ขับเคลื่อนขบวนองค์กรการเงินชุมชนประเทศไทย(1)


จะผนึกกำลังกันขับเคลื่อนขบวนองค์กรการเงินชุมชนไปสู่เป้าหมายโดยตรงคือการสะสมทุนเพื่อกู้ยืมและจัดสวัสดิการ ชุมชนกันเองและโดยอ้อมคือเป็นการพัฒนาคน สร้างทุนทางสังคมได้อย่างไร?

วันที่23ม.ค.มีการประชุมหารือแนวทางการบูรณาการกองทุนและเชื่อมโยงภาคีสู่การทำแผนพัฒนาองค์กรการเงินระดับตำบลและจังหวัดที่โรงแรมดีลักษณ์ กรุงเทพ จัดโดยสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน(พอช.)
(ทราบว่ามีการประชุมประเด็นสวัสดิการชุมชนในคราวเดียวกันด้วยแต่คนละห้อง)

ภาคเช้าเป็นการเล่าความเคลื่อนไหวต่อเนื่องจากการประชุมครั้งที่แล้วเมื่อวันที่19พ.ย.2549สู่กันฟังของเครือข่ายองค์กรชุมชนจาก7ภาคคือเหนือ กลางบน กทม.ปริมณฑล อีสาน ตะวันออก ตะวันตกและภาคใต้

บ่ายเป็นการหารือแนวทางการขับเคลื่อนงานขบวนองค์กรการเงินชุมชนประเทศไทย

แผนงานที่เสนอไว้ในการประชุมคราวที่แล้วคือ การขับเคลื่อนงานในพื้นที่นำร่อง

1.เป้าหมาย ระดับตำบล

2.ประเด็น การบูรณาการกองทุนเพื่อเป็นศูนย์เรียนรู้ เชื่อมโยงขยายผลระดับจังหวัด ภาคและประเทศ

3.การจัดทำฐานข้อมูลในประเด็นและพื้นที่เป้าหมายอย่างเป็นระบบ

4.การเชื่อมโยงองค์กรการเงินชุมชนกับระบบสวัสดิการชุมชน

เวทีคราวนี้จึงเป็นการหารือต่อเนื่องจากคราวที่แล้ว

ก่อนการประชุมแต่ละภาคได้หารือกันมาบ้างแล้ว โดยเฉพาะภาคใต้(ที่ผมมีโอกาสเข้าร่วมประชุมด้วย)ได้เสนอให้มีการเคลื่อนงานโดยเชื่อมโยงกับภาคีสนับสนุนต่างๆเพื่อให้การขับเคลื่อนขบวนองค์กรการเงินชุมชนไปกันทั้งระบบคือ ทั้งภาคชุมชนและหน่วยงานสนับสนุนที่เกี่ยวข้องซึ่งมีอยู่เป็นจำนวนมาก ไม่ใช่เฉพาะภาคชุมชนกับพอช.เท่านั้น

ประเด็นนี้ที่ประชุมเห็นด้วยเป็นอย่างยิ่ง เพราะผู้นำแต่ละท่านก็ทำงานร่วมกับหน่วยงานสนับสนุนในพื้นที่อยู่แล้วทั้งพัฒนาชุมชนที่ดูแลกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต กองทุนหมู่บ้าน ธนาคารหมู่บ้าน กลุ่มสัจจะสะสมทรัพย์ฯและเครดิตยูเนี่ยน เป็นต้น

แนวคิดคือ เราจะผนึกกำลังกันขับเคลื่อนขบวนองค์กรการเงินชุมชนไปสู่เป้าหมายโดยตรงคือการสะสมทุนเพื่อกู้ยืมและจัดสวัสดิการ ชุมชนกันเองและโดยอ้อมคือเป็นการพัฒนาคน สร้างทุนทางสังคมได้อย่างไร? ขบวนใหญ่มาก ต้องรวมกำลังกันทั้งภาคชุมชนและภาคีสนับสนุนซึ่งไม่ใช่เรื่องง่าย

พี่ปุ่นจากตำบลควนรู จังหวัดสงขลาได้เปรียบเทียบความจำเป็นที่ต้องรวมพลังกันโดยอ้างอิง3เหลี่ยมเขยื้นภูเขาของอ.ประเวศ วะสี

สุดท้ายเราก็ได้แนวทางการเคลื่อนงานเป็นตารางการทำงานดังนี้

1.กำหนดจัดประชุมวงภาคโดยเชิญผู้แทนชุมชนและภาคีสนับสนุนตามกำหนดการ

ใต้  วันที่ 30-31ม.ค.2550
อีสาน 8-9ก.พ.
เหนือ 28ก.พ.-1มี.ค.
กทม.และปริมณฑล 4-5มี.ค.
ตะวันตก 8-9มี.ค.
ตะวันออก 12-13มี.ค.
กลางบน 19-20มี.ค.

2.จัดประชุมระดับประเทศวันที่ 29 มี.ค. โดยเชิญภาคีสนับสนุนทั้งภาครัฐ/เอกชนและวิชาการเข้าร่วมด้วย เช่น สทบ.พช.สศค.สศช.พม.เกษตร กศน.ชุมนุมเครดิตยูเนี่ยน เป็นต้น

สำหรับเวทีภาคแต่ละภาคจะได้หารือร่วมกันในรายละเอียดต่อไป

 

 

 

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 74146เขียนเมื่อ 24 มกราคม 2007 13:43 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 17:08 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท