ที่มาของพระพุทธรูปปางมหาจักรพรรดิ์


พระพุทธรูปปางมหาจักรพรรดิ์        ตามตำนานพุทธประวัติที่หลวงปู่ดู่ พรหมปัญโญเล่าให้สานุศิษย์รู้ไวว่า ในสมัยพุทธกาลมีพระมหากษัตริย์ผู้เรืองอำนาจองค์หนึ่งซึ่งเป็นกษัตริย์ปกครองเมืองปัญจาลราษฐ พระนามว่า พญาชมพูบดี กล่าวกันว่าพร้อม กับการประสูติของพระองค์ ขุมทองในที่ต่าง ก็ผุดขึ้นมามากมาย อันแสดงถึงบุญญาธิการของ     พระองค์ประชาชนในเมืองจึงมีฐานะความเป็นอยู่ที่มั่นคั่งสมบูรณ์ พญาชมพูบดี ทรงมีอาวุธวิเศษ อย่าง คือฉลองพระบาทแก้ว ซึ่งเมื่อสวมเขาไปแล้วก็จะพาพระองค์เหาะไปในที่ต่าง ได้ ทั้งยังใช้อธิษฐานแปลงเป็นนาคราชเข้าประหัตประหารศัตรูได้อีกด้วย อาวุธวิเศษอย่างที่สองคือ วิษศร ซึ่งเป็นลูกศรวิเศษใช้ต่างราชทูตหากกษัตริย์เมืองใดไม่มาอ่อนน้อมขึ้นต่อพระองค์ วิษศรนี้ก็จะไปร้อยพระกรรณพาตัวมาเข้าเฝ้าพระองค์จนได้ทำให้กษัตริย์ทั้งหลายพากันยำเกรงในพระเดชานุภาพแห่งพญาชมพูบดีรุกรานพระเจ้าพิมพิสาร        ด้วยอาวุธวิเศษคู่พระกาย พระองค์ได้ขยายอาณาเขตออกไปอย่างกว้างขวางกระทั่งถึงกรุงราชคฤห์ของพระเจ้าพิมพิสารผู้เป็นพุทธอุบาสกแห่งสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าอาวุธวิเศษของพระองค์ก็ไม่อาจทำอันตรายแก่พระเจ้าพิมพิสารได้ด้วยอาศัยพระพุทธานุภาพ พญาชมพูบดีทรงแค้นพระทัยมาก แม้จะส่งอาวุธอย่างใดมาก็พ่ายแพ้แก่พุทธจักร และพุทธานุภาพแห่งพระพุทธองค์พระพุทธองค์ทรงนิมิตองค์เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ์        เมื่อพระพุทธองค์ทรงเห็นว่าพญาชมพูบดีประสบความพ่ายแพ้ มีทิฎฐิมานะเบาบางลงประกอบกับทรงเล็งเห็นวาสนาปัญญาของพญาชมพูบดี ที่จะสามารถสำเร็จมรรคผลได้ จึงมีพุทธฎีกาตรัสใช้ให้องค์อินทร์แปลงเป็นราชทูตพาพญาชมพูบดีมาเข้าเฝ้า ส่วนพระพุทธองค์ทรงนิมิตองค์เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ์ทรงเครื่องราชาภรณ์ล้วนแต่งดงาม ส่วนพระสารีบุตรและพระโมคคัลลานะเถระเจ้า พร้อมด้วยเหล่าภิกษุสงฆ์สาวกก็เนรมิตกายเป็นเสนาบดีใหญ่น้อย ล้วนแต่น่ากรงขามทั้งเนรมิตเวฬุวัน ให้เป็นพระนครใหญ่ประกอบด้วยกำแพงถึง ชั้น และมีพุทธฎีกาตรัสสั่งให้เทวดา อินทร์ พรหม คนธรรพ์ และนาค ร่วมเนรมิตเป็นตลาดน้ำและตลาดบกพญาชมพูบดีเขาเฝ้าพระพุทธองค์        เมื่อองค์อินทร์ซึ่งเนรมิตกายเป็นราชทูตไปถึงเห็นพญาชมพูบดี และเหล่าเสนาอำมาตย์ยังถือดี จึงแสดงฤทธานุภาพเป็นที่ประจักษ์ พญาชมพูบดีไม่อาจแข็งขืนจำยอม ต้องยกพลเดินทัพเพื่อเข้าเฝ้าพระพุทธองค์ เมื่อพญาชมพูบดีเดินทางเข้าเขตพระนครก็ตกตะลึงกับความยิ่งใหญ่อลังการแห่งพระนครที่พระองค์ทรงเนตมิต ซึ่งแม้แต่เหล่าแม่ค้าริมทางก็ยังงดงามกว่าอัครมเหสีของพญาชมพูบดี จนชวนให้รู้สึกขวยเขินก้าวเดินไม่ตรงทาง และเมื่อผ่านมายังกำแพงพระนครแต่ละชั้นทอดพระเนตรเห็นเหล่าเสนาอำมาตย์ที่รักษากำแพงพระนครพระทัยก็ประหวั่นพรั่นกลัว พระเสโทไหลโทรมทั่วพระสกลกาย ถึงกำแพงชั้นในซึ่งเป็นแก้ว ก็ทำท่าจูงกระเบน    เหน็บรั้ง ด้วยเข้าพระทัยผิดคิดว่าเป็นเสียงนางในร้องเย้ยเยาะว่ากษัตริย์บ้านนอก กระทำเชย พระองค์ก็รู้สึกได้รับอัปยศอย่างยิ่งพระพุทธองค์แสดงธรรมโปรดพญาชมพูบดี        พญาชมพูบดีเมื่อทรงมาถึงต่อหน้าพระพักตร์แห่งพระบรมศาสดา ซึ่งเนรมิตกายเป็นพระเจ้าจักรพรรดิ์ก็ยังไม่หมดทิฎฐิมานะ และเมื่อพระพุทธองค์เชื้อเชิญให้แสดงฤทธิ์เดชอำนาจและของวิเศษทุกสิ่งทุกอย่างออกมาพญาชมพูบดีก็ต้องได้รับความอัปยศยิ่งขึ้นไปอีก ด้วยไม่อาจทำอันตรายพระพุทธองค์ได้เลยแม้แต่น้อย เมื่อ  พระพุทธองค์ทรงพิจารณาเห็นว่าพญาชมพูคลายทิฎฐิมานะลงมากแล้ว จึงทรงแสดงพระธรรมเทศนาโปรดพญาชมพูบดี และเหล่าเสนาอำมาย์ที่ติดตามมาด้วยจำนวนมากให้เห็นสิ่งที่เป็นสาระและมิใช่สาระ ให้เห็นโทษแห่งการเวียนเกิด เวียนตาย ในวัฎสงสารทั้งให้เห็นคุณแห่งพระนิพพาน พญาชมพูบดีและเหล่าเสนาอำมาตย์ต่าง       รู้สึกปิติโสมนัส ปลดมงกุฎและและเครื่องประดับของตนวางแทบพระบาทแห่งพระศาสดา เพื่อสักการะด้วยความรู้สึกเทิดทูล ขออุปสมบทต่อพระพุทธองค์        จากนั้นพระพุทธองค์พร้อมด้วยพระภิกษุสงฆ์สาวก เทวดา อินทร์ พรหม คนธรรพ์ และนาคก็คลายฤทธานุภาพกลับสู่สภาพเดิม พระพุทธองค์ทรงประทานอุปสมบทแก่พญาชมพูบดีพร้อมทั้งเหล่าอำมาตย์และทรงแสดงพระธรรมเทศนาให้คลายความลุ่มหลงในเบญจขันธ์มีรูป เป็นต้น ว่าดั่งอุปมาดั่งพยับแดด หาสารตัวตนที่เที่ยงแท้อันใดมิได้ และแสดงธรรมเทศนาต่าง เป็นเอนกปริยาย พญาชมพูบดีและเหล่าเสนาอำมาตย์ก็ดื่มด่ำในพระอมตธรรมสลัดเสียซึ่งตัณหา อุปทาง จิตของท่านก็เข้าอรหัตผล สำเร็จเป็นพระอริยบุคคลในพระบวรพุทธศาสนา--------------------------------------คาถาบูชาพระพุทธรูปปางมหาจักรพรรดิ์นะ โม พุท ธา ยะ พระพุทธไตรรัตนญาณ มณีพนรัตน์สีสะหัสสะ สุธรรมา พุทโธ ธัมโม สังโฆยะธาพุทโมนะ พุทธบูชา ธัมมะบูชา สังฆะบูชาอัคคีทานัง วะรังคันธัง สีวลี จะมหาเถรังอะหังวันทามิ ทูระโต อะหังวันทามิ ธาตุโยอะหังวันทามิ สัพพะโสพุทธะ ธัมมะ สังฆะ ปูเชมิ.-------------------------------------- หมายเหตุ   พระพุทธรูปปางมหาจักรพรรดิ์ องค์ใหญ่ประดิษฐานอยู่ที่ วัดหน้าพระเมรุ   .พระนครศรีอยุธยา.พระนครศรีอยุธยา เมื่อครั้งกรุงศรีอยุธยาพม่าเคยใช้บริเวณวัดนี้เป็นฐานทัพ และได้ตีกรุงศรี      อยุธยาแตกได้เผาวัดวาอารามหลายแห่งแต่ไม่กล้าเผาวัดนี้ เพราะเกรงกลัวพระพุทธรูปปางมหา  จักรพรรดิ์ นั่นเอง.              

คำสำคัญ (Tags): #พระพุทธเจ้า
หมายเลขบันทึก: 76739เขียนเมื่อ 6 กุมภาพันธ์ 2007 21:30 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 23:11 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

ต้องขอขอบคุณ  คุณธนศิริ

                   ผมกำลังหาประวัติความเป็นมาของพระพุทธรูปปางทรงเครื่องอย่างละเอียดอยู่พอดี ก็มาอ่านเจอเข้า ก็ต้องขอขอบคุณครับ พระพุทธรูปปางมหาจักรพรรดิ์ หรือที่เรียกกันทั่ว ๆ ไปว่า ปางทรงเครื่อง หรือทรงเครื่องใหญ่  หรืออีกนัยหนึ่งเขาก็หมายถึงพระศรีอริยเมตตรัย

               พระพุทธรูปทรงเครื่องในพระอุโบสถวัดหน้าพระเมรุ มีชื่อว่า  พระพุทธนิมิตวิชิตมารโมลีศรีสรรเพชญบรมไตรโลกนาถ  ไม่แน่ใจเท่าใดนัก คิดว่าชื่อนี้ 99.99 %

28/84 หมู่ 6 หมู่บ้านชวนชื่น (ศรีนครินทร์-เทพารักษ์)

ถนนเทพารักษ์  ต.บางเมืองใหม่

อ.บางเมือง สมุทรปราการ 10270

โทร.02-7101949

ส่ง CD,DVD มาให้ดูบ้าง

ขอบคุณมั่กมากเลยค่ะสำหรับประวัติพระปรางค์ชมพูบดี

ขอบคุณความรู้พุทธประวัติค่ะ

สุวรรณา สิทธิอุปัชชาย์

สาธุๆๆ

ท่านปู่อนัตนาคราช มาบอกว่า พ่อส่งของ(ปรางจักรพรรดิ์) พ่อขึ้นมาให้เจ้าจากเมืองบาดาล ขึ้นมาตรงรอยพระพุทธบาท ให้เจ้าขึ้นไปรับเอาไว้

ระหว่างที่รอวันหยุดวันออกพรรษา จะขึ้นไปรับ มาเช็คประวัติ พระปรางมหาจักรพรรดิ ช่างมาตรงกับบทที่สวดทุกวันอีก

สาธุๆๆ

เหมือนฝันไปเลยค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท