KM 100 พัฒนบูรนาการศาสตร์...เขาเรียนกันอย่างไร ตอนที่ 1


แต่หัวใจของหลักสูตร มุ่งเน้น ไปเพื่อ การรวมตัวกันทั้ง อาจารย์ และนักศึกษา เข้ามาเป็น ชุมชนวิชาการ ที่ขยับก้าวของเกลียวความรู้ ด้วยงานวิจัยของนักศึกษา ที่มีหลากหลาย แยกย่อยตามความสนใจของแต่ละคน

           "พัฒนบูรณาการ" เป็นคำที่ ไม่ถึงกับใหม่ แต่ก็มีคน สนใจมาก  ถ้าเราตามไปดูความหมายตามพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 จะพบว่า  พัฒน  หมายถึง ความเจริญ ,  บูรณาการ   หมายถึง การนำเอาส่วนย่อยที่แยกกัน มารวมเป็นอันเดียวกัน...

              รวมความแล้ว พัฒนบูรณาการ  น่าจะหมายถึง  ความเจริญงอกงามที่ เกิดจาก การนำเอาส่วนย่อยที่แยกกันอยู่ มารวมกันเข้า เป็นอันเดียวกัน

              นั่นเป็นความหมายของ พัฒนบูรณาการ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน  แต่ที่ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี มีพัฒนบูรณาการศาสตร์ ฉบับมหาชีวาลัยอีสาน ที่มี ศาสตราจารย์ ดร.อภิชัย  พันธเสน และครูบาสุทธินันท์  ปรัชญพทธิ์ ที่ปัจจุบันดูแลนักศึกษา ปริญญาโท/ปริญญาเอก อยู่ ราว 24 คน  และนักศึกษาปริญญาตรี อีกราว800คน

  • แล้วหลักสูตร นี้มีหน้าตาเป็นอย่างไร..ครับ
  • นักศึกษาเรียนกันอย่างไร ..ที่บอกว่าไม่ใด้นั่งเรียนในห้องเหมือนคนอื่น แต่ทำวิจัยเพียงอย่างเดียวเป็นประการใดครับ  

                             Dscf7081      Dscf7079

              วันนี้ที่ห้องประชุม 1 คณะบริหารศาสตร์ มีการนัดพบกัน ของเรา เหล่าพัฒนบูรณาการศาสตร์ ของคณาจารย์ นำโดย ศาสตราจารย์ ดร.อภิชัย  พันธเสน  ดร.สุทธิดา  แจ่มใส   ดร.ฐิติพล  ภักดีวานิช   ส่วนนักศึกษารุ่นพี่ นำโดย  พี่ วิทยา  เจียรพันธุ์  ผอ. ศูนย์วิจัย  ธกส. สำนักงานใหญ่  ที่มาพร้อมกับการ  จุดประกายหัวใจ ด้วยการนำเสนอความก้าวหน้างานวิจัย หนี้สิน   ซึ่งได้รับทุนจาก สกว. ซึ่งก็ทำให้รุ่นน้องๆ   ดวงตาเบิกกว้าง สมองโลดแล่น ทุกคนนั่งนึก และมองวาดภาพ โจทย์ และงานวิจัยของตัวอง ไปพร้อมกับฟังการนำเสนอสลับกับคำถามและ ข้อคิดเห็น ของ อ.อภิชัยไปเรื่อยๆ

              จริงๆแล้ว ปรัชญาของหลักสูตรพัฒนบูรณาการศาสตร์  คงจะไม่ไกลไปกว่า ความหมายของ พจนานุกรมมากนัก

              แต่หัวใจของหลักสูตร มุ่งเน้น ไปเพื่อ การรวมตัวกันทั้ง อาจารย์ และนักศึกษา เข้ามาเป็น ชุมชนวิชาการ ที่ขยับก้าวของเกลียวความรู้ ด้วยงานวิจัยของนักศึกษา ที่มีหลากหลาย แยกย่อยตามความสนใจของแต่ละคน

  • ถามว่า แล้วบูรณาการอะไร   กับไคร
  • ตอบ  ทุกเรื่องของงานวิจัยของนักศึกษา  ประกอบกันเป็นชุดการเรียนรู้ ที่เชื่อมโยงสอดประสานกันอย่างกลมกลืน และสุดท้ายก็ลงข้อสรุป ในแต่ละประเด็นว่า  ชาวบ้านจะอยู่ในท้องถิ่นตามแนวคิดความพอเพียง ได้อย่างไร
  • ถามว่า  แล้วนักศึกษา แต่ละคน จะรู้ได้อย่างไรว่าเรื่องของตัวเอง ไปสอดคล้องกับเพื่อน
  • ตอบ  รู้ด้วยการเข้าร่วมเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ทุกครั้ง เมื่อมีนักศึกษาคนใดคนหนึ่ง นำเสนอความก้าวหน้า และทุกคนต้องตรวจสอบ ซักถาม เองว่าของเราไปเกี่ยวกับคนอื่นอย่างไร

                  ก็ยังไม่ทราบเหมือนกันว่า ที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ ไป เตะตา ต้องใจ ท่านผู้เยี่ยมยุทธ เจ้าของสำนัก หรือไม่......อย่างไรน้อ ครับ                 

หมายเลขบันทึก: 74249เขียนเมื่อ 24 มกราคม 2007 23:14 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 17:08 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (13)

       พี่พงษ์ค่ะ

       หัวใจสำคัญของพัฒนาบูรณาการศาสตร์ คือบูรณาการความรู้ที่นำไปสู่การบูรณาการชีวิตให้อยู่รอดปลอดภัย พอเพียงและยั่งยืนด้วยค่ะ

จะบูรณะ บูรณาการอะไร ต้องมีเครื่องมือ

ไม่มีเครื่องไม้เครื่องมือ จะซื่อบื้อจนตาย

อ.พันดาครับ

  • ผมว่าคำพูดของ อ. อภิชัย น่าสนใจและมีความหมายมากครับ เราควรนำมาเป็นการบ้าน เช่นจุดยืนที่มั่นคง  เราจะไม่ขายใบวุฒิการศึกษา ถ้าอยากได้ต้องลงแรงเอง   หรือ   เราต้องการหาข้อเท็จจริงที่ปรากฏ  ..ล้วนเป็นการบ้านของเราทั้งนั้น....ครับ

ตั้งคำถาม  หาคำตอบ  ดีแล้ว

ควรเขียนฉบับร่าง แล้วทดลองถาม-ตอบ

แน่ใจว่าชัดแล้ว แม่นแล้ว ค่อยนำมาพิมพ์ลงบล็อก

ต้องทดลองบ่อยๆ เพราะนี้คือการเรียนวิชาฉุกคิดเบื้องต้น

คิดให้มาก จะทำให้เขียนได้กระชับ จะเขียนได้สาระด้วยตัวอักษรน้อยลง

ตัวหนังสือ ก่อนจะจับมาร้อยเรียง ต้องอาบน้ำ ทาแป้ง แต่งตัวให้มันเสียก่อน

วรรคทอง เกิดขึ้นได้เพราะประสบการณ์

ประสบการณ์ให้เกิดการ ปิ๊ง!!!ปิ๊ง!!

ปิ๊ง คำสั้นๆ แต่เกิดยากมาก ถ้าเราไม่รู้ว่ามันเกิดได้อย่างไร แทนที่จะไปจำขี้ปากขึ้นอื่นมาปิ๊ง  ก็สร้างคุณค่าจากขี้ปากตัวเองได้ไหม

อย่าเหลวไหมแม้แต่จะคิด คิดๆๆๆๆ และคิด  

ถ้าไม่คิด ไปขายเต้าฮวย อ้าวเต้าฮวยก็ยังต้องคิดอีกนั่นแหละ

เรื่องรูป คนอื่นทำไมเขาลงได้ ทำได้ เราโง่ตรงไหน ทำไมถึงเรียนรู้ล่าช้าไปเสียทุกเรื่อง มันประจานตัวเองนะว่า เราขี้แหย แม้แต่เรื่องจำเป็นก็ยังลีลาที่จะรู้จะทำ แบบนี้จะไปแนะนำ อบต.ว่าอย่างไร

ความเป็นนักศึกษาบูรณาการศาสตร์ ไม่มีมาตรการไหนบอกไว้ว่าให้เหลาะแหละแฉะเปื่อยไปวันๆ

กลับไปถึงบ้าน

สิ่งแรกที่ควรทำ คือ

โย้นกล้องถ่ายรูปทิ้งซะ ถือมาโก้ๆมาหาวิมานอะไรไม่ทราบ

ทุกครั้งที่อาจารย์ที่ปรึกษาพร่ำเตือน ก็ฟังหูซ้ายทะลุหูขวา ฟังงั้นๆ เพราะนึกว่าคนพูดๆเล่นๆมั๊ง ระวังจะโดนถีบตกเก้าอี้สักวัน!!

พวกบูนี่แปลก ไปประชุมร่วมกัน รู้มาด้วยกัน

ยังมาออกความเห็นในประเด็นเก่าอีก ไม่มีเรื่องอะไรๆที่สำคัญๆ ออกจากห้องประชุมมาสะท้อนเลยหรือ

ประเด็นที่เป็นน้ำเป็นเนื้อ ว่ากันอย่างไรบ้าง พยายามหาๆๆ จับสาระบ่ได้

      อาจารย์สิริพงษ์คะ อย่าลืมว่าพัฒนบูรณาการศาสตร์กำลังมุ่งสู่สังคมความรู้อย่างมีคุณภาพ และสังคมความรู้ที่ดีมีคุณภาพ จะต้องผสมผสานหาความพอดีระหว่างความรู้ 3 ประเภทนี้ด้วยนะคะ นั่นคือ  ความรู้ฝังลึก ความรู้ที่แจ้งชัด และความรู้จานด่วน ค่ะ

                                                  ขอบคุณค่ะ

อ.ศิริพงษ์คะ   ตอนนี้ยังไม่ได้ศึกษาเจาะลึกเรื่องพัฒนบูรณาการศาสตร์ค่ะ  แต่เขียนเรื่อง "โลกของการบูรณาการ" ไว้ใน blog  ลองอ่านดูให้หน่อย.. คิดว่ายังไงช่วยวิจารณ์ให้ด้วย

 

เข้าไปอ่านแล้วครับ ได้ความรู้มากเลยครับ  ขอบคุณมากที่เข้ามาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ หวังว่าเราคงเป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ร่วมกันตลอดไปครับ
ขอบคุณครูบามากครับ ที่ช่วยเตือน แก้ไขแล้วครับ

 เรียน อาจารย์สำเนียง

  • ความรู้ทั้งสามชนิด มีความสำคัญมากครับ แต่ความรู้ ชนิดที่ สาม น่าสนใจมากครับ แต่กลัวสารพิษที่ติดมาด้วยครับ เราต้องระมัดระวังครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท