7 ประเด็นน่าคิดจากเรื่องเศรษฐกิจพอเพียง ช่วง ก.พ.2550


เป็นปรัชญาที่สร้างสังคมแห่งความพอและมีความสุขในความพอ โดยความพอนี้ต้องเป็นความพอที่ไม่เร่าร้อน




1. ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงที่ผู้ประกอบการนำไปบริหารธุรกิจของตนเอง ซึ่ง พล.อ. สุรยุทธ์ จุลานนท์ ได้กล่าวในระหว่างปาฐกถาพิเศษของสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย  มี 7 ประเด็น

1) ใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม ราคาไม่แพง
2)  ผลิตสินค้าให้สอดคล้องกับทุนทรัพย์
3) ไม่คาดหวังกำไรเป็นหลัก แต่มองถึงกำไรในระยะยาว
4) เน้นสุจริต ไม่เอาเปรียบการใช้แรงงานและลูกค้า
5) ผลิตผลิตภัณฑ์ให้หลากหลาย เพื่อลดความเสี่ยง
6) ไม่ก่อหนี้สินโดยไม่จำเป็น ซึ่งการขยายกิจการควรรอให้มีผลกำไรจึงค่อยนำมาขยายกิจการ
7) เริ่มต้นธุรกิจโดยเน้นตลาดผู้บริโภคในท้องถิ่นก่อนขยายไปในระดับประเทศ และสุดท้ายจึงไปสู่ตลาดโลก เพราะเศรษฐกิจพอเพียงจะเน้นให้กิจการเติบโตไปได้ด้วยดี ไม่ขัดแย้งกับระบบทุนนิยม เพราะไม่ได้เน้นกำไรสูงสุด แต่เน้นความพอเพียง

2. แนวทางเศรษฐกิจพอเพียงเหมาะสมกับประเทศไทยเป็นอย่างยิ่ง การสื่อสารนโยบายดังกล่าวให้ต่างประเทศเข้าใจแนวนโยบายนี้ ไม่ยากเย็นอะไร เพราะมีตัวอย่างมากอยู่แล้ว  (ธีรภัทร์ เสรีรังสรรค์)

3.นโยบายเศรษฐกิจพอเพียงเป็นนโยบายที่เหมาะสมกับเศรษฐกิจไทย เพราะไม่ทำให้เศรษฐกิจเติบโตแบบเกินกำลังของตัวเอง ไม่ก่อให้เกิดปัญหาวิกฤติเศรษฐกิจเช่นในปี 2540 (ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล)

4. นโยบาย “ทักษิโณมิก” ของรัฐบาลชุดก่อน หากดำเนินนโยบายในลักษณะนั้นต่อไปอีก 3 ปี จะทำให้เศรษฐกิจเข้าสู่ภาวะวิกฤติ เนื่องจากมีการใช้จ่ายเกินตัวและใช้จ่ายอย่างสุรุ่ยสุร่าย  (ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล)

5. ระบบทักษิโณมิกของรัฐบาลที่ผ่านมา โดยเฉพาะเรื่องระบบประชานิยมขาดความรอบคอบทั้งในเรื่องการบริหารจัดการ งบประมาณ ทำให้เกิดปัญหาตามมาอย่างมาก (ร.อ.ยงยุทธ มัยลาภ)

6. ตลอดปีที่ผ่านมาปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเป็นเรื่องที่ฮือฮามาก แม้แต่นายโคฟี อันนัน อดีตเลขาธิการใหญ่องค์การสหประชาชาติ ที่ได้รับรู้หลักการดังกล่าวก็รู้สึกตื่นเต้น และขอเข้าเฝ้าฯ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเพื่อถวายรางวัล... ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไม่ทำให้เกิดประโยชน์เฉพาะประเทศไทย แต่ยังเหมาะสมสำหรับทุกประเทศที่ต้องการสร้างความเข้มแข็ง ขณะนี้ประเทศเพื่อนบ้านได้นำไปใช้บ้างแล้ว อาทิ กัมพูชา ได้จัดตั้งหมู่บ้านหนึ่งนอกกรุงพนมเปญ ทดลองนำร่องปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง (นพ.เกษม วัฒนชัย)

7. ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไม่ใช่เรื่องไกลตัวหรือยุ่งยาก แต่เป็นปรัชญาที่สร้างสังคมแห่งความพอและมีความสุขในความพอ โดยความพอนี้ต้องเป็นความพอที่ไม่เร่าร้อน ไม่ใช่ปากว่าพอ แต่คอยโกงโน่นโกงนี่  (นพ.เกษม วัฒนชัย)
หมายเลขบันทึก: 76028เขียนเมื่อ 2 กุมภาพันธ์ 2007 22:56 น. ()แก้ไขเมื่อ 9 มิถุนายน 2012 15:48 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

คุณบอนค่ะ

ต้องขอบอกว่า เป็น 7 ประเด็นที่น่าคิดจริง ๆ ค่ะ
ดิฉันคิดว่า เมื่อรู้จักพอเพียง ความอยากได้อยากมีก็น้อยลง ทำให้แนวความคิดของตนเองเปลี่ยนไปด้วย สิ่งที่อยากได้อยากมีก็น้อยลง ทุกข์ก็เกิดน้อยลง เพราะรู้สึกว่าไม่มีก็ได้ ตัวเราเองก็สามารถดำเนินชีวิตไปได้

ดิฉันว่าเป็นสิ่งที่ดีนะค่ะ

ขอบคุณครับพี่มะปราง
   เืรื่องเศรษฐกิจพอเพียงนี้ หลายคนยังเข้าใจไม่ถูกต้องนัก ถ้าจะรวมความเห็นของพี่มะปราง ก็จะเป็น 8 ประเด็นน่าคิด
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท