สร้างและต่อยอดความรู้ในองค์กร


สร้างและต่อยอดความรู้ในองค์กร

Nonaka และ Takeuchi เขียนหนังสือชื่อ “The knowledge Company” ซึ่งต่อ
มาได้สร้างกระแสการจัดการความรู้ในองค์กร โดยนำเสนอโมเดลการสร้างองค์
ความรู้ขยายผลจาก ชนิดของความรู้ คือ ความรู้ที่อยู่ในสมองคน (Tacit
Knowledge) กับความรู้ที่สามารถหาได้จากสื่อภายนอก (Explicit Knowledge)
โมเดลดังกล่าวมีชื่อว่า “SECI–Knowledge Conversion Process“

Socialization ในโมเดลนี้ จึงเป็นการถ่ายโอนความรู้โดยตรงระหว่างกลุ่มคนหรือ
บุคคล โดยไม่ผ่านการเขียน ผมขอใช้นิยามแบบไทยๆ ว่า ”การเสวนาธรรมกัน”
กลุ่มคนที่มีการแลกเปลี่ยนประสบการณ์จากคนหนึ่งไปอีกคนหนึ่งโดยการคุยกัน
โดยอาจใช้เวลาคุยกันเพียง 5 นาที ก็เข้าใจแล้ว แต่ถ้าใช้เวลาเขียนเพื่อบรรยาย
ความเข้าใจดังกล่าวอาจใช้เวลาถึง 5 วัน

กลุ่มคนที่มาเสวนาธรรมแลกเปลี่ยนความรู้กันนี้ มักจะมีพื้นฐานความรู้ที่สอดคล้อง
กัน หรือเคยมีประวัติศาสตร์ อดีตที่คล้ายคลึงกัน จะมีคลื่นความถี่ที่ใกล้เคียงกัน
สามารถสื่อสารและทำความเข้าใจกันได้โดยง่าย ดังนั้นองค์กรสามารถสร้างความ
รู้ได้โดยจัดเวทีแลกเปลี่ยนความรู้กัน (Forum) มุมพักผ่อนทานกาแฟร่วมกัน การ
จัดตั้ง Community of Practice หรือ Community of Interest การพบปะกับ
องค์กรอื่นเพื่อทำการเทียบเคียง (Benchmarking) ทั้งกับองค์กรภายนอกและ
ภายใน

Externalization ในองค์กรอาจมีผู้เชี่ยวชาญที่มีความสามารถในการสอนและการ
ถ่ายโอนความรู้ผ่านสื่อต่างๆ ได้ จากประสบการณ์ในสมองของเขา (Tacit
Knowledge) ออกมาภายนอก (Explicit Knowledge) ให้ผู้อื่นในองค์กร ทำให้
องค์กรมีโอกาสได้จัดเก็บและกระจายใช้งานความรู้ดังกล่าวได้อย่างกว้างขวาง
มากยิ่งขึ้น ดังนั้นองค์กรควรสร้างค่านิยมและส่งเสริม “ผู้รู้ที่มีความสามารถถ่าย
ทอดได้” อย่างเป็นระบบอย่างจริงจัง

Combination การที่องค์กรต้องเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ ให้ทันต่อกระแสการเปลี่ยนแปลง
จำเป็นต้องมีการศึกษาเรียนรู้จากความรู้ภายนอก และมักจะประสบปัญหาว่า แนว
ทางความคิดมีความหลากหลาย แม้กระทั้งเรื่องเดียวกันยังมีความแตกต่างในการ
สื่อสารและการสร้างความเข้าใจในองค์กรเป็นอย่างมาก

บุคคลากรที่สามารถเชื่อมโยงความรู้ที่หลากหลายดังกล่าวให้เป็นภาษาที่ใช้สื่อสาร
ในองค์กรได้ดีนั้น จะช่วยสรุปองค์ความรู้ใหม่ๆ ให้กับองค์กรได้ องค์ความรู้ใหม่ที่
มีการเชื่อมโยงให้กับองค์กรตนเองแล้ว

Internalization และเมื่อสามารถนำความรู้ใหม่ดังกล่าวมาลงมือปฏิบัติจริงผู้ปฏิบัติ
นั้นจะเกิดการซึมซาบ ให้เกิดเป็นความรู้ประสบการณ์และปัญญา เป็นประสบการณ์
อยู่ในสมองเป็น Tacit Knowledge ต่อไป

วงจรในการสร้างความรู้ในองค์กร SECI นี้ขยายฐานและความลึกขององค์ความรู้ให้
เติบโตขึ้นอย่างไม่มีที่สิ้นสุด เป็นการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องและตลอดชีวิต

Dipl.-Ing. Bawdin Wijarn

หมายเลขบันทึก: 77767เขียนเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2007 12:49 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 เมษายน 2012 15:25 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท