มองดูจิตถ้าคิดพัฒนา


ความดีหามาไว้ถ้าไม่ใช่ให้ตัดออก
   แต่ก่อนปู่ ย่า ตา ยาย สอนให้เราพัฒนาความเป็นมนุษย์โดยการ "มองดูตน"ค้นหาว่าเรามีความดี(บุญ)อะไรให้รักษาไว้และหมั่นหามาเพิ่ม หรือสะสมอยู่เสมอ ทางตรงกันข้ามเรามีสิ่งไม่ดี(บาป)เราต้องค่อยๆตัดออกให้หมด และอย่าสะสมไว้ในตนอีก แต่การมองดูตนต้องดูที่แก่น คือ มองดูที่จิต ว่าสิ่งที่ทำให้จิตขุ่นมัว มืดดำมันคืออะไร แต่ละคนจะมีเหตุต่างกัน ถ้าพบเหตุก็แก้ที่เหตุ จิตก็เหมือนน้ำใส แต่มันมัวเพราะมีฝุ่นผงของความเลวร้ายต่างๆฟุ้งอยู่เต็มไปหมด ถ้าทุกอย่างนิ่งเราจะเห็นน้ำใสกับตะกอนแยกจากกัน เห็นฝุ่นผงที่ตกตะกอนได้ง่าย เหตุใดฝุ่นผงเหล่านั้นจึงไม่ตกตะกอน และแม้บางครั้งตกตะกอนก็ยังไม่เห็นตะกอนนั้น ท่านบอกว่า ถ้ามองดูจิต จะมีม่านกีดกั้นการมองเห็นความชั่วร้ายที่อยู่ในจิตของแต่ละคนต่างกัน บางคนพอใจในรูป รส กลิ่น เสียง สัมผัสหรือความสนุก ก็เปรียบเหมือนน้ำใสแต่เราอยากสวยก็เอาสีใส่เข้าไป ก็ทำให้มองไม่เห็นสิ่งที่อยู่ภายใน บางคนมีความพยาบาทมาก เหมือนน้ำที่เดือดพล่าน บางคนหดหู่เซื่องซึมท้อแท้ในชีวิตเหมือนน้ำที่เต็มไปด้วยสาหร่าย บางคนฟุ้งซ่านกังวน ก็เหมือนน้ำกระเพื่อมเป็นคลื่นไปมา บางคนร้ายสุดๆไม่เชื่อในศาสนาคำสอนก็เหมือนน้ำใสที่ตั้งในที่มืด ทั้งหมดเป็นเหตุที่เราไม่สามารถมองเห็นสิ่งที่อยู่ภายในจิตได้ แต่ละคนจะมีม่านดังกล่าวหลายอย่างได้ บางทีก็เปลี่ยนไปตามเวลา ถ้าหมั่นดูและสังเกตุเสมอก็จะรู้ว่าเราเป็นคนแบบใด เช่น แบบอยู่ในที่มืดก็เพียงเปิดไฟก็มองเห็นของที่อยู่ภายในแล้ว เมื่อเห็นเหตุก็แก้ที่เหตุ แล้วลดเหตุชั่วร้าย และไม่นำเข้ามาอีก ก็เรียกว่าพัฒนาตนอย่างต่อเนื่องตามคำที่ ปู่ ย่า ตา ยาย สอนไว้แล้วครับ..
คำสำคัญ (Tags): #แนวพุทธ
หมายเลขบันทึก: 7631เขียนเมื่อ 20 พฤศจิกายน 2005 20:52 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 14:07 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท