แชมป์ในการจัดสวนหย่อม


การจัดการสู่ความสำเร็จในการประกวดสวนหย่อม

          กระทรวงเกษตรและสหกรณ์  ได้จัดงาน เกษตรอีสานปี 2550 ขึ้นในระหว่างวันที่ 1928 มกราคม 2550 ณ มหาวิทยาลัยขอนแก่น  ในการจัดงานดังกล่าว มีกิจกรรมด้านการเกษตรมากมาย  เช่น  การจัดแสดงผลงาน  การจำหน่ายสินค้า สถาบันเกษตรกร  การประกวดแข่งขันต่างๆ  แต่มีอยู่กิจกรรมหนึ่งที่ทุกจังหวัดพยายามที่จะเอาชนะกันให้ได้  คือ  การประกวดการจัดสวนหย่อมพืชผักสมุนไพร

 รักษาแชมป์ 

           ผมก็อดภูมิใจไม่ได้ที่ทีมงาน KM  ไปจัดสวนหย่อมจนคว้ารางวัลชนะเลิศในการประกวดสวนหย่อมในงานครั้งนี้  เรียกได้ว่าเป็นการรักษาแชมป์ไว้ได้  ซึ่งจังหวัดนครพนมเคยได้รางวัลชนะเลิศติดต่อกันมาหลายสมัย 

 

            ข้อกำหนดในการประกวด
                     1.       ส่งเข้าประกวดได้จังหวัดละ  1 สวน
                     2.       ขนาดพื้นที่สวนหย่อม   2 x 4  ตารางเมตร
                     3.       มีชนิดพืชผักและสมุนไพร  ไม่ต่ำกว่า 10 ชนิด
                    
4.       มีปริมาณพืชผักและสมุนไพร  ไม่ต่ำกว่า  75 %
                    
5.       อุปกรณ์สำหรับการตกแต่งสวนอื่นๆ  ไม่ควรเกิน  25 %  ของพื้นที่
                     
6.       รูปแบบการจัดสวนหย่อม  ควรคำนึงถึงความสวยงามและการใช้ประโยชน์
                     
7.       ป้านชื่อจังหวัด
                     
8.       มีแปลนและเอกสารประกอบ  (ระบุชนิดพืช/รายละเอียด)
                    
9.       จัดแสดงสวนหย่อมไว้ตลอดงาน
    

         เกณฑ์การตัดสิน
               1.      สภาพของพืชผักและสมุนไพร
                           (ขนาด ความสมบูรณ์ ความสดใส)              30  คะแนน
                    
2.      สภาพการจัดสวน       
                           (ความเหมาะสมกับพื้นที่ ความสวยงาม)  
30  คะแนน
               3.      ประโยชน์การใช้สอย                                  20  คะแนน
                    
4.      ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์                             20  คะแนน
                                                    
รวม                                       100  คะแนน
 

 
  
 

บริหารจัดการรอย่างไรจึงชนะเลิศ
          การที่จะให้ผลงานออกมามีคุณภาพจะต้องมีการบริหารจัดการที่ดี  ผมอยากจะนำเทคนิคการจัดการมาเล่าให้ฟังเป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้  ให้เป็นภาษา KM อย่างง่าย ๆ  ดังนี้           
         
ทีมงานที่ไปจัดสวนประกวด มี 4 คน  ประกอบด้วย
                        1.  คุณจุมพล  แย้มวิจิตรจรรยา      นวส.6ว
                        
2.  คุณมนูญ  ยอดเกตุ                     นวส.6ว

                       
3.  คุณวินัย  คงยืน                          นวส.6ว

                       
4.  คุณบุญชู  กีกาศ                         คนงาน

           พูดภาษา KM 
           ส่วนผมและท่านเกษตรจังหวัดนครพนม  คุณเอื้อ  อำนวยความสะดวกให้งานดินไปสู่เป้าหมาย
   คุณจุมพล  แย้มวิจิตรจรรยา  ทำหหน้าที่ คุณอำนวย  เตรียมวางแผนงาน  แบ่งงาน  มอบหมายภารกิจ  คอยดูให้เป็นไปตามแผน  คุณมนูญ  คุณวินัย  และคุณบุญชู  ทำหน้าที่ คุณกิจ  โดยคุณมนูญทำหน้าที่หลักจัดหาวัสดุ ประสานงาน   คุณวินัย  เป็นผู้ออกแบบจัดสวนให้ดีที่สุด  คุณบุญชู  มีฝีมือด้านช่าง  จัดทำโครงสร้าง  ลงมือปฏิบัติงานตามแบบที่วางไว้

 
 

            เป้าหมาย ( Knowledge  Vision : KV )  คือ  ชนะเลิศ            ทีมงานจะมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้  วิเคราะห์จุดเด่น จุดด้อย  ประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันหลายรอบก่อนที่จะเดินทางไปจัดอย่างน้อย   2  เดือน  แล้วเตรียมการจัดหาวัสดุไว้  เรียกว่ามีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันถึงจุดเด่นของแต่ละคนออกมาวางแผน (KS)  วางแผนเสร็จแต่ละครั้งทีมงานจะมบทวนกันว่า  ผลงานจะออกมาอย่างไร  วัสดุที่มีอยู่เหมาะสมหรือไม่  นำมาทดลองกับวัสดุอื่นๆ  เรียกว่า  มีการทบทวนบทเรียนอยู่ตลอด (After Action Review : ARR) 

     

       
            ส่วนเทคนิคที่ทำให้ประสบผลสำเร็จที่เป็น KA  น่าจะอยู่ที่ความปรานีตในทุกขั้นตอน  ตั้งแต่การเตรียมวัสดุอุปกรณ์  ความสัมพันธ์ขององค์ประกอบต่าง ๆ  ชนิดพืช  วัสดุตกแต่งสวน  ความเป็นธรรมชาติ  ความกลมกลืนของชนิดพืช  ตลอดจนการเก็บรายละเอียดทั้งหมด  งานจึงออกมามีคุณภาพมาก  ดูแล้วสวยงามจริงๆ   คุณชุมพลบอกว่า  ความภูมิใจไม่ใช่แค่เงินรางวัล  10,000  บาท  เท่านั้น  แต่มีความภูมิใจมากที่รักษาคุณภาพของฝีมือ  ทุกจังหวัดต่างยกนิ้วให้  เจ้านายชื่นชม  ปีหน้าจะพัฒนาให้ดีกว่าปีนี้  ซึ่งสอดคล้องกับหลักการ การจัดการความรู้  จะพูดไปแล้วทีมงานที่ไปจัดสวนก็เป็นทีมงาน KM ทั้งนั้น ผมก็พลอยดีใจและชื่นชมกับทีมงานไปด้วย  

คำสำคัญ (Tags): #แชมป์จัดสวน
หมายเลขบันทึก: 73912เขียนเมื่อ 23 มกราคม 2007 11:34 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:45 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (15)

เยี่ยมมากๆ ครับ การเป็นแชมป์ยาก แต่การรักษาแชมป์ยากยิ่งกว่า แต่นครพนมก็สามารถทำได้ ขอปรบมือสำหรับผู้ที่ประสบผลสำเร็จครับ

  • ขอชื่นชมด้วยคนคะ รู้สึกอิ่มอกอิ่มใจไปด้วย
  • คุณเอื้อ คุณอำนวย คุณกิจ ทำหน้าที่ได้ดีเยี่ยม
  • เป็นต้นแบบการทำงานทุกอย่างที่สามารถนำไปใช้ได้เลยนะคะ
  • ขอบคุณมากที่เล่าเรื่องดีๆ แบบนี้

นครพนมทำได้...เยี่ยมมากค่ะ 

นครพนมก็ไม่น้อยหน้าจังหวัดไหนครับ

สวยมาก แลดูเป็นธรรมชาติดี

หัวหน้าสองคนแรกเปลี่ยนชื่อสกุลแล้วเหรอครับ

ยินดีด้วยครับที่รักษาแชมป์ไว้ได้

เอาไว้โอกาสหน้าเจอกัน

สวยครับ ขอแสดงความยินดีด้วย เป็นทีมงานที่มีความพร้อมและคงให้คำแนะนำกับผู้ที่ต้องการศึกษาเพื่อเป็นวิทยาทางต่อสังคมต่อไป

สวนของนครพนมสวยจัง

สุดยอดคับ

ดีมากครับ แต่ต้องเทียบงบประมาณที่ทำด้วยครับ ถึงจะนำไปใช้ประโยชน์อย่างสมบูรณ์แบบ ทุกระดับ

ได้อ่านก็ได้รับความรู้ขึ้นเยอะเลยค่ะ ..ตอนนี้ได้รับมอบหมายให้ปรับปรุงภูมิทัศน์พื้นที่ภายในอาคาร (จัดสวนหย่อม)..เพื่อให้เกิดบรรยากาศดีขึ้น ..ยังไม่รุ้จะเริ่มต้นที่ไหนดีค่ะ..พอจะแนะนำได้บ้างมั๊ยคะ..ขอบคุณค่ะ

จัดสวนได้สวยมากเลยค่ะ ก้อยอยู่จังหวัดยะลาทำงานอยู่โรงพยาบาลทุ่งยยางแดง อยู่ฝ่ายคลินิกแพทย์แผนไทย จัดรับงบประมาณ

สวนหนึ่งไม่มากมากค่ะ(40,000บาท) สำหรับจัดสวนสมุนไพรเพื่อสุขภาพ ไม่ทราบว่าจะขอความคิดเห็นพี่ๆช่วยเสนอความคิดเห็นได้มั้ยค่ะ เนื้อที่ ประมาณ ยาว 80 เมตร กว้าง4 เมตรค่ะ มีต้นไม้ปลูกอยู่แล้วบ้าง คือท่านผอ.ต้องการปรับเปลี่ยนให้เป็นสวนสมุนไพร

ได้ไปสั่งซื้อเข็ม4 สี ดอกผกากรอง บัว อิฐ(ทำสระ)กระดังงา(เลื้อย)ดอกบัว

คุณพ่อ จัดได้มีมิติและจินตนา นับถือ

สวยมากๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆเลยอยากรูเคล๊ดลับนการจัดสวนจังค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท