มหาวิทยาลัยกับงานวิจัย การปรับเปลี่ยนเพื่อภารกิจสร้างสรรค์ปัญญา ตอนจบ (2)


ขีดความสามารถของประเทศในการสร้างนักวิชาการ หรือนักวิจัยระดับปริญญาเอก และหวังปริญญาเอกที่มีคุณภาพระดับมาตรฐานสากลเป็นดัชนีบอกความเป็นเอกราชของประเทศ เป็นเครื่องปลดปล่อยประเทศออกจาก “ความครอบงำทางวิชาการ”

         < เมนูหลัก >

         ตอนจบ (2)

         ปรับเปลี่ยนเชิงโครงสร้างมหาวิทยาลัย ภารกิจหลักสร้างสรรค์ปัญญา

         เอกราชทางวิชาการ

         ขีดความสามารถของประเทศในการสร้างนักวิชาการ หรือนักวิจัยระดับปริญญาเอก และหวังปริญญาเอกที่มีคุณภาพระดับมาตรฐานสากลเป็นดัชนีบอกความเป็นเอกราชของประเทศ เป็นเครื่องปลดปล่อยประเทศออกจาก “ความครอบงำทางวิชาการ”

         การส่งคนที่มีสมองดีเลิศไปศึกษาต่อระดับปริญญาเอกในต่างประเทศมีผลดีในด้านการรับถ่ายทอดความก้าวหน้าทางวิชาการก็จริงอยู่ แต่ก็มีผลเสียด้วย ได้แก่ 1. เสียเงินออกไปนอกประเทศ 2. เป็นการเอาสมองชั้นเลิศไปให้ประเทศอื่นใช้ฟรี หรือยิ่งกว่าฟรี คือเสียเงินส่งคนไปให้เขาใช้ เพราะนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาคือ ผู้ช่วยวิจัยนั่นเอง และ 3. ก่อความครอบงำทางวิชาการ

         ถึงเวลาแล้ว ที่ระบบอุดมศึกษาของไทยจะหันมาสร้างโครงสร้างและมาตรฐานการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาเสียใหม่ให้เป็นมาตรฐานระดับสากล

         โดยจะต้อง 1. ดึงดูดผู้มีสมองชั้นเลิศเข้ามาเรียนได้ โดยมีเงิน “จ้างเรียน” ในอัตราที่สูงพอจะแข่งขันกับอัตราเงินเดือนในตลาดแรงงานได้ 2. จัดรูปแบบการเรียนรู้ให้ถึงดูดผู้เรียนที่มีสมองชั้นเลิศ 3. ให้มีอาจารย์จากต่างประเทศ ในระดับที่มีผลงานดีเด่นมาร่วมสอนหรือเป็น “ผู้สอบภายนอก” (external examiner) ช่วยเป็นหลักประกันคุณภาพ และ 4. ส่งนักศึกษาออกไปทำวิจัยในมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงต่างประเทศเป็นช่วงระยะเวลาหนึ่ง

         จะเห็นว่าในเรื่องของวิชาการระดับสูงนั้น การแลกเปลี่ยนดูดซับความรู้จากภายนอกประเทศ เป็นกลไกของการเรียนรู้อย่างหนึ่ง จะต้องไม่ปฏิเสธการไปเรียนรู้จากต่างประเทศ ที่ควรปฏิเสธ คือ การมุ่งไปรับถ่ายทอดความรู้มาจากต่างประเทศเพียงอย่างเดียว ไม่ขวนขวายสร้างระบบการสร้างคนของเราเองบ้าง ซึ่งสะท้อน “แนวคิดของเมืองขึ้น” คือคิดว่าต้องตัวเองไม่มีความสามารถจะสร้างนักวิชาการระดับสูงตามมาตรฐานสากลได้ ต้องส่งไปเรียนในต่างประเทศเท่านั้น

         บทความพิเศษ ตอนจบ (2) นี้ได้ จากหนังสือพิมพ์ กรุงเทพธุรกิจ ปีที่ 9 ฉบับที่ 2823 (109) 13 มิ.ย. 39 พิเศษ 6 (บทความไอที)

         เขียนโดย ศ.นพ.วิจารณ์  พานิช

         วิบูลย์ วัฒนาธร

หมายเลขบันทึก: 7413เขียนเมื่อ 17 พฤศจิกายน 2005 13:52 น. ()แก้ไขเมื่อ 7 มิถุนายน 2012 14:43 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท