รำพึง รำพัน "ทำอย่างไร Blog จะฮิตติดตลาด (สังคมไทย)"


Reason; Research; Resonance; Representational Redescription; Resources and Rewards; Real World Events; และสุดท้ายคือ Resistances

ไม่ได้หมายถึง blog ของผมเอง (แต่ถ้าได้ด้วยก็ไม่รังเกียจ) แต่หมายถึง blog ที่มีวัตถุประสงค์เพื่อการจัดการความรู้

ผมเคยอ่านเรื่องเกี่ยวกับพฤติกรรมและการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมจากหนังสือเรื่อง Changing Mind ของ Howard Gardnerคิดว่าเกี่ยวข้องกันและอาจจะนำมาใช้ได้

7 Parameters ประกอบด้วย Reason; Research; Resonance; Representational Redescription; Resources and Rewards; Real World Events; และสุดท้ายคือ Resistances

Reason โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มที่พิจารณาตนเองว่าเป็นนักวิชาการหรือคนมีการศึกษา หลักการและเหตุผลจะเป็นสิ่งที่เข้มแข็ง และมีผลต่อการคิดการสรุป ดังนั้นถ้าจะอภิปรายเรื่องอะไรให้กลุ่มที่ใช้วิธีนี้เป็นหลัก การนำเสนอต้องมาในทางที่มีการเชื่อมโยงทางตรรกะ

Research ขยายลึกและกว้างและจำเพาะขึ้นจาก reasoning คือ research สำหรับคนที่ต้องการ verify reason อย่างมี methodology เอาผลการศึกษาเปรียบเทียบของทั้งสองระบบมาประกอบ

Resonance ถ้าจะกล่าวว่า reasoning กับ research เป็นสำหรับ cognitive aspect ของจิตใจคน resonance ก็จะเป็นตัววัดของเจตคติหรือ affective components ของการรับรู้ มีความสำคัญไม่ยิ่งหย่อนกว่า cognitive aspect ในการที่ใครจะเกิด "ความเชื่อ" หรือเปลี่ยนความเชื่อ มักจะเกิดในระดับ subconscious และสามารถเกิด conflict กับ cognitive ซะด้วยซ้ำ การไปถาม "ความเห็น" จากคนที่เราแคร์ (relation, reliable, respect อีกสาม "re_" words) บางครั้งมีอิทธิพลในการจูงใจอย่างมาก คนที่มี "ความสัมพันธ์ เชื่อถือได้ และเรานับถือ" อาจจะเป็น role model ของเรา คนที่เรารัก เราแคร์ ความเห็นที่คนพวกนี้ "สะท้อน" ให้เราจะมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจ ตรงนี้แล้วแต่ target group เช่น วัยรุ่นก็คงต้องมาจาก idol ของเขา ไม่ได้มาจากปู่ๆ ย่าๆ อย่างพวกเรา (พูดให้ช้ำใจเล่น)

Representational Redescription คำนี้หมายความว่า concept ของแนวความคิดใหม่นั้นสามารถแปลออกมาเป็นโมเดลต่างๆได้หลากหลายหรือๆไม่ ดีกว่านั้นคือการแปลมาในชีวิตจริง ไม่ใช่ทฤษฎี ยิ่งถ้านำมาแปลเป็นโมเดลที่ชีวิตจริงเราสนใจได้ และตรง ยิ่งดี ตรงนี้อาจจะใช้เยอะเวลาเราสอนอะไรที่เป็นนามธรรมแก่เด็กๆ เช่น ความดี ความงาม การยกตัวอย่างที่หลากหลาย หลายมุม แต่พูดถึงเรื่องคล้ายๆกันจะช่วย reinforce thought ได้ ฉะนั้นถ้าประเด็นที่เราใช้ เช่น การใช้ blog กับการใช้กระดานข่าว (หรือเล่นเกม chat, etc) ยกมาเปรียบเทียบ เป็น analogy ก็จะเกิดการรับรู้แบบบริบท (contextual perception)

Resources and Rewards ในทางปฏิบัติ หัวข้อนี้เป็นไปได้งสองทาง เช่น การมีทรัพยากรหรือ "ไม่มี" การมี reward หรือการมี punishment เช่น ถ้าทำระบบนี้เราจะมีเงินสนับสนุนจาก funders ไม่จำกัด แต่ถ้าทำอีกแบบเราจะล่มจม บางทีประเด็นนี้สามารถมีความสำคัญแปรเปลี่ยนได้อย่างมากหรือแค่นิดหน่อยก็ได้ (ภาษิตจีนว่า "มีเงินสามารถใช้ผีโม่แป้งได้")

Real World Events หรือผลกระทบทางสังคมใหญ่ๆ เช่น มหาอุบัติภัย ซึนามิ แผ่นดินไหว หรือกกหมายสำคัญๆของประเทศจะกำหนด "กรอบ" ความเป็นไปได้ และความคิดในการดำเนินงาน การเอาเหตุการณ์ใหญ่ๆมาสะท้อนประกอบจะมีอารมณ์ร่วมได้เยอะ เช่น ปฏิวัติ (ชักเก่าแล้ว) ระเบิดปีใหม่ ตอนนี้ก็ต้องตรุษจีน วาเลนไทน์ เอาอะไรที่ intrend มาเชื่อมโยงกับอารมณ์ การรับรู้

Resistances เป็นประเด็นสำคัญมาก การเปลี่ยนแปลงนั้นบางทีเป็นการโจมตีความเสถียรของจิตใจของคนได้อย่างรุนแรง ปกติมนุษย์ไม่ใคร่ชอบความไม่เสถียรของจิตใจอยู่แล้ว ตรงนี้คนอาจจะเรียกเป็น bias ความเชื่อ ความงมงาย ความไม่ชอบการเปลี่ยนแปลง ล้านแต่เป็น challenge สำหรับผู้ที่มีหน้าที่หรืออาชีพในการเปลี่ยนแปลงความคิดคน

ก็เพียงสงสัยว่าจะนำทฤษฎีมาใช้อย่างไร มาใช้แบบผิวเผิน หรือมาใช้เชิงระบบ เชิงจัดการ เชิงวางแผนกันอย่างไรดี

หมายเลขบันทึก: 78038เขียนเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2007 22:12 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 มิถุนายน 2012 11:07 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

 

แวะมาอ่านรอบที่ สาม ค่ะ อาจารย์ (เห็นทีต้องขอรางวัล สำหรับความตั้งใจให้ k-jira บ้างแล้วนะคะ อิอิ)

อ่านรอบแรก ..งงๆ

อ่านรอบที่ 2 รู้สึกเลือนลาง เหมือนเข้าใจ เหมือนไม่เข้าใจ

อ่านรอบที่ 3 ค่อยเห็นประตูทางเข้าไป แต่ยังเห็นสภาพภายในห้อง(บันทึก) นั้นไม่ชัด

ไม่ทราบว่า ความหมายของอาจารย์ หมายถึง  การทำ Blog ให้ฮิตติดตลาด  ต้องใช้ยุทธวิธีไหนรึเปล่าคะ ?

อย่างเช่น บล็อกนั้นต้องคับเข้มด้วยหลักการและเหตุผล หรือว่า ต้องกระแทกความคิดและอารมณ์ของคนอ่าน จนบังเกิดปฏิกิริยาออกมา

ซึ่งการยอมรับ หรือปฏิกิริยาที่สะท้อนออกมานั้น มากหรือน้อย ขึ้นอยู่กับ  เจ้าของบล็อก /บทความ ผู้นั้น มีอิทธิพลต่อคนอ่านแค่ไหน ?

ไม่ทราบว่า สิ่งที่กำลังเข้าใจนั้น.. พอจะเข้าเค้ากับบางสิ่งที่อาจารย์ต้องการจะบอกรึเปล่าคะ ??

^_^

 

โยมคุณหมอ..

เข้ามาอ่าน...น่าสนใจดี ....

เจริญพร

สวัสดีครับคุณ k-jira และนมัสการหลวงพี่ชัยวุธ

สิ่งที่ผมคิดนั้นคือ ถ้า พวกเราชาว blogger ที่นี่ ไม่ได้มีจุดมุ่งหมายแค่มาอ่าน มา post เฉพาะ คอ blogger แต่คิดว่าน่าจะทำให้คนที่มีศักยภาพ (ได้แก่ 1. มี internet 2. อ่านได้) มาเข้าร่วมเพราะมันมีประโยชน์จริงๆ ก็จะส่งผลต่อพฤติกรรมของเราต่อไป

การล่อหลอกคนคอเดียวกันไม่ยากครับ เอาน้ำผึ้งมาวาง ประเดี๋ยวเดียว "เจ้าประจำ" ก็จะแห่กันมา ปัญหาก็คือ surfers จำนวนมากที่ใช้ internet ในทางบั่นทอนตนเองนั่น เป็นเป้าหมายของเราหรือไม่? พวกที่ใช้ surf pornography net, violent porn site, chat, game addicts, etc ถ้าจะดึงพวกนั้นให้หันมาทำอะไรที่เป็นประโยชน์มากจขึ้น ก็น่าจะเป็น mission ที่ท้าทายดี

นั่นจึงเป็นที่มาของ การเปลี่ยนพฤติกรรม และ ทฤษฎีว่าด้วย Changing Mind ที่ยกมา

พวกเรามักจะมีเกราะกำบัง privacy ของเราเอง โดยอัตโนมัติเรามักจะไม่อยากไป invade privacy ของคนอื่น เรื่องนี้พวกฝรั่งเป็นกันมากกว่าเรา (เรื่องเคารพ privacy) ของคนตะวันออกเราชอบรู้เรื่องชาวบ้าน ชอบ comment ชาวบ้าน แต่ไม่ชอบถูก comment นั่นเป็นเพราะการขาด skill ด้าน อตฺตานํ อุปมํ กเร การเอาใจเชามาใส่ใจเรา หรือการ empathy

ทีนี้พอเรา secure สถานที่นี้เป็น sanctuary ผมคิดว่าเราก็เกิดความสงบและมั่นคง จนกระทั่งไม่อยากจะเชิญ high risk guest เข้ามา จะเชิญก็เป็นประเภท low-risk หรือ คอเดียวกัน

ผมไม่แน่ใจเหมือนกันครับว่าจะนำไปใช้ในทางปฏิบัติได้มากน้อยแค่ไหน และการดำเนินการเชิงรุก พิสูจน์แล้วว่าจะเป็นการทำงานที่มีประสิทธิภาพกว่า เราอาจจะลงไปที่กลุ่มเริ่มใช้ internet ก่อนที่ยังเป็น wanderer ไม่รู้จะไปไหน สุดท้ายพอมั่นคงพอสมควรค่อยไปลงพวก hardcore internet abuser ที่คงจะยากกว่าเยอะ ถึงตอนนั้นค่อยทำเอาทฤษฎี changing mind ไปใช้ก็คงไม่เป็นไร

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท