ออกกฎหมายจัดตั้งกลไกจัดการระบบวิจัยสุขภาพ


         วันที่ 19 ม.ค.50  ผมมีความสุขมากที่การประชุม คณะกรรมการสนับสนุนการดำเนินงานตามนโยบายด้านสุขภาพ (คณะที่ 7)  ครั้งที่ 1/2550  มีบรรยากาศของความร่วมแรงร่วมใจ   คณะกรรมการช่วยกันระดมความคิดเรื่องการยกร่าง พรบ. การวิจัยสุขภาพ  จนเราได้ "หัวใจไ หรือคุณค่าของการทำงานนี้อย่างชัดเจน   คือการสร้างกลไกขับเคลื่อนระบบวิจัยสุขภาพ   หรือจัดการตัวระบบ   ให้ระบบมันพัฒนาขึ้นเรื่อย ๆ   มีความซับซ้อนมากขึ้น  เชื่อมโยงมากขึ้น   และก่อผลดีต่อสังคมไทยมากขึ้น

         การขับเคลื่อนระบบจะสร้างความเข้าใจในสังคม ว่าถ้าประเทศเราไม่รู้จักลงทุนวิจัยอย่างเหมาะสม   ก็เท่ากับเราปล่อยให้โอกาสหลุดลอยไป

         โอกาสที่หลุดลอยไป (opportunity loss) นั้น  คือโอกาสที่จะได้ "กำไร" (เป็นคุณค่าและมูลค่า) จากการสร้างความรู้ขึ้นใช้ประโยชน์ในรูปแบบต่าง ๆ

         พระราชบัญญัติการวิจัยสุขภาพ  จะสถาปนากลไกและองค์กรขึ้นทำหน้าที่ "จัดการการเปลี่ยนแปลง" (change management) แก่ระบบวิจัยสุขภาพ   ที่เป็นการเปลี่ยนแปลง (พัฒนา) เชิงระบบ

         เราจะต้องช่วยกันสร้าง learning curve เพื่อสร้างกลไกหรือองค์กรนี้   และสร้างทักษะในการจัดการระบบ   จะเป็นครั้งแรกที่มีการสร้างองค์กรขึ้นมาดูแลระบบ   จัดการระบบ   ขับเคลื่อนระบบ   โดยการทำ change management ในลักษณะของ systems change management

         เราจะต้องช่วยกันประคับประคองให้เกิดการสร้างองค์ความรู้ว่าด้วยการบริหารระบบวิจัยของประเทศ   ซึ่งในกรณีนี้คือระบบวิจัยสุขภาพ  ซึ่งเป็น sector ย่อยของระบบวิจัยในภาพรวมของประเทศ

         การได้มีโอกาส "ฝัน" เพื่อบ้านเมือง  และช่วยกัน "ทำฝันให้เป็นจริง" เป็นความสุขอย่างยิ่งของคนแก่อย่างผม

วิจารณ์  พานิช
 20 ม.ค.50

หมายเลขบันทึก: 73810เขียนเมื่อ 22 มกราคม 2007 09:29 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 17:06 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

เป็นข่าวที่น่ายินดีอย่างยิ่งถ้าเราจะมีกฏหมายการวิจัยเพื่อสุขภาพในอนาคต จะคอยติดตามข่าวค่ะ

 

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท