โคเพื่อชีวิต ตอนที่ 46 หาอะไรให้โคกินในหน้าแล้ง


เมนูทั้งหมดของกระถินเทพาที่ทดลองทำนั้นยังไม่ใช่คำตอบทั้งหมดเพราะต้องลองอีกหลายวัน อีกทั้งปัจจัยแวดล้อมที่จะให้วัวกินมากหรือน้อยก็มีมาก เช่น การทดลองเมนูอาหารนั้นทดลองในเวลาติดต่อกันและมีเมนูอาหารให้เลือกหลายอย่าง ซึ่งอาจมีผลต่อการตัดสินใจกินของวัวได้

       วันนี้อยู่ในช่วงการทดลองให้วัวกินใบมะรุม แต่เนื่องจากวัวไม่กินใบสดจึงต้องใช้เวลาตากใบมะรุมก่อน 1 วัน 

       ในขณะที่กำลังรอให้ใบมะรุมแห้งได้ที่ก็ต้องหาเมนูใหม่ให้วัวกิน ซึ่งเมนูหลักที่ให้วัวกินทุกวันก็จะเป็นยอดฟางข้าว ยอดอ้อยสับ แต่ในสวนป่าก็จะต้องหาเมนูเสริมเพื่อชดเชยอาหารหยาบจำพวกหญ้าที่ขาดแคลนในช่วงนี้

       เมนูเสริมอันแรกคือ ใบมะรุม  กำลังอยู่ในช่วงทดลอง

       เมนูที่สอง ต้นกล้วยสับ  ให้กินเฉพาะโอกาสที่ได้ตัดกล้วย

       เมนูที่สามใบกระถินเทพา  ทดลองให้วัวกินเมื่อวานตอนบ่าย ซึ่งเมนูนี้ก็ทดลองอีกเช่นเคยว่าจะเหมาะกับวัวแบบไหน

       วิธีที่หนึ่ง ยกให้ทั้งกิ่งทั้งใบสดๆ  ผลที่ได้วัวก็เมินอีกครั้ง

       วิธีที่สอง  ตากแดดหนึ่งแดดแล้ยวบดผสมกับยอดอ้อย  กินมากขึ้นวนำมาบดไม่ผสมอะไรให้กิน  ผลที่เห็นกินเล็กน้อย

      วิธีที่สาม  ใบกระถินเทพาแดดเดีและพยายามเลือกกินเฉพาะใบกระถินเทพา

      วิธีที่สาม  ใบกระถินเทพาแดดเดียวบดผสมยอดอ้อยแล้วคลุกเคล้าด้วยมันสำปะหลังบด  พบว่าเป็นเสนูที่ถูกใจวัวที่สุด

     แต่เมนูทั้งหมดของกระถินเทพาที่ทดลองทำนั้นยังไม่ใช่คำตอบทั้งหมดเพราะต้องลองอีกหลายวัน อีกทั้งปัจจัยแวดล้อมที่จะให้วัวกินมากหรือน้อยก็มีมาก  เช่น  การทดลองเมนูอาหารนั้นทดลองในเวลาติดต่อกันและมีเมนูอาหารให้เลือกหลายอย่าง  ซึ่งอาจมีผลต่อการตัดสินใจกินของวัวได้  หรือในขณะที่กำลังปรุงอาหารนั้นวัวก็จะสนใจเฉพาะมันบดในกระสอบที่วางอยู่ใกล้ ซึ่งมันบดนี้เป็นเมนูที่วัวชอบมากอาจเป็นตัวดึงความสนใจของวัวออกจากเมนูชนิดอื่นก็เป็นได้

     วันต่อไปก็ต้องทดลองอีกหลายครั้งเพื่อความถูกต้องเหมาะสม

      

หมายเลขบันทึก: 77768เขียนเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2007 12:50 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:48 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)

ทำไมต้องเป็นหรือไม่เป็นใบมะรุม ประเด็นอยู่ที่ไหน ควรแจงให้เห็นโครงสร้างแนวคิดในการทำงานก่อนการนำเสนอวิธีและผล

และต้องทำในทุกขั้นตอน

อีกประเด็นหนึ่งคือ

อย่าสับสนระหว่างการจัดการความรู้ กับการสร้างความรู้ เกี่ยวกันก็จริง แต่เป็นคนละตอน

ถึงขั้นนี้ควรแยกให้ชัดได้แล้วครับ

อาจารย์แสวงที่เคารพ

        ขอบคุณค่ะอาจารย์ที่ช่วยสะกิด เนื่องจากพบข้อมูลเกี่ยวกับมะรุมก็นำมาลองทำเลย  ยังไม่ได้บอกความเป็นไปเป็นมาว่าทำไมต้องเป็นหรือไม่เป็นมะรุม

       จะชี้แจงในบล็อกต่อไปค่ะอาจารย์

        ขอบคุณค่ะ

สวัสดีครับพี่ดาที่ไม่เหมือนเก่า ไม่เหมือนยังไงรองคิดดูนะครับ

เป็นอย่างไรบ้างครับงานยุ่งมากบ่? อย่าหักโหมหรายเดอเดียวจะไม่สบายเหมือนพี่ระยอง

ต้องขอโทษครับที่ใช้ช่องข้อคิดเห็นส่งมาถามข่าวคลาวเพราะคิดว่าต้องมาดูบัอกทุกๆ วันก็เลยส่งมาทางนี้ ถ้ามีเวลามาเยี้ยมยามแด่เดอ หรือว่าลืมน้องจากเวียงจันแล้วบ่? ฝากบอกอาจารย์ ส ร พ ร ย ด้วยนะครับว่า ยาวิเศษช่วยรักษาอาการป่วยของอาจารย์ต้องใช้นำทะเลประคบเท่านั้นถึงจะหาย

แค่นี้ก่อนครับโอกาศหน้าจะเข้ามาเยี่ยมบัอกใหม่

สวัสดีครับ

น้องแสนดี ที่คิดถึง

          ขอบคุณสำหรับความห่วงใยนะค่ะ  ที่ห่างหายไปนานเพราะไข้หวัดใหญ่รบกวนหนึ่งอาทิตย์เต็ม ๆ  พอสร่างซาหน่อยก็เลือดก็ไปเลี้ยงสมองน้อยไปนิดเลยวูบไปสี่วัน  ช่วงนี้พอมีแรงขับเคลื่อนต่อจะหาโอกาสไปอุบลให้ได้เพราะยังมีภาระติดค้างอยู่ รออีกนิดจะไปเยี่ยมให้ได้

          ยังคิดถึงเหมือนเดิมจ้า

 

ข้อเสนอเหมือนกับท่านอาจารย์แสวงนะคะ  อย่าลืมว่าตอนนี้เรากำลังศึกษาเรื่องการจัดการความรู้เรื่องการเลี้ยงโค  ไม่ใช่การสร้างความรู้ใหม่เรื่องการเลี้ยงโค 

 อาจารย์พันดา ต้องบอกให้ได้ว่าในขณะนี้การเลี้ยงโคที่บุรีรัมย์เป็นอย่างไรกันอยู่บ้าง  มีการเลี้ยงที่แตกต่างกันอย่างไร ลักษณะการเลี้ยงแบ่งออกได้กี่กลุ่ม  ถ้าพบว่ามี 2 กลุ่มเช่น เลี้ยงไว้ขาย กับเลี้ยงไว้ ใช้งานในครอบครัว  อาจารย์ก็ต้องบอกให้ได้ว่า ทั้งสองกลุ่มใหญ่ที่มี มีลักษณะอย่างไรอยู่บ้าง  อย่าหลุดประเด็นการวิจัยของอาจารย์นะคะ

สุธิดา 

อาจารย์สุทธิดา  ที่เคารพ

       ขอบคุณค่ะอาจารย์ที่ช่วยดึงกลับเข้าลู่เข้าทางอีกครั้ง  เพราะกำลังหลงไปหาความรู้ใหม่เหมือนที่อาจารย์ว่าจริง ๆ ค่ะ

      ขอบคุณค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท