสีย ถ้าเป็นกิ่งไม้ยื่นเข้ามา เมื่อเจ้าของที่ดินได้บอกผู้ครอบครองที่ดินติดต่อกันให้ตัด ภายในเวลาอันควรแล้ว ผู้นั้นไม่ตัด ท่านว่าเจ้าของที่ดินตัดเอาเสียได้                   ในตัวบทของกฏหมายได้กล่าวถึงเรื่องของต้นไม้ทีนี้เรามารู้ถึงผลไม้ที่ตกจากต้นและมาอยู่ในเขตบ้านเราว่าเราควรมีสิทธิหรือไม่ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา ๑๓๔๘ ดอกผลของต้นไม้ที่หล่นตามธรรมดาลงในที่ดินติดต่อแปลงใด ท่านให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นของเจ้าของที่ดินแปลงนั้น                   จะเห็นว่าตัวบท ของกฎหมายสันนิษฐานคือให้ถือว่าเป็นของเจ้าของที่ดินแปลงที่ดอกผลของเจ้าของที่ดินที่ดอกผลหล่นลงมา                         ที่ต้องนำเรื่องนี้มาเขียน เพื่อป้องกันการกระทำที่รู้เท่าไม่ถึงการณ์เพราะอยู่ใกล้เคียงกัน จึงถือว่าต้องรู้ เพราะมีเหตุใกล้ตัวต้องปฏิบัติประจำ อนึ่งอยากจะเรียนถึงเรื่องการปลูกต้นไม้ที่บริเวณใกล้เขตติดต่อกันต้องดูประเภทของตันไม้ ถ้าเป็นต้นไม้ยืนต้นจะต้องปลูกให้ห่างจากเขตติดต่อไม่น้อยกว่าสามเณรเพราะปกติเราเข้าใจว่าต้นไม้เป็นสิ่งไม่มีชีวิต ความจริงตามหลักศาสตร์ถือว่ามีชีวิตมีหลักว่า สิ่งมีชีวิตนั้นต้องเจริญเติบโตจากภายใน ต้องสามารถขยายพันธ์ได้ ต้องหายในได้และต้องเคลื่อนไหวได้เอง ต้นไม้มีคุณสมบัติครบของสิ่งมีชีวิต โดยเฉพาะการเคลื่อนไหว ก็คือการเจริญเติบโตขยายกิ่งก้านออกไปเป็นการเคลื่อนไหวต้นไม้การเคลื่อนไหวของต้นไม้ช้า แต่ก็เป็นมูลเหตุทำให้เกิดปัญหาข้อกฎหมายได้ ควรระมัดระวังในการปลูกให้เหมาะสม อย่าได้ให้เป็นในลักษณะการใช้สิทธิซึ่งมีแต่จะให้เกิดการเสียหายแก่บุคคลอื่น นั่นแหละดี                   (๒) ที่ดินห้ามโอน การซื้อขายที่ดินอยู่อาศัยถือว่าเป็นการใกล้ตัว เพราะเป็นหนึ่งในปัจจัยสี่เกี่ยวกับที่อยู่อาศัย และต้องทนตลอดเวลาไม่ตัวเราก็ญาติเรา หรือไม่ก็เพื่อนฝูงเพื่อนบ้าน เพราะเราอยู่ในสังคมต้องยอมรับความจริงเราจะทำตัวเป็นฤาษีหรือนักบวชไม่ได้จึงจำต้องไว้เพื่อรักษาประโยชน์ให้กับตัวเราและสังคมของเราให้มิต้องเสียเปล่าคือ                      (๑) ที่ดินที่รัฐออกให้ตามประมวลกกหมายที่ดินในมาตรา ๓๑ ได้บัญญัติว่า โฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์ที่ออกให้สืบเนื่องมาจากใบจองตามมาตรา ๓๐ และมาตรา ๓๓ ห้ามมิให้ผู้ได้มาซึ่งสิทธิในที่ดินดังกล่าวโอนที่ดินนั้นให้แกผู้อื่นในกรณีดังต่อไปนี้                             (๑) ถ้าเป็นกรณีออกใบจองหลังจากวันที่ ๑๔ ธันวาคม ๒๕๑๕ ห้ามโอนในกำหนดสิบปี นับแต่วันที่ได้รับโอนที่ดินหรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์                             (๒) ถ้าเป็นกรณีออกใบจองก่อนวันที่ ๑๔ ธันวาคม ๒๕๑๕ เฉพาะรัฐได้ช่วยเหลือในด้านสาธารณูปโภค และอื่น ๆ เนื่องจากการจัดที่ดินให้ ห้ามมิให้โอนภายในกำหนดห้าปี นับแต่วันที่ได้รับโฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์                   เพื่อความเข้าใจถูกต้องตรงเจตนารมณ์ของกฏหมายของอนุญาตอธิบายถึงความหมายของัวบทโดยพอเข้าใจดังนี้                             (๑) คำว่าใบจอง ใบจองนี้คือ น.ส.๒ ที่เจ้าพนักงานออกให้เมื่อผู้นั้นได้ครอบครองที่ดินนั้นเป็นเนื้อที่เป็นแปลงใหญ่รัฐจึงออกให้ตามมาตรา ๓๐ และเป็นเนื้อที่แปลงเล็กรัฐออกให้ตามมาตรา ๓๓                                (๒) ตามมาตรา ๓๐ และมาตรา ๓๓ มีบทบัญญัติคือ มาตรา ๓๐ เมื่อจัดที่ดินให้บุคคลได้เข้าครอบครองที่ดินแปลงใด แล้วให้เจ้าหน้าที่ออกใบจองให้เป็นหลักฐาน...........                                    มาตรา ๓๓ ในท้องที่ใดที่คณะกรรมการยังไม่ได้ประกาศเขตสำรวจที่ดินตามหมวดนี้ก็ดี ราษฎรจะขออนุญาตจับจองที่ดินได้โดยปฏิบัติตามระเบียบ ฯลฯ ก็ให้ออกใบจองให้                   (๒) ที่ดินที่รัฐออกให้ตามพระราชบัญญัติปฏิรูปที่ดินเพื่อการเกษตรพุทธศักราช ๒๕๑๗                   ที่ดินที่อยู่ในเขตปฏิรูปที่ดินเพื่อการเกษตรที่ประกาศตามพระราชบัญญัติปฏิรูปที่ดินเพื่อการเกษตร ได้มีการซื้อขายกันหลังจากรัฐได้ออกเอกสารสิทธิ์ไปให้แล้วจึงได้มีบทบัญญัติห้ามจำหน่ายจ่ายโอนมีกำหนด ๕ ปีนี้ ก็มีการใช้อุบายและวิธีการของนายทุน ไปขอซื้อและให้ราคาสูง ผู้นั้นอยากได้เงินก็ตกลงขายให้ โดยมีวิธีการต่าง ๆ คือ                          ตัวอย่าง                   ก. การได้ที่ดินที่รัฐจัดให้ตามประมวลกฏหมายที่ดินมาตรา ๓ (๑) คือห้ามโอน ๑๐ ปี ผู้ได้รับโฉนดที่ดินจากรัฐไปแล้วเมื่อถูกห้ามโอน ได้ทำหนังสือสัญญาสละสิทธิ์การครอบครองให้แก่นายทุนครอบครองโดยรับเงินค่าที่ดินไปแล้ว และอพยพไปอยู่ต่างถิ่น พอนายทุนได้ครอบครองครบ ๑๐ ปี และพ้นสิบปี ก็ยื่นคำร้องขอครอบครอบปรปักษ์โดยขอให้ศาลสั่งว่าตนได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินโดยครอบครองปรปักษ์ตามมาตรา ๑๓๘๒ แต่จะด้วยเหตุใดไม่ปรากฏได้มีผู้คัดค้านคือผู้ทำสัญญาสละสิทธิการครอบครอบ ซึ่งเป็นผู้รับโฉนดที่ดินนั่นเอง คดีนี้สู้กันถึงศาลฎีกา ศาลฎีกาได้วินิจฉัยว่า แม้สัญญาซื้อขายที่ผู้คัดค้านได้สละสิทธิการครอบครองตั้งแต่ผู้คัดค้านได้รับโฉนดได้ทำสัญญาไว้ แต่ที่ดินพิพาทนี้           มีกฎหมายห้ามโอน ๑๐ปี ตามประมวลกฎหมายที่ดินมาตรา ๓๑ บทบัญญัตินี้เพื่อป้องกันไม่ให้โอนมีกำหนด ๑๐ ปี ดังนั้นระยะนับแต่ผู้คัดค้านรับไปที่ดินพิพาทนั้นยังอยู่ในการควบคุมดูแลของทางราชการอยู่ ผู้คัดค้านยังไม่มีสิทธิ์สละการครอบครองให้แก่ผู้ร้อง   ผู้ร้องจะเอาระยะเวลา ๑๐ ปีนับแต่วันที่ผู้คัดค้านทำสัญญามาเป็นการคำนวณเวลาครอบครองให้แก่ผู้ร้อง ผู้ร้องจะเอาระยะเวลา ๑๐ ปีนับแต่วันที่ผู้คัดค้านทำสัญญามาเป็นการคำนวณเวลา   ครอบครองเกิน ๑๐ ปีเป็นการได้กรรมสิทธิ์โดยครอบครองปรปักษ์ตามประมวลกกหมายแพ่งและพาณิชย์ตามมาตรา ๑๓๘๒ หาได้ไม่ พิพากษายกคำร้อง คำพิพากษาฎีกาที่ ๖๑๙/๒๕๓๘ กรณีเช่นนี้ ศาลฎีกาก็มีคำพิพากษาทำนองเดียวกันคือ คำพิพากษาฎีกาที่ ๒๗๕๗/๒๕๓๘  หรือตามฎีกาที่ ๕๖๘/๒๕๓๘ ผู้รับโฉนดที่ดินแล้วจำไปสละสิทธิการครอบครองให้กับบุคคลอื่นภายในกำหนดเงื่อนไขเวลาห้ามโอนไม่ได้เว้นแต่จะเป็นการตกทอดทางมรดกหรือโอนให้ทบวงการเมือง ฯลฯ เพราะผู้รับโฉนดไปโดยมีเงื่อนไขสิทธิของทางราชการนั้นยังไม่ขอดต้องมีหน้าที่ดูแลที่ดินพิพาทนี้อยู่ ดังนั้นผู้ครอบครองจึงไม่มีสิทธิครอบครอง และก็ไม่มีอำนาจจะนำที่ดินพิพาทนี้โอนให้แกโจทก์แม้โจทก์จะครอบครองจริงก็เพียงแต่เป็นการครอบครองแทนจำเลยซึ่งเป็นทายาทของผู้รับโฉนดที่ดินพิพาทที่ตายไปเท่านั้นโจทก์ต้องเปลี่ยนลักษณะการครอบครองมาเป็นยึดถือครองเพื่อตนจึงจะได้สิทธิครอบครองที่ดินพิพาท                   ข. การครอบครองที่ดินห้ามโอน ๕ ปี เรื่องนี้มีอยู่ว่านายแบนได้รับที่ดินตามพระราชบัญญัติปฏิรูปที่ดินเพื่อการเกษตรแล้วทำสัญญาขายให้กับนายกลมเป็นเงิน         ๑๕๐,๐๐๐ บาทเมื่อวันที่ ๕ มกราคม ๒๕๓๐ ปละจะทำการโอน    ให้เมื่อได้รับโฉนดที่ดินแล้ว พอถึงวันที่ ๒๘ เมษายน ๒๕๓๑  นายแบนได้รับโฉนดแล้วไม่ยอมโอนให้ โดยอ้างว่าที่ดินถูกห้ามโอน ๕ ปี และนำไปจำนองธนาคาร                   นายกลมจึงฟ้องศาล ขอให้บังคับให้นายแบนไถ่ถอนจำนองจากธนาคาร และโอนโฉนดที่ดินพิพาทแก่ตนตามสัญญา ถ้าไม่สามารถโอนได้ต้องเสียค่าเบี้ยปรับให้                   ศาลชั้นต้นพิพากษาให้นายแบนคืนเงิน ๑๕๐,๐๐๐ บาทให้ทันทีถ้าไม่สามารถคืนให้ทันทีได้ต้องเสียดอกเบี้ยให้ร้อยละ ๗.๕ นับแต่วันฟ้อง โจทก์อุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์พิพากษายื่น โจทก์ฎีกา วินิจฉัยว่า ว่าตามพระราชบัญญัติปฏิรูปที่ดินเพื่อการเกษตรได้ห้ามจำหน่ายจ่ายโอนตามประกาศคณะรัฐมนตรีห้ามจำหน่ายจ่ายโอนมีกำหนด ๕ ปีนับแต่ได้รับหนังสือเอกสารสิทธิ์                   เรื่องนี้เป็นการทำสัญญาที่มีวัตถุประสงค์ต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฏหมาย สัญญานั้นเป็นโมฆะให้โจทก์กับจำเลยกับสู่ฐานะเดิมจำเลยไม่มีหน้าที่ปฏิบัติตามสัญญา จึงพิพาทยืน เทียบคำพิพากษาฎีกาที่ ๘ฤ๔๗/๒๕๓๘                 (๓) ทางจำเป็น แบ่งเป็น ๒ กรณี                             (๑) ทางจำเป็น ที่เจ้าของที่ดินถูกปิดล้อมหมดทุกต้นไม่มีทางออกสู่ทางสาธารณะได้ จำต้องหาทางออกให้ได้ โดยมีหลักที่กฎหมายได้บัญญัติไว้ว่าเจ้าของที่ดินที่ปิดล้อมอยู่นั้นต้องเปิดให้ ถ้าไม่เปิดจะต้องร้องขอต่อศาลบังคับ และเจ้าของที่ดินที่เปิดจะต้องเป็นเจ้าของที่ดินที่ปิดล้อมอยู่ อยู่ใกล้ที่สุดสะดวกที่จะออกสู่ทางสาธารณะได้ ทั้งนี้เป็นไปตามกฎหมายกำหนดไว้ถ้าที่ดินแปลงใด ถูกที่ดินแปลงอื่นปิดล้อมอยู่จนไม่มีทางออกสู่ทางสาธารณะได้ เจ้าของที่ดินแปลงที่ถูกปิดล้อมอยู่ ย่อมมีสิทธิ์ใช้ทางผ่านที่ดินที่ปิดล้อมอยู่ไปสู่ทางสาธารณะได้                   ทางที่เจ้าของที่ดินแปลงที่ปิดล้อมอยู่เรียกว่า ทางจำเป็น แต่ในกรณีนี้เจ้าของที่ดินมีสิทธิที่จะเรียกค่าตอบแทนที่เขาจำต้องเปิดทางให้ได้ และ
หมายเลขบันทึก: 78251เขียนเมื่อ 13 กุมภาพันธ์ 2007 16:27 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 11:14 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

ปล่อยน้ำฝนลงหน้าบ้านผิดมั้ยครับ วางท่อยาวเกือบถึงพื้น (นอกรั้วลงถนนสาธารณะ)

เพื่อนบ้านจงใจปลูกบ้านใกล้ต้นไม้เรา..แล้วมาบอกให้เราตัดต้นไม้…ทำถูกต้องหรือไม่

คือที่บ้านได้ทำกำแพงปูนรั่วห่างจากหลักเขต40เซน แต่พอข้างบ้านมาปลูกบ้านเขาไม่ทำรั่ว แต่เทปูนเต็มพื้นที่ของบ้านตัวเอง โดยอาศัยปลูกต้นไม้ข้างรั่วที่เราเว้นไว้40เซน ทางเราได้แจ้งเขาไปคร้ังหนึ่งว่า ต้องการให้เขาทำรั่วเขต เขาบอกเขาไม่ทำ แต่จะวางต้นไม้เอา เราเลยบอกว่าง้ันถ้าคุณปลูกต้นไม้ห้ามยุ่งกับกำแพงของเราที่สร้างไว้ พอนานวันไปดูอีกคร้ัง เขาปลูกต้นไม้ชิดกำแพงของเรา โดยที่ปลูกต้นไม้ริมรั่วก็เป็นพื้นที่เราเว้นไว้ 40เซน ปัญหาคือนำ้ที่เขารดต้นไม้มันซึมเข้ามาในตัวกำแพงปูนทำให้เกิดเชื่อราที่เต็มไปหมด เราครวทำอย่างไรค่ะ ที่ที่เขาปลูกต้นไม้ก็เป็นที่เรา มาใช้กำแพงเราอีก ขอบคุณอย่างสูง

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท