การพัฒนาสังคมโดยยึดรากฐานวัฒนธรรมชนเผ่า


แม้ว่ากระแสวัฒนธรรมจะภายนอกจะไหลบ่าเข้ามาในชุมชนชาวเขายุคปัจจุบัน เกินกว่าจะหยั่งถึง แต่ถ้าหากว่า มีองค์กรของรัฐ องค์กรหนึ่งองค์กรใดที่เข้าใจ และเข้าถึง พร้อมขับเคลื่อนงานพัฒนาสังคม ร่วมกับชุมชนชาวเขา ก็ยังพอมีความหวังว่า สามารถใช้ทุนทางวัฒนธรรมชนเผ่า ในการพัฒนาสังคมชุมชนบนพื้นที่สูงไปสู่ความร่มเย็นเป็นสุข

        การทำงานของศูนย์พัฒนาสงเคราะห์ชาวเขาที่ผ่านมาแล้วร่วมกึ่งศตวรรษ

        แม้จนบัดนี้ จะเปลี่ยนชื่อองค์กร และบทบาทภารกิจขอบข่ายหน้าที่ ตามยุคสมัยและบริบททางการเมือง เศรษฐกิจ สังคมที่เปลี่ยนแปลงไป แต่ไม่ได้หมายความว่า ภาระความผูกพันระหว่างองค์กรกับพี่น้องชาวเขาจะหมดสิ้น เลือนหายไป

        การทำงานพัฒนาสังคม ภายใต้ชื่อองค์กร “ศูนย์พัฒนาสังคมจังหวัด” จะยังคงยึดรากฐานทางวัฒนธรรมชนเผ่า มาเป็นทุนทางการพัฒนา โดยจะปรับประยุกต์ทุนทางวัฒนธรรมชนเผ่า เข้าในงานพัฒนาสังคม ในชุมชนบนพื้นที่สูง ตามโครงการกิจกรรมที่สอดคล้องและเอื้ออำนวย ภายใต้การมีส่วนร่วมของชาวเขา ถึงแม้ว่ากระแสวัฒนธรรมจะภายนอกจะไหลบ่าเข้ามาในชุมชนชาวเขายุคปัจจุบัน เกินกว่าจะหยั่งถึง แต่ถ้าหากว่า มีองค์กรของรัฐ องค์กรหนึ่งองค์กรใดที่เข้าใจ และเข้าถึง พร้อมขับเคลื่อนงานพัฒนาสังคม ร่วมกับชุมชนชาวเขา ก็ยังพอมีความหวังว่า สามารถใช้ทุนทางวัฒนธรรมชนเผ่า ในการพัฒนาสังคมชุมชนบนพื้นที่สูงไปสู่ความร่มเย็นเป็นสุข ชาวเขาสามารถดำรงชีวิตอย่างพอเพียงได้อย่างยั่งยืน ท่ามกลางความเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อมภายนอก

        ในอนาคต สามารถที่จะดำเนินงานพัฒนาสังคม โดยใช้รากฐานทุนทางวัฒนธรรมชนเผ่า ในโครงการกิจกรรม ต่างๆ อย่างเช่น การส่งเสริมกิจกรรมทางการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ การส่งเสริมผลิตภัณฑ์ชุมชน การป้องกันแก้ไขปัญหายาเสพติดโดยชุมชน การจัดเวทีประชาคมเพื่อค้นหาศักยภาพชุมชน และการขับเคลื่อนกระบวนงานพัฒนาสังคม เป็นต้น

        ถึงจนบัดนี้ หากมีการพูดถึงเรื่องวัฒนธรรมชนเผ่า ของชนชาวเขาทั้งน้อยใหญ่ในประเทศนี้ นอกจากตัวชาวเขา ซึ่งเป็นเจ้าของวัฒนธรรมเองแล้ว ในระดับหน่วยงานของรัฐ ใครเล่าจะลึกซึ้งในงานวัฒนธรรม ประเพณีและวิถีชีวิตชุมชนชาวเขาได้ดีเท่า “ศูนย์พัฒนาสังคมจังหวัด” หรือ “ศูนย์พัฒนาและสงเคราะห์ชาวเขา” ในอดีต ที่ทำงานคลุกคลีมากับพี่น้องชาวเขามาร่วมกึ่งศตวรรษ

        ดังนั้น การพัฒนาสังคมชุมชนบนพื้นที่สูง มีทางเลือกหนึ่งอยู่ที่ การฟื้นคืนรากเหง้าวิถีชีวิตและวัฒนธรรมของชนเผ่า ให้สอดคล้องกับหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ โดยการสนับสนุนและเปิดโอกาสให้หน่วยงานศูนย์พัฒนาสังคมจังหวัด (ศูนย์พัฒนาและสงเคราะห์ชาวเขาเดิม) ดำเนินงานพัฒนาสังคมในหมู่บ้านชาวเขา ตามกระบวนการมีส่วนร่วม และใช้รากฐานทุนทางวัฒนธรรม เป็นปัจจัยสำคัญในการขับเคลื่อน

        อย่างน้อยการที่มีหน่วยงานที่เข้าใจวัฒนธรรมชนเผ่าอย่างลึกซึ่ง เข้าไปทำงานร่วมกับชุมชนชาวเขา น่าจะช่วยป้องกันแก้ไขปัญหาสังคมบนพื้นที่สูงได้.../

หมายเลขบันทึก: 74839เขียนเมื่อ 27 มกราคม 2007 20:26 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 เมษายน 2012 15:29 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

แม้ว่าความเป็นไปภายนอกจะอย่างไร แต่หากภายในจิตใจของคนทำงานยังเป็นเช่นเดิม ที่รัก เข้าใจ จริงใจ  เชื่อว่าพี่น้องชาวเขาจะได้พบความสงบสุข...

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท