การถ่ายทอดความรู้


สารพัดวิธีในการถ่ายทอดความรู้ให้ผู้อื่น วิธียอดฮิตก็น่าจะเป็น Storytelling ซึ่งเป็นวิธีที่ง่ายต่อการถ่ายทอด แต่ถึงแม้ว่าเราจะเล่าเรื่องดีแค่ไหน แต่ในบางครั้งการที่ให้ผู้ฟังได้ไปสัมผัสกับเหตุการณ์จริง ก็น่าจะเป็นวิธีถ่ายทอดที่ดีกว่า ซึ่งข้าพเจ้ากำลังพูดถึงวิธีถ่ายทอดความรู้อีกวิธีหนึ่ง ซึ่งได้รับจากประสบการณ์จริงจากที่ทำงาน ในที่ทำงาน ผู้บริหารหลาย ๆ ท่าน ชอบที่จะใช้วิธีนี้กัน ซึ่งเราก็เรียกกันจนติดปากว่า "วิธีจับโยนน้ำ" คือ เป็นการเปรียบเทียบกับผู้ที่ว่ายน้ำไม่เป็น ถ้าโดนจับโยนน้ำแล้วไม่ตะเกียกตะกายหาทางรอด ก็จะจมน้ำตายในที่สุด ซึ่งถ้าเราจะสอนเขาว่ายน้ำตามหลักการรและวิธีที่ถูกต้อง ก็อาจจะต้องใช้เวลาสอนกันนาน ซึ่งข้าพเจ้าก็เห็นด้วยที่ผู้บริหารใช้วิธีนี้ เพราะเป็นวิธีถ่ายทอดความรู้ที่ดี ได้เผชิญทุกสิ่งทุกอย่างในสนามแห่งชีวิตจริง ทุกคนจะเกิดการขวนขวาย ดิ้นรน และเกิดการเรียนรู้ในที่สุด
คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 765เขียนเมื่อ 4 กรกฎาคม 2005 09:09 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 มิถุนายน 2012 13:16 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

วิธีการเช่นนี้ก็มีทั้งข้อดีและข้อเสีย   ผู้บริหารอ้างว่าไม่มีเวลาสอนงาน (ก็จริงอยู่) แต่อย่างน้อยการจับโยนทิ้งให้ไปเรียนรู้เอาเอง บางทีแม้เขาจะได้เรียนรู้จากประสบการณ์ปฎิบัติตรง แต่อาจเสียความรู้สึกกับผู้บริหารอย่างสุด ๆ เรียกว่าแทนที่จะสร้างความมั่นใจ กลับ "ฝ่อ"ไปเลย พาลจะลาออกกันได้ดื้อ ๆ แม้จะในภาวะเศรษฐกิจเช่นนี้ก็ตาม

ผู้บริหารที่เป็นมวย   เขามักจะประเมินก่อนว่า  น้ำตรงไหน ตื้น-ลึกเพียงไร

และคนที่ยังว่ายน้ำไม่เป็นเลยก็อาจไม่ลึกท่วมหัว

แต่คนที่พอเป็นบ้าง  ก็อาจจะต้องหาที่ลึกประมาณ คอ

จนกว่าจะแน่ใจว่า  คนๆนั้นว่ายน้ำได้แล้ว  จึงจะมองหาสระที่ท่วมหัว

แต่สำหรับคนที่เข้าขั้นเชี่ยวชาญ  ก็สามารถที่จะว่ายน้ำที่ระดับท่วมหัว  และในระยะทางไกลออกไปได้

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท