การประเมินทักษะทางภาษา (15)


แนวคิดและความสำคัญของการประเมินทางภาษา ในการจัดการเรียนการสอนภาษาตามแนวการสอนภาษาเพื่อการสื่อสาร
กรอบแนวคิดในการทดสอบสมรรถภาพในการสื่อสาร (Communication Competence)  มีประเด็นที่เป็นกรอบแนวคิด  ในการทดสอบสมรรถภาพในการสื่อสารที่ครูผู้สอนควรรู้  และควรทำความเข้าใจหลายเรื่อง  
ประเด็นต่างๆได้แก่   การทดสอบสมรรถภาพในการสื่อสาร ซึ่งท่านสนใจและอ่านได้ในบันทึกนี้ค่ะ  การประเมินทักษะทางภาษา (14)
คราวที่แล้วครูอ้อยได้กล่าวถึง   วิธีการทดสอบทักษะทางภาษา  เมื่อทราบเกณฑ์การสร้างแบบทดสอบสมรรถภาพในการสื่อสารและลักษณะของภาระงานที่ใช้ในการประเมินทักษะทางภาษาตามสภาพจริงแล้ว   ครูผู้สอนควรทราบถึงวิธีการการทดสอบทักษะทั้ง 4 เพื่อจะได้สามารถเลือกไปใช้ได้ตามความเหมาะสม  สอดคล้องกับจุดประสงค์ของตน  โดยเรียงลำดับต่อไปนี้ 
1.  การทดสอบทักษะฟัง  ซึ่งประกอบด้วย  การทดสอบการจับใจความสำคัญของคำพูด (Skimming)  การทดสอบความเข้าใจข้อความ  ( Oral Comprehension)   การทดสอบรับข้อมูล (Perception)    การทดสอบคำพูด  หรือ  เรื่องราว  (Transfer the oral messages)  การเขียนตามคำบอก  (Dictation) 
2.  การทดสอบทักษะการพูด  วิธีการทดสอบทักษะพูด  เพื่อความเข้าใจ  และทักษะพูดในขั้นสื่อสาร  แบ่งออกได้เป็น 2 ลักษณะคือ  การพูดที่มีการควบคุม  และ  การพูดโดยอิสระในสถานการณ์การสื่อสารอย่างแท้จริง   
วันนี้ครูอ้อยจะกล่าวถึง  การพูดที่มีการควบคุม  สามารถทดสอบได้โดย 
1)  การให้ตัวแนะที่สามารถมองเห็นได้  นักเรียนพูดประโยคโดยมีรูปภาพเป็นสื่อ  แนกเรียนควรมีความคุ้นเคยกัสัญลักญลักษณ์ที่ใช้เสียก่อน 
2)  การให้ตัวแนะที่เป็นคำพูด  คำแนะนำสำหรับการทดสอบ  อาจใช้ภาษาแม่  หรือภาษาที่เรียน  หรือในบางครั้งอาจเขียนก็ได้ 
3)  การสอบพูดปากเปล่า  ด้วยวิธีการทดสอบแบบโคลซ  การเลือกข้อความสำหรับข้อสอบใช้วิธีเดียวกับการเลือกข้อความสำหรับให้เขียนตามคำบอก  โดยอาจบีนทึกเทปจากรายการวิทยุ  หรือข้อความอื่นๆ  ที่อยู่ในรูปแบบของการพูด  แต่ข้อความไม่ควรยากเกินไป  แบบสอบชนิดนี้  นักเรียนจะได้ฟังข้อความ  2  ครั้ง  ครั้กแรกฟังข้อความทั้งหมด  (อาจให้ฟัง 2 ครั้ง  ก้ได้ขึ้นอยู่กับผู้สอน)  หลังจากนั้นให้นักเรียนฟังข้อความที่มีบางตอน  เว้นว่างไว้ให้เติม  นักเรียนจะต้องพูดแล้วเติมช่งว่างด้วยข้อความที่เหมือนกันที่ได้ยินมาแล้วในรอบแรก 
4)  การเล่าเรื่อง (Narrative Task)  เช่น  ครูเล่าเรื่องให้นักเรียนฟัง  แล้วให้นักเรียนเล่าต่อให้เพื่อนฟัง  แล้วบันทึกเทปไว้สำหรับให้คะแนนภายหลัง  การให้คะแนนอาจให้ตามประสิทธิภาพของการสื่อสารทั้งหมด  หรือให้ตามรายละเอียดหลักๆ  ของเรื่องที่มีผลต่อความเข้าใจในเนื้อเรื่อง 
5)  ให้พูดตามสถานการณ์สมมติ  โดยใช้ภาษาตามหน้าที่ (Function)  ที่เหมาะสม  
วันนี้ครูอ้อยขอเขียนบันทึกเพียงเท่านี้นะคะ  พรุ่งนี้ครูอ้อยจะเขียนเรื่อง.....การพูดโดยอิสระในสถานการณ์การสื่อสารอย่างแท้จริง   
หมายเลขบันทึก: 77474เขียนเมื่อ 9 กุมภาพันธ์ 2007 19:21 น. ()แก้ไขเมื่อ 5 พฤษภาคม 2014 15:23 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท