มาสร้างคุณภาพชีวิตกัน (QOL)


“…..ถ้าหากว่าประชาชนในประเทศใดมีความสุข มีความอยู่เย็นเป็นสุข คือ มีความเป็นอยู่ที่สบาย ก็หมายความว่าประเทศนั้นมีความมั่นคง ภูมิภาคไหนมีประเทศที่มีความมั่นคงดีอย่างนี้ เป็นภูมิภาคที่มีกำลังแข็งแรง…”

      ชีวิตที่มีคุณภาพ คือสภาพการดำรงชีวิตที่สามารถตอบสนองความต้องการของตนเองได้อย่างเหมาะสมกับอัตภาพ อยู่ในกรอบและระเบียบแบบแผน วัฒนธรรมที่ดีงาม ตามมาตรฐานที่ยอมรับของสังคมทั่วไป และพร้อมที่จะพัฒนาตนเองให้เหมาะสมตามการเปลี่ยนแปลงของสังคม บุคลากรสาธารณสุขก็เป็นส่วนหนึ่งในการมีส่วนร่วมทำให้ประชาชนเกิดคุณภาพชีวิตที่ดี โดยสามารถปฏิบัติตามบริบทของงานด้านสาธารณสุขทั้งเชิงรับและเชิงรุก เพื่อให้ประชาชนมีลักษณะชีวิตที่มีคุณภาพ ดังนี้ 1.บุคคลนั้นมีสิ่งจำเป็นพื้นฐานแก่ความต้องการของชีวิต ได้แก่ 1) อาหาร 2) ที่อยู่อาศัย 3) เสื้อผ้าสำหรับสวมใส่ 4) สุขภาพที่สมบูรณ์ แข็งแรง 5) ความมั่นคงทางเศรษฐกิจ สังคมและการเมือง 2.ความพึงพอใจต่อตนเอง สังคม และสิ่งแวดล้อม โดยบุคคลจะต้องมีลักษณะเหล่านี้ คือ 1) ค่านิยมที่เหมาะสมกลมกลืนกับสังคม วัฒนธรรม การเมืองและสิ่งแวดล้อม 2) มีความสมดุลระหว่างความปรารถนาและความเป็นไปได้ 3) มีความมุ่งหมายของชีวิต เช่น มีแนวความคิด หลักปรัชญาในการดำรงชีวิต 4) มีชีวิตที่กลมกลืนกับครอบครัว ชุมชนและสิ่งแวดล้อม “…..ถ้าหากว่าประชาชนในประเทศใดมีความสุข มีความอยู่เย็นเป็นสุข คือ มีความเป็นอยู่ที่สบาย ก็หมายความว่าประเทศนั้นมีความมั่นคง ภูมิภาคไหนมีประเทศที่มีความมั่นคงดีอย่างนี้ เป็นภูมิภาคที่มีกำลังแข็งแรง…” พระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่พระราชทานเมื่อวันที่ 9 เมษายน พ.ศ.2537 (สกุลไทย. ฉบับที่ 2346, 2542 : 2) ที่อัญเชิญมานี้ อธิบายถึงคุณค่าของการมีความสุขได้ชัดเจน

คำสำคัญ (Tags): #สม.4
หมายเลขบันทึก: 77769เขียนเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2007 12:53 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 15:41 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท