แนวทางการพัฒนาระบบข้อมูลสุขภาพเพื่อชุมชน


ดิฉันมีความคิดหรือแนวทางคร่าวๆ ต่อการพัฒนาระบบข้อมูลสุขภาพเพื่อชุมชน เนื่องจากได้เป็นที่ปรึกษาในหลายโครงการ

แต่ละครั้งก็จะเห็นได้ว่า ความต้องการข้อมูล (information requirements) ที่นักวิจัยทำการเก็บสำรวจมานั้นมีมากมายเหลือเกิน

ทำให้เกิดข้อสงสัยว่า โครงการแต่ละโครงการจะเป็นพัฒนาให้ใช้งานจริงได้มากน้อยแค่ไหน และจะสามารถตอบโจทย์ข้อมูลสุขภาพชุมชนได้เพียงใด

การพัฒนาระบบที่มีประสิทธิภาพ คือ ต้องเป็นการช่วยลดงานผู้ปฏิบัติงานไม่ใช่เป็นการเพิ่มงาน โครงการจะต้องศึกษาให้ชัดเจนว่า ใครเป็นกลุ่มผู้ใช้หลักของระบบ และสามารถใช้ระบบเพื่องานประจำที่ทำได้อย่างไรบ้างนะค่ะ

ดิฉันคิดว่าสิ่งที่ประเทศเราต้องการสำหรับระบบข้อมูลสุขภาพ คือ workflow management system  ค่ะ

โดยมี features ต่างๆ เช่น มีการดึงข้อมูลจากแหล่งกำเนิดมาเป็น text files อัตโนมัติทุกวัน clean data และเก็บลงฐานข้อมูลพร้อมทำการเชื่อมโยง tables ต่างๆ ให้สามารถถูกใช้งานเพื่อหาความสัมพันธ์ของข้อมูลจากแหล่งต่างๆ และ summarize ข้อมูลสำหรับการช่วยในการตัดสินใจแก่ผู้บริหารหรือพนักงานในองค์กรเพื่อแก้ปัญหาสุขภาพชุมชน หรือ อำนวยความสะดวกให้ผู้ใช้ระบบสามารถสร้างและค้นหาความสัมพันธ์ของข้อมูลได้เอง และต้องคำนึงถึงประเด็นอื่นอีกด้วย เช่น ความถี่ในการต้องการใช้ข้อมูล, workflow, คุณภาพข้อมูล และ authorization ในการใช้ข้อมูลชุดต่างๆ เป็นต้นค่ะ

ขออนุญาตแนะนำต่อ สวรส. หรือ หน่วยงานต่างๆ ด้านสุขภาพว่า ควรเน้นการพัฒนาระบบที่เมื่อจบโครงการแล้วสามารถ implement ใช้ได้จริง โดยการเริ่มจาก subsystem ก่อน เช่น ระบบ aggregate ข้อมูล ที่สามารถใช้งานได้จริง ซึ่งเป็นส่วนที่สำคัญที่สุดค่ะ

และการให้ทุนพัฒนาแต่ละครั้งควรเป็นข้อบังคับให้ทำเป็นระบบแบบ open-source ค่ะ เพื่อที่หน่วยงานหรือชุมชนอื่นสามารถนำไปใช้ได้ด้วย และเป็นการช่วยให้เกิดการร่วมมือกันพัฒนาต่อยอดระบบต่อไปด้วยค่ะ

หมายเลขบันทึก: 74142เขียนเมื่อ 24 มกราคม 2007 13:28 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 สิงหาคม 2014 10:46 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)
  • เห็นด้วยครับ
  • ถ้าอาจารย์จะช่วยขยายความพร้อมตัวอย่าง น่าจะช่วยให้คนทั่วไปเห็นภาพชัดเจนขึ้นนะครับ...
อาจารย์ค่ะ เป็นไปได้มากน้อยแค่ไหนค่ะที่ สวรส. จะจัดประชุมระดมสมองจากผู้พัฒนาระบบด้านสุขภาพของประเทศค่ะ ไ่ม่ว่าจะเป็นระบบแบบ open-source หรือ close-source นะค่ะ

เพื่อชี้แจงให้เห็นถึงปัญหาและหาทางแก้ไขร่วมกัน

เพื่อหาแนวทางร่วมกันในการ aggregate information ที่สามารถเปิดเผยได้และจำเป็นต่อสุขภาพประชาชนไทย

เพื่อสร้าง standard dataset ที่เอื้ออำนวยต่อการ aggregate และ share ข้อมูลในรูปแบบของ XML

เป็นต้นค่ะ


ปล. ดิฉัน และ ดร.ธวัชชัย ได้รับเชิญจากศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ เข้าร่วมประชุมสัมมนาเพื่อจัดทำ Road map
การวิจัยด้านระบบการแพทย์สำหรับประเทศไทย ในวันพฤหัสบดีที่ 1 กุมภาพันธ์ 2550 แต่ไม่สะดวกไปร่วมค่ะ ก็เลยมาเขียนไว้ในบล็อกค่ะ

อาจารย์ดร. จันทวรรณ น้อยวัน ครับ

ผมเชื่อว่า ความเป็นไปได้ - มีอยู่

แต่ไม่ง่าย

ไทยมีคนที่มีความรู้ความสามารถมากมาย ต้องใช้คำว่า มากมหาศาล

เพราะแม้แต่แวดลงเล็ก ๆ ที่ผมรู้จัก ผมก็ยังว่ามียอดฝีมือซุ่มซ่อนอยู่เต็มไปหมด

แต่ผมมองว่า โจทย์ที่ยาก คือการจัดการกระบวนการครับ (organizing)

ถ้าจะเร่งกระบวนการ ทำแบบ top-down ผมไม่มีแนวคิด เพราะมีเรื่องการเมือง-นโยบายเข้ามาผูกอยู่มาก เป็นเรื่องต่างมิติ ต่างระนาบชีวิต ไม่กล้าออกความเห็น

ถ้าทำแบบ bottom-up ก็ต้องทำใจ เพราะมันจะเกิดแบบเอกเทศ ซ้ำซ้อนสูญเปล่ามาก แต่ถ้ามีเวทีสาธารณะให้ ลปรร และให้เข้าถึงขุมความรู้ได้ง่าย  ก็อาจช่วยให้เร็วขึ้น

ถ้าเป็นแบบหลัง ควรตั้งโจทย์ว่า "แนวคิดเชิงระบบแบบใด ที่จะทำให้ทำ data aggregation ในระดับท้องถิ่นได้ง่าย" ก็อาจช่วยได้บ้าง..มั้งครับ ?

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท