หมอ ครู พระ: อดีต - ปัจจุบัน


เขียนเอาไว้ตอนบวช ช่วงชีวิตที่ได้เป็นพระ ครู และแพทย์

ในอดีตบุคคลสามประเภทที่ได้รับความเคารพนับถือจากคนทั่วไป คือ พระ ครู และแพทย์
จนสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้โดยความเกื้อหนุนของชุมชน
เพราะเป็นผู้สอนคน สร้างคน และรักษาคน

จนถึงปัจจุบัน ฐานะทางสังคมของบุคคลทั้งสามเปลี่ยนไปอย่างน่าใจหาย
ความสัมพันธ์ในเชิงผู้ให้บริการ ลูกค้า แลกกับรายได้เข้ามาแทนที่ ไม่เว้นแม้แต่ พระสงฆ์
การได้รับความนับถือจากคนทั่วไปถดถอย เลือนลาง
หลายครั้งก็ต้องตกเป็นเหยื่อของสังคมเสียเอง โดยเฉพาะหากพระ ครูหรือแพทย์ทำผิด
โอกาสที่จะถูกประณามผ่านหน้าหนังสือพิมพ์หรือสื่อต่างๆ สูงกว่าคนอื่น
พระ ครูและแพทย์ในยุคนี้ จึงดำรงชีวิตไม่ง่ายเลย..  ..

จะทำอย่างไรกันดี.. 

คำสำคัญ (Tags): #แพทย์#ครู#พระ
หมายเลขบันทึก: 74402เขียนเมื่อ 25 มกราคม 2007 20:51 น. ()แก้ไขเมื่อ 1 มิถุนายน 2012 22:59 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (12)

สวัสดีครับพี่เต็ม

พึ่งสมัครสมาชิก ขอลอง post ประเดิมหน่อยเถอะ ไม่เคยเล่นเหมือนกัน blog

ผมเคยพูดถึง ครู กับ หมอ กับ supervisor ผมที่ Bristol ก่อนจะกลับเมืองไทย ก็จะมีการเลี้ยงยินดี เลี้ยงลา เลี้ยงส่ง กันไปกันมา ตอนหนึ่งของการสนทนา ผมวิเคราะห์ในแกฟังว่าหมอกับครูถ้าจะมีความสุขในการทำงาน จะมีจุดร่วมอยู่ประการหนึ่งคือ

หมอควรจะคิดว่า ผู้ป่วยข้างหน้าเราน่าจะมีความสุข หรือพ้นทุกข์ได้ และเรามีบทบาทหน้าที่ที่จะทำอย่างนั้น

ครูควรจะคิดว่าเด็กทุกคน สามารถรู้มากขึ้นและเป็นคนดีของสังคมได้ และเราก็มีบทบาทหน้าที่ที่จะทำอย่างนั้น

บทบาทและหน้าทีของครูของหมอนี่เองที่เป็น noble และ nobility ถ้ายังเป็น value ของสังคมอยู่ก็จะตอบคำถามของพี่ได้ในตอนต้น แต่มี 2 cliche

1. ปัญหาอยู่ที่ nobility ของหมอ/ครู (พระ) ลดลง?

2. หรือปัญหาอยู่ที่ value ของสังคมเขาไม่นับเรื่องนี้กันแล้ว?

หรือทั้งคู่?

P ครับ

ท่านนี่ สิงห์ปืนไวจริงๆนะ ชวนปุ๊บก็มาเลยนะ ยินดีต้อนรับครับ

ผมก็ยังใหม่กับ blog เหมือนกัน  แต่รู้สึกว่าตนเองได้ประโยชน์ เลยอยากให้มาร่วมครับ

คำถามของสกลน่าสนใจนะ แต่ผมตอบไม่ได้นะ ต้องวานท่านอื่นๆที่แวะเวียนเข้ามาช่วยแล้วละครับ

 

มีคาถาที่พอนึกได้ตอนนี้ก็คือ    การตื่นรู้กับปัจจุบันขณะ   อาจารย์ลองฟังข่าวพระเจ้าอาวาส อายุ เจ็ดสิบปีกว่ายังโดนจับสึกเรื่องสีกา   อายุไม่ได้เป็นตัวกรันตีการเติบโตทางด้านจิตวิญญาณได้  สติและการตื่นรู้ต่างหาก   อาจจะช่วยมนุษย์เราได้    ตอนนี้เลยหวลกลับไปนึกถึงคำบอกลาของพ่อของลูกที่มาส่งเวลาเดินทางไปไหนๆ  เขาจะบอกว่า  ขอจงมีสติดีๆ

 ก็ขอฝากไว้เป็นคาถา ประจำตัว หมอ ครู พระ ค่ะ  

                                                  หมอหลอง

ขอสงสัยต่อเนื่องครับ

คำถาม (ใหม่) คือ เดี๋ยวนี้ คนมาเป็น หมอ ครู พระ ด้วยเหตุผลเดิมหรือไม่? อะไรเป็นแรงบันดาลใจ แรงผลักดัน และคนที่เข้าไป (หรือ "เข้ามา") เขา หวังจะได้อะไร หวังจะเป็นอะไรในที่สุด?

สิ่งที่หมอ ครู พระ เคย enjoy ใน privilege ในสมัยอดีตนั้น เราไม่สามารถจะ take for grant ได้อีกต่อไป แต่ที่น่ากลัวก็คือ privilege ต่างๆที่อาชีพทั้งสามมีนั้น ไม่ได้เกิดขึ้นเพราะ merit แต่เพียงอย่างเดียว แต่ว่าทั้งสามอาชีพจะประสบความสำเร็จได้ เรา จำเป็นจะต้องมี privilege เหล่านี้ก่อน

ถ้าคนไข้ไม่ไว้ใจ ไม่เชื่อหมอ เราก็คงจะได้ประวัติไม่ถูก ตรวจร่างกายไม่ได้ครบ ส่งตรวจเพิ่มเติมไม่ได้เต็มที่

ถ้านักเรียนไม่ไว้ใจ ไม่เคารพครู ก็คงจะมีความลำบากที่เราจะทำให้เขา "ทดลอง" สิ่งที่เราสอน ที่เราแนะนำ

ถ้าฆราวาสไม่ไว้ใจ ไม่เคารพ คนในกาสาวพัสตร์อีกต่อไป เราจะถ่ายทอดคำสอนในพระไตรปิฎกได้ยากขึ้น ความน่าเชื่อถือถูกบั่นทอน

แต่การที่มีคน "เข้ามาเพื่อ privilege" ตรงนี้เป็นความผิดพลาดที่ร้ายแรง และในบรรดาของดีๆทั้งหลายแหล่ ความไว้เนื้อเชื่อใจ เป็นสิ่งที่สูญเสียแล้ว แก้คืนยากมากที่สุด และมีแนวโน้มจะกระจายหรือ generalize ออกในวงการได้ง่ายมาก เพราะสิ่งที่หมอ ครู พระ ทำนั้น มันกระทบต่อคุณค่า ต่อชีวิตประจำวันของประชาชน (เป็นสาเหตุที่เราเป็น "วิชาชีพ" หรือ professional แต่แรก) พอเราไม่รักษาจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพ เกือบจะทำให้สูญไปแล้ว สูญไปเลย ชาวบ้านเข้ามาขอมีเอี่ยว มีการควบคุม เข้ามาดูแล ซึ่งยากลำบากมากขึ้นเพราะวิชาชีพนั้น หมายถึงวิชาที่ต้องเรียน ต้องศึกษากันเป็นเวลานาน ไม่ใช่ใครจะเข้าใจและตัดสินลงความเห็นได้ง่ายๆ

อ่านบทความนี้แล้ว  นึกอะไรออกมาหนึ่งอย่าง.......

เราน่าจะเรียนรู้จริยธรรมผ่าน blog โดยเชื้อเชิญให้นักศึกษาเข้าร่วม พูดคุย แง่คิดจริยธรรม  หรือเกี่ยวกับวิชาชีพแพทย์    การเขียนจะฝึกการใคร่ครวญได้ดีมาก  วิธีหนึ่ง .....

 

เข้ามาเยี่ยมและเป็นกำลังใจให้ค่ะ ประเด็นของหมอหลองน่าสนใจ อาจารย์เป็นทั้งครู ทั้งแพทย์ จริยธรรมร่วม และเฉพาะ หลายชั้น เชื่อว่าการเรียนรู้จริยธรรมต้องมีแบบอย่าง แล้วค่อยซึมซับ ไม่ใช่จานด่วนแน่นนอน สิ่งที่รับรู้ได้คือความอ่อนโยน อบอุ่น ไม่ถูกคุกคามเมื่อได้สัมพันธ์ด้วย รอคอยทุกคนเติบโตไปพร้อนกัน รับรู้เช่นนี้ค่ะ

หอหลอง และ อาจารย์ยาดม ครับ

  • ขออนุญาตเห็นต่างไปนิดหนึ่งนะครับ
  • ผมรู้สึกว่า การเรียนเรื่องจริยธรรมด้วยการเขียนหรือบรรยาย ได้ผลไม่มากนัก เนื่องจากคนที่แสดงความเห็น พูดเก่งเขียนเก่ง อาจจะเป็นเพราะมีความรู้ แต่ไม่ได้บอกว่ามีเจตคติ
  • ขออ้างอิง การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ในการอบรม M-SEX-6 ซึ่งย่อมาจาก Medical School Executives รุ่นที่ ๖ (อย่าคิดลึกนะครับ) ดังนี้นะครับ
วีธีการสอนเวชจริยศาสตร์                                                                       

*     การบรรยาย

**    การให้รางวัล คะแนนความประพฤติ

***    การฝึกจิต อบรมปฏิบัติธรรม

***    การมีต้นแบบ ตัวอย่างที่ดี

****    การอบรมให้ปฏิบัติงานเพื่อสังคม: อาสาสมัคร

****    การสอนสอดแทรกอย่างสม่ำเสมอในบทเรียน

***** การสร้างวัฒนธรรมองค์กร

* หมายถึง มีผลน้อยที่สุด  จนถึง **** หมายถึง มีผลมากที่สุด 

นมัสการหลวงพี่ครับ

ผมกำลังจะเข้านอนพอดี โชคดีจังเลยครับ ได้กราบพระก่อนนอนอีกแล้ว

กราบ 

ปูว่า บีซีซี .. การสื่อสารเพื่อการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม น่าสนใจแล้ว แต่ทว่า

M-SEX-6 วีธีการสอนเวชจริยศาสตร์                                                                       

*     การบรรยาย

**    การให้รางวัล คะแนนความประพฤติ

***    การฝึกจิต อบรมปฏิบัติธรรม

***    การมีต้นแบบ ตัวอย่างที่ดี

****    การอบรมให้ปฏิบัติงานเพื่อสังคม: อาสาสมัคร

****    การสอนสอดแทรกอย่างสม่ำเสมอในบทเรียน

***** การสร้างวัฒนธรรมองค์กร

* หมายถึง มีผลน้อยที่สุด  จนถึง **** หมายถึง มีผลมากที่สุด 

...

M SEX ๖ น่าสนใจกว่าหลายเท่านักเลยค่ะ ... แค่ชื่อเรื่องก็ดึงดูดใจผู้รักการเรียนรู้ ให้ค้นคว้า หาความหมายต่อ :) จนสร้างเสริมติดเป็นลักษณะนิสัย กลายเป็น วัฒนธรรมองค์กร

Ico48

  • ขอบคุณน้องปู ที่มาพรวนบันทึก ครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท