R & D (3) : Development


สิ่งที่ไร้ชีวิต ไม่ได้พัฒนามาจากกลไกภายใน  แต่เป็นการพัฒนาจากการกระทำของมนุษย์ เช่น

นักวิทยาศาสตร์ต้องการที่จะผลิตยารักษาโรคไข้หวัดนก เขาก็สำรวจดูธาตุทางเคมี  และกฎทางเคมีหรืออื่นๆ แล้ว "สังเคราะห์" เข้าเป็นเม็ดยา  จากนั้นจึงนำไป "วิจัย"ทดลองใช้  แล้วนำผลมาประเมิน  ปรับปรุงให้ดีขึ้น  แล้ว "วิจัย" ทดลองใช้  นำผลมาปรับปรุง  วิจัย  นำผลมาปรับปรุง  วิจัย  ทำเช่นนี้เรื่อยไป  จนกว่าจะได้ยาที่มีประสิทธิภาพที่สุดตามต้องการ   ดังนี้  เป็น  R & D

นักวิทยาศาสตร์ต้องการที่จะสร้างรถยนต์ที่ใช้วัสดุที่เบาที่สุด  แต่ทนทานที่สุด  สามารถแล่นได้ทั้งบนถนนและบนอากาศ  ใช้เชื้อเพลิงน้อยที่สุด  สร้างรถต้นแบบและวิจัยทดลองใช้  แล้วนำผลมาประเมิน  ปรับปรุง  แล้ววิจัยต่อไป   นำผลมาปรับปรุง  แล้ววิจัยต่อไป  ทำเช่นนี้จนได้ผลเป็นที่พอใจ  ดังนี้ เป็น R & D

ฯลฯ

ผู้ประดิษฐ์และวิจัยพัฒนา จะต้องเป็นผู้ที่มีทั้ง "ปัญญาสูง"  และมี "ความคิดสร้างสรรค์สูง"

ถ้าถามว่าคนประเภทนี้ที่เป็นคนไทยมีไหม?  คำตอบก็คือ มี  และมีมากเสียด้วย

ถ้าถามว่าทำไม่ค่อยได้ยินชื่อที่เป็นภาษาไทยที่ประดิษฐ์คอมพิวเตอร์  ประดิษฐ์วิทยุมือถือ  ประดิษฐ์เครื่องยนต์แปลกๆ ฯลฯ ?

ผมก็ไม่รู้ครับ  อาจจะเป็นเพราะระบบการศึกษาของเรา "เน้นท่องจำ"กระมังครับ

เพราะ"ศัตรู"ตัวร้ายกาจของความคิดสร้างสรรค์ก็คือ "การท่องจำ"ครับ

คำสำคัญ (Tags): #การประดิษฐ์
หมายเลขบันทึก: 75845เขียนเมื่อ 1 กุมภาพันธ์ 2007 23:10 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 17:14 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

อาจารย์ ดร. ไสว

อาตมาคิดว่า "การท่องจำ" เป็นเพียงสาเหตุหนึ่งเท่านั้น และน่าจะมิใช่สาเหตุสำคัญ...สาเหตุสำคัญน่าจะมาจากค่านิยมพื้นฐานมากกว่า....

ค่านิยมพื้นฐาน เกิดจากบริบทต่างๆ ซึ่งอาจารย์ก็คงจะตอบได้ นะครับ...

นายคานต์ได้จำแนก หน้าที่ ไว้ ๔ ประการ คือ

๑. หน้าที่สมบูรณ์เพื่อตัวเอง นั่นคือ เราจะต้องไม่ฆ่าตัวตาย...

. หน้าที่ไม่สมบูรณ์เพื่อตัวเอง นั่นคือ เราไม่ได้พัฒนาตัวเองไปสู่ความเป็นเลิศบางอย่างเพราะบริบทต่างๆ เช่น ความพิการ ความอยู่ดีกินดี ...เป็นต้น

๓. หน้าที่สมบรณ์เพื่อผู้อื่น เช่น การรักษาคำสัตย์ การไม่เบียดเบียนผู้อื่น

๔. หน้าที่ไม่สมบูรณ์เพื่อผู้อื่น เช่น การช่วยเหลือผู้อื่น เราจะช่วยเพียงบางคนและบางโอกาสเท่านั้น

...การที่สังคมไทยขาดนัก R & D คงจะสงเคราะห์เข้าได้กับหน้าที่ไม่สมบูรณ์เพื่อตัวเองตามแนวคิดของนายคานต์ นะครับ...

คุยกันเล่นๆ เป็นประเด็นแย้งเท่านั้นครับ...

เจริญพร

 

(๑) เห็นด้วยกับสาเหตุพหุพจน์ครับ

(๒) ทั้ง ๔ ข้อของค้านท์ข้างบนนี้ ท่านสังเคราะห์มาจากการคิดวิเคราะห์ด้วย"วิธีเหตุผล" จึงมีธรรมชาติเป็นสมมุติฐานอยู่ในขณะนี้  น่าจะมีใครสักคนหนึ่งนำไปทดสอบด้วย "วิธีการวิจัย" ครับ ว่ามันเป็นสาเหตุของการทำให้คนไม่คิดสร้างสรรค์หรือไม่ประการใด?

ดร.ไสว เลี่ยมแก้ว

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท