Reaccreditation กับคุณค่าที่สำคัญของการพัฒนาคุณภาพโรงพยาบาล


สมกับคำล่ำลือจริง ๆ กับการ Reaccreditation

Reaccreditation กับคุณค่าที่สำคัญของการพัฒนาคุณภาพโรงพยาบาล           

      สองวันเต็ม ๆ ที่ พวกเราได้ฟันฝ่ามรสุมยักษ์ กับการ Reaccreditation ที่พวกเรารอคอยกันมา  ด้วยความใจจดใจจ่อและบ้างก็ตื่นเต้น บ้างก็มีอาการวิตก บางคนถึงกับกินไม่ได้นอนไม่หลับ โดยเฉพาะช่วง 2 เดือนสุดท้ายที่เราว่าอีกนาน แต่เอาเข้าจริงรู้สึกว่าทำไมเวลามันเดินเร็วแบบนี้ ยิ่งใกล้วันก็ยิ่งรู้สึกสงสัยว่าพวกเราพร้อมกันจริงหรือเปล่า  เพราะจากเสียงลือเสียงเล่าอ้างถึงความเข้ม  ความลำบากของโรงพยาบาลที่ผ่านการ Reaccreditation มาก่อนพวกเราต่างขู่กันขรม      ปัญหาที่สำคัญคือเรื่องการเขียนแบบประเมินตนเองตามมาตรฐานเฉลิมฉลองสิริราชสมบัติ (HA – HPH / TQA) เพราะทีมงานโรงพยาบาลสงขลาไม่เคยมีใครผ่านการอบรมการเขียนแบบประเมินตนเองตามมาตรฐานใหม่ คำถามบางคำถามที่ไม่เข้าใจความหมาย แปลไม่ออกจริง ๆ หรือไม่แน่ใจว่าที่อาจารย์ถามหมายถึงอะไรแน่ แม้จะนั่งพินิจพิจารณากันหลายคนก็ยังตีความไปคนละทิศละทาง จะขอดูตัวอย่างก็ไม่มี ก็ไม่รู้จะขอดูจากใคร ขอ พรพ. ก็คงไม่ให้ดูแน่ ก็เลยเขียนกันตามที่ตีความ (เข้าใจกันเอง) แบ่งกันเขียนคนละหมวด ๆ จนครบ แต่เวลาที่เร่งก็จวนเจียนมาก จนแทบไม่ค่อยได้ตรวจทานมาดูทีหลังพบว่าพิมพ์ผิดเต็มเลย    โชคดีที่ทีมงานทำความเข้าใจดีกับการเขียน Service Profile และ Clinical Tracer ส่วนใหญ่เขียนกันได้ดีทั้งหน่วยงานทางคลินิก, PCT และหน่วยงานสนับสนุน สามารถสื่อให้กับอาจารย์ผู้เยี่ยมสำรวจเข้าใจว่าทีมงานเรามองเห็นตัวเองปัญหาสำคัญ และมีการพัฒนาคุณภาพอย่างต่อเนื่อง ตามแต่ที่หน่วยงานทำจริง  อาจารย์คงจะเอาส่วน Service Profile และ Clinical Tracer มาเป็นแนวทางประกอบกับการเขียนแบบประเมินตนเองตามมาตรฐานใหม่ ที่พอจะมองเห็นกระบวนการดูแลผู้ป่วย               

      วันแรกที่อาจารย์เริ่มเข้าตรวจ ก็ตามประสาผู้ถูกเยี่ยม ทุกคนมีอาการเกร็ง ๆ ทั้งที่ซักซ้อมกันมาเป็นอย่างดีก็ตาม เพราะอาจารย์ที่มาเยี่ยมเราแต่ละท่านเป็นระดับสุดยอดปรมาจารย์และยังมีอาจารย์อนุวัฒน์ท่านมาเองด้วย วันก่อนเข้าเยี่ยมเป็นบททดสอบความแข็งแกร่ง อดทน ของทีมงานเป็นอย่างดี เพราะอาจารย์ต้องการ Chart และสถิติต่าง ๆ ที่สำคัญเพิ่มเติมก่อนลงเยี่ยมจริงในวันรุ่งขึ้น เช่น สถิติผู้ป่วยเสียชีวิตภายใน 48 ชม.แยกแต่ละแผนก, ขอดู Chart ผู้ป่วยที่ Readmit ย้อนหลัง แยกแต่ละแผนก , สถิติและChart ผู้ป่วย ตายจาก Sepsis , ผู้ป่วย Appendicitis มี Rupture กี่ราย เป็น Case ที่ Refer มาจากที่ใหนบ้าง (จริง ๆ แล้วยังมีอีกมาก) เป็นต้น แต่ละคำถามหรือเวชระเบียนต้องหาให้ได้อย่างทันทีแบบกำหนดเวลาด้วย  ขอแบบเป็นชุด ๆ เกือบทุก 1 ชั่วโมง แต่เราก็สามารถดึงข้อมูลมาให้อาจารย์ได้หมด แต่เล่นเอาทีมงานเครียดจนต่อมน้ำตาแตกกันหลายคน (เพิ่งมารู้ทีหลังว่าต้องการข้อมูลเพิ่มเติมเพื่อประกอบการเขียนรายงานและเพื่อทดสอบระบบ IM ของพวกเรา)  บทเรียนที่ 1 ในคืนแรก (คืนหมาหอน) ทีมงานได้กลับกันเกือบเที่ยงคืน (อาจารย์และทีมงานที่เข้าอบรมหลีกสูตรผู้เยี่ยมสำรวจภายนอก หรือนักเรียน SIT นั่นเอง ก็กลับกัน 4 ทุ่มกว่า ๆ โอ้โฮเรียนกันอึดจริง ๆ นับถือ)    คืนนั้นกลับไปหลายคนก็ต้องทำการบ้านเพิ่มเติมสำหรับเตรียมตัวรับอาจารย์ลงเยี่ยมจริงในวันที่ 13 กย 49             

      การเตรียมการนำเสนอในคืนนั้น ต้องกลับมาปรับรูปแบบพอสมควรเพื่อตอบสิ่งที่อาจารย์  Request  ข้อมูลที่สำคัญต่าง ๆ เมื่อคืนให้ครอบคลุม กว่าจะได้นอนก็ปาเข้าไป ตี 3 ครึ่ง  ตอนเช้าตื่น 6 โมงต้องรีบไปรออาจารย์ที่โรงพยาบาล (ตาปรือไปแต่เช้า) ตอนนำเสนอเป็นไปแบบช้า ๆ เพราะกลัวพูดผิดเพราะนอนดึก แต่ยิ่งตั้งใจยิ่งผิด นำเสนอเสร็จ ก็ 9.00 น. อาจารย์ต้องรีบไปลงเยี่ยมหน่วยงาน  ถึงตอนนี้ก็เหมือนกับยกภูเขาออกจากอกไปลูกนึงแล้ว เพราะเรื่องที่หน้างาน และระบบต่าง ๆ พวกเราทำกันได้ดีพอสมควร ทั้งซักซ้อมกันเป็นอย่างดี และทุกคนก็แยกย้ายไปทำหน้าที่ของตัวเองเต็มที่  แต่ละหน่วยงานที่อาจารย์ลงไปจะต้องมีทีมสหสาขาวิชาชีพ คืออย่างน้อยต้องมีพยาบาล (หัวหน้าหอ ตัวแทนความเสี่ยง ,IC , และระบบต่าง ๆครบ มีเภสัชกร มีโภชนากร มีทีมเวชกรรม / PCU และที่สำคัญต้องมีแพทย์อยู่ร่วมด้วยทุกที่ ซึ่งเราได้ความร่วมมือเป็นอย่างดีทุกจุดจะมีแพทย์คอยตอบปัญหาทาง Clinical (ก่อนหน้านั้นองค์กรแพทย์ก็ต้องประชุมกันก่อนเหมือนกัน และวันนี้ก็นัดผู้ป่วยน้อยมาก จะได้มีเวลามาคลุกคลีกับอาจารย์)              

     ทีมที่ตามอาจารย์ทั้ง 3 ทีม เราวางตัวเก่งกันไว้ตามอาจารย์ทีมละ 2-3 คน เพื่ออำนวยความสะดวก คอยตอบ ช่วยจดปัญหา และสิ่งที่ทีม PCT / ทีมนำต้องทราบก่อนที่จะต้องพบกับอาจารย์อีกครั้งนึง ครั้งนี้สิ่งที่อาจารย์ดูจะลงลึกรายละเอียด ในทุก ๆ ระบบที่เกี่ยวข้องมากกว่าเดิม บริบท, เป้าหมายของหน่วยงาน, ความเสี่ยง, ระบบยา , IC , เวชระเบียน , HPH ,ความเชื่อมโยงต่าง ๆ ต้องแสดงให้เห็นทุกมิติ    สิ่งที่จะช่วยได้มากคือ การที่เราทำ CQI กันอย่างต่อเนื่อง และมีนวัตกรรมใหม่ ๆ เกิดขึ้นครอบคลุมในหลาย ๆ ที่ แสดงให้เห็นว่าเรามีการพัฒนาคุณภาพอย่างไม่หยุด และเป็นวัฒนธรรมคุณภาพ  และที่สำคัญ คือ Clinical Tracer ที่เราเขียนส่งอาจารย์ ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับ Tracer ต้องรู้ต้องเข้าใจ ต้องเก็บตัวชี้วัดจริง (งานนี้ ER หนักสุดเพราะเกือบทุก Tracer เกี่ยวข้องกับ ER ทั้งนั้น )              

     ผ่านไป 2 วัน ทีมงานรู้สึกดีขึ้นตามลำดับ เพราะส่วนใหญ่ ทำได้ดีเป็นที่น่าพอใจ  บางหน่วยงาน บางทีมมีติดขัดบ้าง โดยรวม ไม่มีติด Focus แต่มีที่ต้องส่งรายงานเพิ่มเติมต้องขอบคุณและชื่นชมการทำงานกับแบบเป็นทีม สมกับที่ได้เหน็จเหนื่อยกันมาพอสมควร

      สมกับคำล่ำลือจริง ๆ กับการ Reaccreditation และหลังจากที่อาจารย์กลับ พวกเรามาทบทวนสิ่งที่อาจารย์ ได้ให้ข้อเสนอแนะไว้ ทุกเรื่องมีคุณค่า และหลายเรื่องที่เราคิดว่าทำได้ดีแล้ว แต่ในมุมมองของผู้เชี่ยวชาญอย่างอาจารย์ทำให้เราเห็นโอกาสพัฒนามากขึ้น และทำให้พวกเรามองเห็นกระบวนการพัฒนาคุณภาพที่ลึกซึ้ง ครอบคลุมความเสี่ยง และเชื่อมโยง มากยิ่งขึ้น ขอขอบพระคุณท่านอาจารย์ที่เสียสละทั้งกำลังกายและกำลังใจ ให้กับการพัฒนาคุณภาพโรงพยาบาล และขอเป็นกำลังใจให้กับโรงพยาบาลอีกหลายโรงที่กำลังจะ Accredit และ Re-accredit ให้ผ่านได้อย่างราบรื่น

เฉลิมพงษ์ สุคนธผล 

หมายเลขบันทึก: 75022เขียนเมื่อ 29 มกราคม 2007 00:49 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 มิถุนายน 2012 17:07 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

อาจารย์คะ การที่จะทำ Drug admin ที่ opd อายุรกรรม ควรจะทำในลักษณะไหน

กลวิธีในการดำเนินการทำอย่างไรคะ หนูได้รับการ Comment จากการ reaccreditation ครั้งที่ผ่านมา เดือน ธค.ซึ่งเป็นประเด็นที่อจ.ให้ไว้เป็นการบ้านค่ะ ครั้งถัดไปเป็นเดือน กพ.52 ที่จะถึงยังไม่ได้เริ่มเลยค่ะ

ขอบคุณสำหรับบทความนี้ พวกเราชาว รพ.ปากน้ำชุมพร  รับประเมิน Reaccreditation 6-7 ก.พ 55 นี้ รู้สึกกังวลที่สุดเลย

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท