ที่คั่นหนังสือกับการพับมุมหนังสือ ความหมายที่ต่างกัน


การได้รับอรรถรสและความรู้จากการอ่านอย่างเต็มที่จากหนังสือเล่มนั้น ถือว่า หนังสือเล่มนั้น ได้ทำหน้าที่ถ่ายทอดเรื่องราวตามวัตถุประสงค์เริ่มแรกในการจัดทำหนังสือเล่มนั้นแล้ว

เมื่ออ่านหนังสือ แล้วพบข้อความสำคัญ หรือหน้าที่อยากจะกลับมาอ่านอีก หลายคนจะทำสัญลักษณ์ไว้ ตั้งแต่การพับมุมเล็กๆที่หน้าหนังสือ การใช้ปากการะบายสีข้อความ (Hilight) หรือการใช้ที่คั่นหนังสือ


การทำสัญลักษณ์ไว้ในแบบที่ต่างกัน มีนักอ่านหนังสือที่กาฬสินธุ์ได้ให้ความเห็นที่ต่างกันไว้

- การพับมุมไว้  เป็นการทำสัญลักษณ์ที่สะดวกและง่ายที่สุด ในการย้อนกลับมาเปิดอ่านข้อความสำคัญในหน้านั้นได้สะดวกขึ้น

- การใช้ปากกาเน้นข้อความ ทำให้สังเกตพบข้อความสำคัญได้ง่าย สะดวกและประหยัดเวลา

- การใช้ดินสอ ขีดเส้นใต้ข้อความ ทำให้หนังสือดูสะอาดตา น่าอ่านตลอดไป หากผู้ใช้หนังสือคนอื่นมาอ่านและต้องการขีดเส้นใต้ข้อความสำคัญใหม่ ที่อาจจะไม่ข้อความเดียวกันกับคนที่เคยอ่านมาก่อนหน้า ย่อมสามารถลบได้ง่าย

- การใช้ที่คั่นหนังสือ ถือเป็นการถนอมหนังสือไว้ได้อย่างยาวนาน สำหรับคนที่รักหนังสือ สะสมหนังสือ ย่อมจะสามารถทำให้เนื้อกระดาษอยู่ได้นานกว่าวิธีอื่นๆ

4 แนวทางดังกล่าว มีความเห็นทักท้วงที่ต่างกันไปดังนี้

การพับมุมไว้ – ทำให้หนังสือเปื่อยยุ่ย เสียสภาพได้ในเวลาไม่นานนัก

การใช้ปากกาเน้นข้อความ – ทำให้อรรถรสในการอ่านหนังสือลดลง เพราะไม่ได้อ่านข้อความอื่นๆที่ช่วยขยายความ ก่อนที่จะมาถึงข้อความสำคัญที่เน้นข้อความไว้ อาจจะไม่เข้าใจประเด็นอย่างชัดเจนมากนัก

- การใช้ดินสอขีดเส้นใต้ข้อความ -  ทำให้เนื้อกระดาษเป็นรอย จากการใช้น้ำหนักกดลงไป นานไป กระดาษจะขาดง่ายกว่าวิธีอื่นๆ

- การใช้ที่คั่นหนังสือ – จะทำให้หนังสือบวมโป่งออก หากพบข้อความสำคัญ แล้วใส่ที่คั่นกระดาษเอาไว้ ใส่ๆๆไปเรื่อยๆ ทำให้สันหนังสือบวมเป่ง หนังสือเสียสภาพได้เช่นกัน

ไม่ว่าจะใช้แนวทางใด  หนังสือแต่ละเล่มย่อมมีอายุการใช้งานตามคุณภาพของกระดาษและการเก็บรักษา  การได้รับอรรถรสและความรู้จากการอ่านอย่างเต็มที่จากหนังสือเล่มนั้น ถือว่า หนังสือเล่มนั้น ได้ทำหน้าที่ถ่ายทอดเรื่องราวตามวัตถุประสงค์เริ่มแรกในการจัดทำหนังสือเล่มนั้นแล้ว

หมายเลขบันทึก: 76000เขียนเมื่อ 2 กุมภาพันธ์ 2007 18:48 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 มิถุนายน 2012 17:00 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ตอนวัยรุ่น ผมเคยหัดภาษาต่างประเทศที่ไม่ใช่ภาษาอังกฤษ ใช้วิธีฉีกมาท่องครั้งละแผ่น ..ได้ผลนิดหน่อย.. แต่เทียบกับค่าใช้จ่าย ก็พอคุ้ม..

แต่นอกจากนั้น ก็เอาสะดวกเข้าว่า

ถ้าเขาไม่แถมที่คั่น ก็พับเอา

ถ้าเขาแถมมา ก็ใช้

บางเล่มก็ใช้วิธีอ่านให้จบเป็นส่วน ๆ ไม่จบส่วนนั้นก็ไม่วาง แล้วไม่คั่น ไม่เหน็บ

ก็เลยเข้ามาแสวงหา"ความหมาย"เสียหน่อย

 

 

ความหมายที่กล่าวมา ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์และการใช้งานครับ

ความหมายสำหรับคนที่ชอบสะสมหนังสือ กับคนที่ใช้ประโยชน์จากหนังสืออย่างเต็มที่อาจจะแตกต่างกันไปบ้าง แต่การซึมซับเนื้อหาในหนังสือ สำคัญที่สุด

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท