มหาวิทยาลัยกับงานวิจัย การปรับเปลี่ยนเพื่อภารกิจสร้างสรรค์ปัญญา ตอนจบ (4)


หน่วยงานวิจัย จึงควรเป็นศูนย์วิจัยเฉพาะทางที่มีขนาดไม่ใหญ่นัก อยู่ภายใต้การนำทางวิชาการของผู้นำคนเดียวได้ โดยผู้นำนั้นต้องเป็นนักวิชาการหรือนักวิจัย ไม่ใช่นักบริหาร

         < เมนูหลัก >

         ตอนจบ (4)

         ปรับเปลี่ยนเชิงโครงสร้างมหาวิทยาลัย ภารกิจหลักสร้างสรรค์ปัญญา

         ศูนย์วิจัยเฉพาะทาง

         ประเทศไทยมีศูนย์วิจัยเฉพาะทางน้อยเกินไป ขาดการวิจัยในลักษณะต่อเนื่องระยะยาว วิเคราะห์เจาะลึก และทำงานวิจัยประเด็น หรือปัญหาสำคัญ ๆ ของประเทศ เชื่อมโยงกับการวิจัยระดับพื้นฐาน เพื่อสร้างทฤษฎีใหม่หรือองค์ความรู้ใหม่

         การวิจัยในประเทศไทยส่วนใหญ่จึงมีลักษณะฉาบฉวย ผิวเผิน มองที่การใช้ประโยชน์ หรือตอบปัญหาเฉพาะหน้าชั่วครั้งชั่วคราวเท่านั้น

         การจัดตั้งหน่วยงานวิจัยในลักษณะนี้มีประโยชน์น้อย และมีอันตรายตรงที่ชักจูงใจสู่แนวคิดเรื่องการวิจัยแบบที่ผิด หรือคุณภาพต่ำ

         การจัดตั้ง “สถาบันวิจัยและพัฒนา” ในลักษณะเป็นนายหน้ารับงานวิจัยแล้วอ้างว่ามหาวิทยาลัยมีหน่วยงานวิจัยแล้ว ไม่ควรตั้งศูนย์วิจัยหรือสถาบันวิจัยใด ๆ ขึ้นอีก ก็เป็นแนวคิดที่ผิด เพราะนายหน้ารับงานวิจัยกับหน่วยงานทำงานวิจัยโดยตรง เป็นคนละเรื่องกัน

         การจัดตั้ง “สถาบันวิจัย” แบบรวม ๆ เป็นองค์กรใหญ่ ประกอบด้วยห้องปฏิบัติการวิจัยหลากหลายสาขารวมอยู่ด้วยกัน ก็มีแนวโน้มจะถูก “ความแข็งทื่อ” ของระบบ เข้ามาปิดกั้นให้ทำงานวิจัยให้มีคุณภาพได้ยาก

         หน่วยงานวิจัย จึงควรเป็นศูนย์วิจัยเฉพาะทางที่มีขนาดไม่ใหญ่นัก อยู่ภายใต้การนำทางวิชาการของผู้นำคนเดียวได้ โดยผู้นำนั้นต้องเป็นนักวิชาการหรือนักวิจัย ไม่ใช่นักบริหาร

         บทความพิเศษ ตอนจบ (4) นี้ได้ จากหนังสือพิมพ์ กรุงเทพธุรกิจ ปีที่ 9 ฉบับที่ 2823 (109) 13 มิ.ย. 39 พิเศษ 6 (บทความไอที)

         เขียนโดย ศ.นพ.วิจารณ์  พานิช

         วิบูลย์ วัฒนาธร

 

หมายเลขบันทึก: 7415เขียนเมื่อ 17 พฤศจิกายน 2005 14:08 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 14:06 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
รากฐานของปัญญาเกิดจากความลำบากและความจำเป็นเพื่อให้ชีวิตดำรงอยู่รอด จีงทำให้มนุษย์คิดค้นหาวิธีและสร้างสรรสิ่งต่างๆเพื่อให้พ้นความลำบากและชีวิตดำรงอยู่ได้ การจะค้นหาผู้มีปัญญาสร้างสรรค์ จำเป็นจะต้องมีสิ่งจูงใจดึงดูดออกมา เพื่อให้เขาได้ถ่ายเทสติปัญญาที่สร้างสรรค์ออกมาใช้ให้เกิดประโยชน์ โดยมีทุน รางวัลหรือให้เขาเข้าร่วมในสถาบัน โดยไม่จำกัดวุฒิการศึกษา  เพื่อเป็นแหล่งให้พวกเขาได้เข้ามาถ่ายเทความคิดให้ แล้วนักวิชาการต่างๆเข้ามาช่วยต่อยอดหรือค้นคว้าต่อจนเกิดเป็นผลผลิตได้ต่อไป
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท