แนะนำหน่วยกรมน้ำ


กรมชลประทาน

ประวัติความเป็นมา
         
การขลประทานในจังหวัดชุมพร  ได้เกิดขึ้นเป็นครั้งแรกในสมัยหม่อมหลวงชูชาติ กำภู  ขณะนั้นท่านดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมชลประทาน  เนื่องจากเมืองชุมพรตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำท่าตะเภา  ซึ่งประกอบด้วยลำน้ำ 2 สาขา คือ คลองท่าแซะ และ คลองรับร่อ ไหลมาบรรจบกันเป็นแม่น้ำท่าตะเภา ที่ ต.นากระตาม อ.ท่าแซะ จ.ชุมพร ถ้าเกิดฝนตกติดต่อกันหลายวันมักจะทำให้เกิดน้ำท่วมขังในเขตเทศบาลเมืองชุมพรเป็นประจำอยู่เช่นนี้ทุก ๆ ปี  สส.สมัยนั้นร่วมกับทางจังหวัดชุมพรได้ทำเรื่องร้องเรียนแก้ไขเพื่อช่วยเหลือราษฎรเนื่องจากอุทกภัย  ซึ่งกรมชลประทานได้ดำเนินการสำรวจรายละเอียดและวางโครงการฯ  โดยจัดทำเป็นโครงการประเภทป้องกันอุทกภัยขึ้น โดยการระบายน้ำส่วนหนึ่งออกสู่ทะเล  โดยเริ่มสำรวจก่อสร้างปี 2494 แล้วเสร็จในปี 2497  ซึ่งถือเป็นต้นกำเนิดการชลประทานในจังหวัดชุมพร
          ที่ตั้งโครงการในปัจจุบัน  โครงการชลประทานชุมพร  ตั้งอยู่เลขที่ 162 หมู่ที่ 1 ต.นาชะอัง อ.เมือง จ.ชุมพร
โทรศัพท์. 077-511455 อยู่ห่างจากตัวเมืองไปทางทิศเหนือตามถนนไตรรัตน์ ประมาณ 3.000 กม. และอยู่ห่างจากสี่แยกปฐมพร ประมาณ 8.000 กม.

วิวัฒนาการชลประทานในประเทศไทย
          ผู้ที่สนใจสามารถดูเนื้อหาได้ที่.......
http://www.rid.go.th/main2.htm

คำสำคัญ (Tags): #km#for#public#administration
หมายเลขบันทึก: 773เขียนเมื่อ 4 กรกฎาคม 2005 10:26 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 13:52 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

อยากให้เล่าผลงานที่โครงการชลประทานชุมพรภูมิใจ  เอาเรื่องที่คิดกันเอง   ไม่ใช่สั่งการมาจากกรม    เรื่องเล็กๆ ก็ได้ครับ   แต่น่นภาคภูมิใจ   เพราะเราคิดกันเอง   และชาวบ้านได้ประโยชน์

วิจารณ์

เรียน  อาจารย์วิจารณ์
         ขอขอบคุณท่านอาจารย์น่ะครับ ที่ให้ความสนใจกับ BLOG ของหน่วยงานผม ก่อนอื่นขอเล่าเหตุการณ์ส่วนหนึ่งของ จ. ชุมพร สั้น ๆ ให้อาจารย์ทราบก่อนว่า ในอดีตจังหวัดชุมพร จะมีชื่อเสียงเรื่องนำท่วมเป็นประจำในช่วงฤดูน้ำหลากแล้วประชาชนมักจะมีความหวาดกลัว และโทรมาสอบถามข้อมูลระดับน้ำว่าน้ำจะท่วมจังหวัดชุมพรหรือไม่เป็นประจำ
         ทางหน่วยงานจึงได้คิดว่า น่าจะหาวิธีที่ทำให้ประชาชนรับทราบสภาวะเหตุการณ์ที่จะเกิดน้ำท่วมให้ประชาชนในหมู่มากได้รับทราบโดยไม่จำเป็นต้องโทรมาสอบถามที่โครงการ โดยใช้วิธีปักธงสีต่าง ๆ ตามจุดที่สำคัญ ๆ เพื่อบอกสภาวะเหตุการณ์ที่เกิดน้ำท่วมได้ดังนี้
        ธงเขียว  หมายถึง สภาวะเหตุการณ์น้ำปกติ
        ธงเหลือง หมายถึง ให้ประชาชนเตรียมตัวและบ่งบอกถึงภัยน้ำท่วมใกล้จะมาถึง
        ธงแดง หมายถึง ขณะนี้อยู่ในสภาวะวิกฤติแล้ว
        ดังนั้น  เมื่อประชาชนได้เห็นสีของธงก็จะเข้าใจได้เป็นอย่างดี
        นี่คือความภูมิใจอย่างหนึ่งที่ได้ให้บริการประชาชน
                                                            ขอแสดงความนับถือ
                                                          โครงการชลประทานชุมพร

 

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท