วิจัยคุณภาพไม่ยากอย่างที่คิด


วิจัยคุณภาพ
จากการเริ่มทำวิทยานิพนธ์ พบว่ามีวิธีการในการทำแตกต่างกันในหลายรูปแบบแต่มีงานวิจัยรูปแบบหนึ่งที่ผู้เขียนอ่านแล้วรู้สึกชอบ เพราะสามารถอธิบายเหตุและผลของปัจเจกบุคล(Individual) เหตุการณ์(Setting) ได้อย่างดี มากกว่าการอธิบายเพียงตัวเลข ข้อมูล ที่นักศึกษาต้องนั่งท่องจำสูตรมากมาย ในงานวิจัยเชิงปริมาณที่ต้องเรียนกันในมหาวิทยาลัยทั่วไป  และพบว่างานวิจัยเชิงคุณภาพมักจะเป็นยาขมอีกขนานหนึ่งของนักศึกษาปริญญาโท รวมทั้งหาหนังสืออ่านค่อนข้างยาก (หาไม่ค่อยได้) ดังนั้นจึงเป็นอีกหัวข้อที่น่าแลกเปลี่ยนความคิดเห็น เริ่มจากผู้เขียนรู้สึกว่ามนุษย์มีความแตกต่างกันในการรับรู้และให้ความหมายกับสิ่งต่างๆทั้งที่อยู่ภายในตัวและนอกตัว ทำให้การกระทำหรือมีการปฏิสัมพันธ์โต้ตอบกับสิ่งเดียวกันมีความแตกต่างกัน      ความจริง (reality) ของมนุษย์จึงไม่เหมือนกัน ความจริง   ของคนจน อาจแตกต่างจาก ความจริงของชนชั้นกลาง     แม้ว่าการให้คำนิยามของการวิจัยเชิงคุณภาพอย่างสั้น ๆ และเข้าใจง่ายจะทำได้ยาก อย่างไรก็ตามกรอบโครงสร้าง (Organizing framework) ทั้งทางทฤษฎีและระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ ล้วนมุ่งไปที่ความสัมพันธ์อันซับซ้อนระหว่าง  ·     ความหมาย ของปัจเจกบุคคลและสังคม ·     การกระทำ (Practice)  ของปัจเจกบุคคลกับวัฒนธรรม ·     สิ่งแวดล้อม ทางกายภาพหรือบริบทต่างๆ  ดังนั้น การวิจัยเชิงคุณภาพจึงไม่มีแม่แบบ (Blueprint) ของการวิจัยที่แน่นอนตายตัว อย่างไรก็ตามระเบียบวิธีวิจัยต่างๆ ที่มีอยู่ก็สามารถใช้เป็นเครื่องมือให้เกิดความเข้าใจ ชีวิต ในมุมมองและประสบการณ์ของผู้คนทั้งหลายที่อยู่ในบริบทนั้น การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพนอกจากจะให้คำตอบว่าผู้คนเหล่านั้นมองเห็นและให้ความหมายอย่างไรกับโลกของเขา ยังทำให้เราเข้าใจการกระทำและ ปฏิสัมพันธ์ของผู้คนเหล่านั้นที่สัมพันธ์กับข้อค้นพบของผู้วิจัยในบริบทนั้นด้วย               เทคนิควิธีวิจัยเชิงคุณภาพทั้งหลายล้วนมุ่งหมายให้ผู้วิจัยสามารถ เจาะล้วงความใน(Probe) ให้ลึกเพื่อเข้าถึงข้อมูลซึ่งโดยปกติแล้วผู้คนเหล่านั้น จะไม่พูดกับคนแปลกหน้าง่ายๆ  ดังนั้นบนพื้นฐานของความสัมพันธ์ที่ดี (Good Rapport) จะทำให้ผู้วิจัยสามารถบรรลุเป้าหมายได้ไม่อย่างนัก ที่สำคัญนักวิจัยต้องคำนึงถึงตลอดเวลาคือความเข้าใจชัดเจนของปัญหาที่ต้องการคำตอบ และต้องมีความยืดหยุ่นในการใช้เทคนิควิธีการเก็บข้อมูลและการวิเคราะห์ให้เหมาะสมกับสภาวะของกลุ่มเป้าหมายที่จะศึกษา ผู้เขียนจึงขอสรุปลักษณะสำคัญของงานวิจัยเชิงคุณภาพพอสังเขปดังนี้·       เป็นการตั้งคำถาม ทำไม อย่างไร และภายใต้สิ่งแวดล้อมปัจจัยเงื่อนไขใด สิ่งนั้นจึงเกิดขึ้น·       แสวงหาความรู้ความเข้าใจในเรื่องนั้นในระดับลึก·       มองเห็น ความเป็นทั้งหมด (Holistic) ของปรากฏการณ์ทางสังคมศาสตร์·       สืบค้น(Explore) และค้นพบ (Discover)·       ทำให้เข้าใจมุมมองจากภายใน ของกลุ่มที่นักวิจัยที่ต้องการศึกษา ทั้งในด้านความหมายในการตัดสินใจและการกระทำของเขา·       ใช้วิธีการปลายเปิด (Open-ended)และการตีความหมาย(Interpret)·       ยืดหยุ่นมากกว่ายึดกรอบ

·       ประเด็น วิธีการ เทคนิค ผุดบังเกิดขึ้นระหว่างการเก็บข้อมูลมากกว่าการเตรียมการล่วงหน้า

แล้วค่อยพบกันตอนต่อไป เกี่ยวกับเทคนิคสำคัญน่ะค่ะ

                                 รุ่งกานต์ ปราชญ์ศรีภูมิ สม.4

คำสำคัญ (Tags): #สม.4
หมายเลขบันทึก: 75339เขียนเมื่อ 30 มกราคม 2007 17:15 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 17:12 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)
การทำวิจัยต้องใช้ความรู้ความสามารถอย่างมากโดยเฉพาะการจัดลำดับความรู้เพื่อถ่ายทอดให้เป็นขั้นเป็นตอน มี R.F.ยืนยัน ผมเองยังไม่ได้หัวข้อวิจัยเลยครับ แค่ตั้งชื่อก็พบกับปัญหาว่า "ไม่แตกต่างจากผู้อื่น(ที่ต่างคือสถานที่และเวลา)" เดิมคือ "พฤติกรรมการเลือกใช้บริการและความพึงพอใจ" ฟังดูแล้วคำตอบคงอยู่ใน "ระดับปานกลาง" ผมจึงมาสนใจเรื่องเกี่ยวกับ บุหรี่ สุรา และขยะ ไม่เหมือนเพื่อนๆในห้องดี คงจบ 2 ปี ด้วยกันแหละครับ

งานวิจัยแม้จะเป็นพฤติกรรมแต่ก็มีแง่คิดในการทำวิจัยอีกมาก สำหรับเรื่องที่สนใจ เช่นบุหรี่ สุรา ปัญหาวัยรุ่น ขยะ เป็นสิ่งที่ต้องการคำตอบสำหรับชุมชนทั้งนั้น ซึ่งแต่ละชุมชนก็มีบริบทไม่เหมือนกัน ดังนั้นวิจัยระดับวิทยานิพนธ์ควรเป็นวิจัยที่เป็นประโยชน์ต่อชุมชน ไม่ใช่วิจัยขึ้นชั้นเก็บของ แม้ว่าการเรียนจะเป็นการเริ่มทำวิจัยก็ตาม แต่ก็มีโอกาสที่ผู้ทรงคุณวุฒิหลายท่านจะช่วยดูรายละเอียดให้เป็นงานที่ดีได้ จึงขอเป็นกำลังใจให้ทำต่อไปค่ะ

 ลูกสาวนารักจัง ค่ะ สงสัยจะเก่งเหมือนคุณแม่  เรื่องการทำวิจัยไม่ใช้ประเด็นในการเรียน ตอนแรกบอกได้เลยค่ะ เรียน ป.โทเพื่อต้องการรับปริญญา และพัฒนาตนเอง แต่ตอนนี้อาจารย์สอนให้ทำวิจัยเชิงปฏิบัติการณ์ที่สามารถนำปัญหาในการทำงานมาเป็นวิจัยให้เราเรียนจบได้ ด้วยเหมือนยิงปืนครั้งเดียวได้นก 2 ตัวจะนำความรู้จากที่ได้ไปประยุกต์ใช้นะค่ะ 
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท