นำชม คนเขมรบริจาคเลือด


วันที่ 18 ธันวาคม 2549 เราได้ไปเที่ยวคลังเลือดกัน ไปชมคนเขมรบริจาคเลือด....

อาจารย์สา เรน คุณแม่ชีมาลี คุณแม่ชีพรทิพย์ และผู้เขียนมีโอกาสเดินทางไปกัมพูชาในระหว่างวันที่ 15-19 ธันวาคม 2549 เพื่อไปทำบุญ และช่วยกันขนหนังสือ ตำรับ ตำรามากมายหลายลังไปวัดเวฬุวัน พนมเปญ...

ผู้เขียนเตรียมพลาสเตอร์ยา และเงินไว้สำหรับไปทำบุญที่คลังเลือด 

ท่านพระอาจารย์สา แอม อาจารย์ใหญ่ที่นั่นบอกว่า รู้จักกับท่านอาจารย์หมอวี โรงพยาบาลอองดวง ท่านเป็นหมอที่สนใจศึกษาพระไตรปิฎก

วันที่ 18 ธันวาคม 2549 เราได้ไปเที่ยวคลังเลือดกัน ไปชมคนเขมรบริจาคเลือด....

    ภาพที่ 1: ท่านอาจารย์หมอวีนำเราไปเที่ยวคลังเลือด (พระภิกษุในภาพคือ ท่านพระอาจารย์สา แอม)

    ภาพที่ 2: คลังเลือดที่นั่นแจกเสื้อยืด ด้านหลังเขียนไว้ว่า "การสละเวลา 1 ชั่วโมงของท่านช่วยชีวิตคนอื่นได้"...

    ภาพที่ 3: ด้านหน้าเสื้อยืดมีเครื่องหมายกาชาด... พลิกไปดูที่ปกเสื้อด้านในจะพบคำรับรองว่า "สีไม่ตก" และ "ทำในประเทศไทย"

ขอเรียนเชิญท่านผู้อ่านชมภาพ และบรรยากาศการบริจาคเลือดแบบเขมรได้ที่บันทึก "จุมเรียบซัว(สวัสดี)กัมพูชา ตอน ๑๓, ๑๔"

    ขอขอบพระคุณ:

  • ท่านพระอาจารย์สา แอม วัดเวฬุวัน พนมเปญ กัมพูชา
  • ท่านอาจารย์สาเรน วัดเวฬุวัน พนมเปญ กัมพูชา
  • ท่านอาจารย์หมอวี โรงพยาบาลอองดวง พนมเปญ กัมพูชา
  • คลังเลือด โรงพยาบาลอองดวง พนมเปญ กัมพูชา
หมายเลขบันทึก: 76632เขียนเมื่อ 6 กุมภาพันธ์ 2007 14:44 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:47 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

กราบขอบพระคุณ คุณหมอที่ไปเยี่ยมที่บ้านครับผม  มุกกี้เคยไปพนมเปญ ช่วงที่เค๊ามีรณรงค์บริจาคเลือดเหมือนกัน  จำไม่ถนัดว่าเป็นช่วงที่คุณหมอกล่าวถึงหรือไม่  แต่เท่าที่สอบถามจากลูกค้าที่ไปด้วยกัน  รู้สึกว่า ความรู้สึกของคนกัมพูชา ต่อการบริจาคเลือด จะไม่ค่อยดีเท่าไหร่  เค๊ายังคิดว่ามันไม่ปลอดภัย  หรือจะทำให้เค๊าเป็นอันตรายอ่ะครับ...

แต่สำหรับมุกกี้ ที่บริจาคเลือดมา  มากว่า 10 ครั้ง ในชีวิต  ก็พยายามอธิบายให้ลูกค้าเค๊าทราบ  ถึงข้อดีต่าง ๆ ทั้งต่อตนเอง และผู้อื่นด้วย  แต่ก็คงจะเปลี่ยนแปลงความคิดเค๊าไม่ได้มากนักหรอกครับผม....

 ขอบพระคุณอีกครั้งครับ

ขอขอบคุณ... คุณ mookie

  • ก่อนอื่นขอกราบอนุโมทนาในกุศลเจตนาของคุณ mookie ที่บริจาคมากถึง 10+ ครั้ง แถมยังชวนคนอื่นบริจาคเลือดอีก... สาธุ สาธุ สาธุ

สยาดอ (เจ้าอาวาส) อู วิโรจนะ เนตองอู ท่าขี้เหล็ก + สยาดอ (เจ้าอากาส) อู ลักขณะ เมืองสกายน์ พม่า เพิ่งกล่าวตรงกันในรอบ 2+ สัปดาห์ว่า

  • ชาวพม่าถือว่า การบริจาคเลือดเป็นการ "ซี-วิ-ต๊ะ-ด้า-หนะ (ชีวิตทาน)" ซึ่งพระสัมมาสัมโพธิสัตว์บำเพ็ญบารมีด้วยการบริจาคเลือด และอวัยวะเป็นทานมาโดยตลอด

ชาวแขมร์...

  • ชาวเขมรส่วนใหญ่จะคล้ายชาวพม่าตรงที่กลัวว่า บริจาคเลือดไปแล้วสุขภาพจะไม่ดี
  • เรื่องนี้ผมมีโอกาสไปเรียนถามท่านอาจารย์ อู เข่ง จี วีน... อดีตอาจารย์คณิตศาสตร์ มหาวิทยาลัยร่างกุ้ง ผู้บริจาคเลือดมาแล้วอย่างน้อย 101 ครั้ง (ท่านชวนไปชมการบริจาคครั้งที่ 101 ครั้ง และบอกจะเลี้ยงข้าวด้วยถ้าไปชม)

ท่านบอกว่า นับแต่ท่านอายุ 17 ปี และตั้งความปรารถนาบริจาคเลือดตลอดชีวิต... นับแต่นั้นมา ไม่เคยป่วยหนักเลยจนอายุเกือบ 60 ปี

  • สังเกตดูจากผู้บริจาคเลือดขาประจำในไทย... ส่วนใหญ่จะมีสุขภาพดีกว่าประชากรเช่นกันครับ

ขอขอบพระคุณที่แวะมาเยี่ยมเยียน...

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท