ชมรมผู้ป่วยเบาหวาน บ้านโพนทอง


ได้ความรู้ในอีกหลายๆแบบที่แตกต่างกัน ซึ่งสมาชิกคนอื่นไม่ทราบมาก่อน และผมว่ามันเอาไปใช้ได้จริงครับ

           วันนี้ตอนประมาณบ่ายสอง (16/11/48) ผมกับพี่เล็ก มณีวัชราภรณ์ ตังควนิช พยาบาลวิชาชีพ แผนกPCU ของโรงพยาบาล มีโอกาสไปเยี่ยมชมรมผู้ป่วยเบาหวาน ที่เริ่มก่อตั้งขึ้นในโครงการ 1 ตำบล 1 ชมรม ของอำเภอธาตุพนม  ซึ่งไปอย่างไม่เป็นทางการครับ เพราะจริงๆแล้วเราเตรียมแผนออกเยี่ยมประมาณเดือนธันวาคม  แต่บังเอิญพี่เล็กเจอคุณจรรยา ซึ่งเป็น อสม. และเลขานุการของชมรมผู้ป่วยเบาหวานบ้านโพนทอง เมื่อวาน(15/11/48)ตอนที่มาตรวจโรคในโรงพยาบาล จึงได้สอบถามถึงกิจกรรมของชมรมที่จัดตั้งว่าเป็นอย่างไรบ้าง คุณจรรยาเลยชวนไปเยี่ยมเลยในวันนี้ คุณเล็กก็เลยถือโอกาสชวนผมไปด้วย เพราะใกล้ ขับรถประมาณ5 นาทีก็ถึง

            พี่เล็กโทรบอกคุณจรรยาว่าจะไปตอนบ่ายโมงครึ่ง แต่พอผมไปถึงตอนบ่าย 2 ก็เจอคุณจรรยาคนเดี๋ยว แกเชิญเรานั่งไต้ต้นไม้ ริมถนนภายในหมู่บ้าน บอกว่าให้พวกเรารอนิดนึง แล้วก็ขับมอเตอร์ไซด์หายไป ผมกำลังคิดในใจว่าจะเจอใครไม๊เนี่ย เพราะบรรยากาศในหมู่บ้านเงียบมาก ส่วนใหญ่ปิดประตูบ้านหมด ขณะกำลังสังเกตุบรรยากาศ แค่ 5 นาทีเท่านั้นผู้ป่วยก็มากันถึง 5 คน เริ่มจากคุณลุงผู้ใหญ่บ้านที่เป็นประธานชมรม และสมาชิกอีกหลายคนที่ทยอยเดินกันมาอย่างรวดเร็ว พร้อมบอกเหตุผลว่าที่หมู่บ้านเงียบเพราะเป็นช่วงเกี่ยวข้าวนั่นเอง

             ผมและพีเล็กเริ่มเล่าที่มาที่ไป ของการเยี่ยมในวันนี้ ว่าหลังจากโรงพยาบาลได้อบรมให้กับแกนนำชมรม ทั้งหมด 6 คน ของหมู่บ้านโพน เมื่อเดือนกันยายนที่ผ่านมา จึงอยากทราบว่าเป็นอย่างไรบ้าง ทำอะไรกันอยู่ ต้องการความช่วยเหลืออะไรบ้าง นอกจากนี้ยังจะมาเสนอแนะเรื่องการดูแลเท้าด้วยตนเองเพื่อไม่ให้เกิดแผล  

            คุณจรรยา เลขานุการของชมรม ซึ่งออกตัวว่าไม่ได้เป็นเบาหวาน แต่มีคุณแม่ที่อายุมากแล้วเป็น และได้ดูแลกันอย่างใกล้ชิดอยู่แล้ว รวมทั้งการที่เป็น อสม. จึงอาสาที่จะเป็นเลขาเอง ซึ่งสมาชิกทุกคนก็เห็นด้วย  ปัจจุบันมีสมาชิกชมรมที่เป็นผู้ป่วยเบาหวานทั้งหมดของหมู่บ้าน จำนวน 16 คน มีผู้ใหญ่บ้านเป็นประธาน จัดทำรายชื่อ และได้รวมตัวกันในวันประชุมแล้ว 1 ครั้ง เมื่อเดือนตุลาคม พร้อมกับเจาะน้ำตาลในเลือดเพื่อลงผลเก็บไว้ในทะเบียนของชมรม  ซึ่งยังไม่ได้ทำอะไรมากมาย นอกเมื่อสมาชิกอยากทราบผลนำตาลในเลือดรวมทั้งชาวบ้านคนอื่นๆที่ไม่ได้เป็นเบาหวาน ก็จะให้มาเจาะได้ที่บ้านตน แล้วขอเก็บเงินครั้งละ 10 บ้าน เก็บไว้ทำกิจกรรม

         หลังจากนั้นสมาชิกคนอื่นๆก็เล่าให้ฟัง พร้อมถามปัญหาอีกหลายอย่างในวันนี้ ซึ่งทั้งผมและพีเล็กก็ได้ถือโอกาสแนะนำไปด้วยระหว่างถามทุกข์ สุข ซึ่งบางคำถามผมก็ยังตอบได้ไม่ชัดเจนนักเหมือนกันครับ แต่ก็ได้สมาชิกคนอื่นให้ความเห็นร่วมตลอดเวลา จึงได้ความรู้ในอีกหลายๆแบบที่แตกต่างกัน ซึ่งสมาชิกคนอื่นไม่ทราบมาก่อน และผมว่ามันเอาไปใช้ได้จริงครับ

1.ค่าน้ำตาลในเลือดของแต่ละคนที่ไม่เท่ากัน เพราะอายุใช่หรือไม่ สังเกตุว่ายิ่งอายุมาก น้ำตาลก็จะสูงมากว่าคนที่อายุน้อยกว่า

           จากคำถามนี้ดูจากสีหน้าท่าทางของสมาชิกที่เหลือดูจะเห็นด้วยมากๆ เพราะว่าผลน้ำตาลในชมรมเป็นอย่างนั้นจริงๆ ส่วนใหญ่คนอายุมากก็จะน้ำตาลสูง

           ผมจึงให้ข้อมูลไปว่าน้ำตาลสูงหรือต่ำ เป็นผลการตรวจในขณะเวลาที่เจาะเท่านั้น สามารถขึ้นลงได้ตลอดเวลา อายุก็เป็นปัจจัยหนึ่งเหมือนกับปัจจัยอื่นๆอีกหลายอย่าง เช่น ความรุนแรงของโรคและระยะเวลาที่เป็นแตกต่างกันก็มีผลให้การคุมน้ำตาลได้ไม่เท่ากัน  อาหารที่กินในแต่ละวันซึ่งแตกต่างกันในแต่ละคน  ยาที่ใช้ไม่เท่ากันแตกต่างกัน รวมทั้งการออกแรง ออกกำลัง กิจวัติประจำวันแตกต่างกัน ล้วนเป็นสาเหตุที่ทำให้น้ำตาลแตกต่างกันทั้งนั้น อย่างไรก็ตามขอให้ทุกคนสังเกตุค่าน้ำตาลของตนเองไว้ ว่าสูงขึ้นหรือต่ำลงกว่าปกติหรือไม่ แล้วค่อยปรึกษาแพทย์เมื่อไปโรงพยาบาล

2.สมุนไพรที่ใช้คือ บรเพ็ด ดีหรือไม่ เพราะเห็นคนที่รู้จักกินอยู่ แต่ตนยังไม่ได้ลอง นอกจากนี้เห็นอีกคนกิน มะระขี้นก วันละ 3 ลูก 3 เวลาทุกวัน และคนนี้คุมน้ำตาลได้ดีมาก

              จากคำถามนี้ทำให้ทราบว่าในชุมชนใช้สมุนไพรอีกหลานชนิด คือลูกไต้ใบ  แฮ่ม ฟ้าทลายโจร ซึ่งกินแตกต่างกัน มากบ้างน้อยบ้างโดยใช้ต้นแห้งมาต้มกับน้ำดื่ม บางคนกินสดๆ บางคนกินขี้เหล็กเป็นอาหารประจำไม่ได้ต้มแบบเป็นยา รวมทั้งคุณลุงท่านหนึ่งรู้สึกต่อต้านสมุนไพรอย่างรุนแรงว่ามีแต่มาหลอกขายเอาเงิน ไม่ต้องไปสนใจ  

              ผมเล่าว่า สมุนไพรยังเป็นสิ่งที่ดี เป็นภูมิปัญญา คงไม่ห้ามที่จะนำมาใช้รักษาร่วมกับยาของหมอที่โรงพยาบาล เพราะอาจมีส่วนช่วยลดนำตาลในเลือดได้จริง และสมุนไพรหลายตัวที่สมาชิกแนะนำก็มีการศึกษาทางการแพทย์  แต่ต้องทราบข้อจำกัดของสมุนไพรว่ายังไม่สามารถใช้รักษาโรคได้ทั้งหมด โดยเฉพาะโรคเรื้อรัง ฤทธิ์ทางยาทีได้ก็แตกต่างกันในแต่ละที่มา และส่วนที่นำมาใช้  ที่สำคัญเวลาต้องซื้อหรือหามาใช้ ต้องดูด้วยว่าสะอาด เพราะกิ่งใบของสมุนไพร ถ้าเก็บไม่ดีเกิดเชื้อราได้ง่ายมาก และเวลาไปซื้อก็ไม่มีการโฆษนาโอ้อวดเกินจริง

3.มีป้าจากหมู่บ้านใกล้กันๆ แกบอกว่าเป็นเบาหวาน แต่ไม่ไปรับยาที่โรงพยาบาล จะเป็นอะไรไม๊ถ้าไม่รักษา

              ผมแนะนำให้ไปตรวจและรักษาต่อ ที่โรงพยาบาลดีกว่า เพราะบางคนเมื่อเริ่มเป็น เพียงแค่คุมอาหารและออกกำลังกาย ก็คุมน้ำตาลได้ แต่ต้องตรวจอย่างสม่ำเสมอ เพราะเมื่อนานๆเข้าก็อาจมีความจำเป็นต้องใช้ยา

 4.หลานที่ป้าาอ้วนมาก อายุ 14 ปี กลัวว่าจะเป็นเบาหวานง่าย จะพามาเจาะเลือดดูได้หรือไม่

         อันนี้ทุกคนเห็นตรงกันครับ ต้องลดอาหารหลาน และลดความอ้วน เพราะเป็นปัจจัยเสี่ยงให้เกิดอีกหลายโรค

5.ตอนกลางคืนฉี่บ่อย นอนหลับได้ไม่ดี สงสัยว่าเพราะน้ำตาลขึ้น มาเจาะเลือดได้ 220  ถูกต้องหรือไม่

           คุณป้าอีกท่านหนึ่งบอกเลยครับว่า อาการเหมือนตอนที่เป็นเบาหวานใหม่ๆ เลย ต้องเพราะน้ำตาลสูงแน่ๆ  และประธานชมรมบอกเพิ่มว่าเพราะกินยาลดความดันที่ขับเยี่ยวอยู่ด้วยหรือเปล่า เพราะตนเองเคยกินก็เยี่ยวบ่อย ตอนนี้หมอเลยเปลี่ยนยาให้ เลยไม่เป็นแล้ว  ผมเลยแนะเพิ่มว่าถ้าป้าเป็นติดต่อกันหลายวัน หลังควบคุมอาหารเพิ่มแล้วได้ ให้ไปที่โรงพยาบาลเพื่อให้แพทย์ปรับยาให้อีกครั้ง เพราะทั้งสองเหตุผลที่สมาชิกแนะนำเป็นสาเหตุครับ

6.วันก่อนกินส้มโอไป 1 ลูก มันไม่หวาน อีกวันเจาะนำตาลขึ้นเกือบ 200 คิดว่าต้องมาจากส้มโอแน่ๆ เพราะไม่ได้กินอย่างอื่นเลย

            คำถามนี้ทำให้ทราบผลไม้อีกหลายอย่างครับที่ชอบกินกัน เช่นคุณลุงที่ถามทราบว่าส้มเขียวหวานทำให้น้ำตาลสูงได้ แต่ไม่ทราบว่าส้มโอก็ขึ้นได้เช่นกัน  แต่คนอื่นบอกว่าถ้ากินไม่มากน่าจะไม่เป็นไร ให้ระวังผลไม้ที่มีรสเปรี้ยวกลบรสหวานไว้ เช่นสัประรด

             หลังจากสอบถามแนะนำปัญหาที่สงสัยหมด พี่เล็กก็ให้ทุกคนก้มดูเท้าของตนเอง แล้วถามคำถามว่าเราดูเท้าเป็นพิเศษอย่างไร ใส่รองเท้าแบบไหน ก็ได้คำตอบว่าไม่มีการดูแลอะไรพิเศษ แต่ทุกคนเคยทราบว่าเป็นเบาหวานมีแผลที่เท้าอาจโดนตัดขาได้ ถึงช่วงนี้พี่เล็กเลยได้โอกาสใช้บัญญัติ 10 ประการในการดูแลเท้าที่ได้มาจากเทพธารินทร์สอน พร้อมกับให้คู่มือไว้ที่ชมรม 1 ฉบับด้วย แล้วแจ้งว่าโอกาสหน้าถ้ามาอีกจะมาตรวจเท้าให้ (ครั้งนี้ไม่ได้เอา monofilament มาด้วยครับ)

         ก่อนจะลากลับ ผมกับพี่เล็กจึงเสนอกิจกรรมที่ชมรมทำอยู่แล้ว แต่น่าจะต่อยอดให้ได้ดีกว่าเดิมหรือทำเพิ่มเติม ดังนี้ครับ

    1.ให้บันทึกผลการตรวจน้ำตาลของชมรมลงในสมุดประจำตัวของแต่ละคนได้เลย แต่ละคนจะได้เห็นการเปลี่ยนแปลงของตนเอง และใช้ให้หมอดูเวลาไปโรงพยาบาล

     2.ให้จดบันทึกสิ่งที่ได้จากการประชุมกลุ่มเอาไว้   รวมทั้งความรู้ที่ได้จากการแลกเปลี่ยน ตัวอย่างการปฏิบัติตัวที่ดีเอาไว้ จะได้ทราบความก้าวหน้ากิจกรรมตลอด แต่ถ้าเป็นคำถามหรือข้อสงสัยที่ตอบกันเองไม่ได้ ให้จดเอาไว้ถาม จนท.โรงพยาบาลภายหลัง

     3.ให้คนที่ไม่ป่วยเช่นญาติ หรือคนที่สนใจ มาร่วมกิจกรรมด้วยได้ เช่นมาเจาะเลือดตรวจหาเบาหวาน ถ้าสูงก็แนะนำไปตรวจที่โรงพยาบาลต่อไป

      4.ถ้ากิจกรรมเข้มแข็งแบบนี้ให้ทำโครงการขอไปที่ อบต. เพราะสมาชิกเรามีคนที่เป็น อบต. อยู่แล้ว เพื่อที่จะได้มีงบประมาณไว้ทำกิจกรรมต่อไป เช่นเอาไว้คัดกรองกลุ่มเสี่ยงหรือคนที่สนใจ  เอาไว้ซื้ออุปกรณ์ตรวจน้ำตาล  หรือซื้อเครื่องวัดความดัน ชั่งนำหนัก เป็นต้น 

           มและพีเล็กกะว่าคงมาไม่เกินชั่วโมง แต่กลับว่าบ่ายสามกว่าๆจึงได้กลับ แต่สนุกและดีใจครับที่ชมรมแรกที่เราไปเยี่ยมรวมตัวกันได้    แล้วจะมาเยี่ยมอีกครับ

 

ภก.เอนก  ทนงหาญ  ผู้เล่าเรื่อง

 
 

 

 
หมายเลขบันทึก: 7349เขียนเมื่อ 17 พฤศจิกายน 2005 00:02 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:12 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (9)
ดีนะคะ ที่มีชมรมแบบนี้ คำถามของผู้ป่วยจะเป็นประโยชน์ต่อการทำงานของเจ้าหน้าที่ บางคำถามที่เราอาจยังตอบได้ไม่ชัดเจน ควรทำอย่างไรดีคะ

ชื่นชมครับ   เล่าเรื่องได้ดี  เห็นภาพ

หากหลายๆโรงพยาบาลนำเรื่องเล่ามาเก็บไว้ใน blog อย่าง รพ. ธาตุพนม    ต่อไปในอนาคตเราก็สามารถพัฒนาเป็น know-how ที่เป็นระบบมากยิ่งขึ้นได้

 

 

ขอบคุณสำหรับข้เสนอแนะครับ

ผมว่าการให้ข้อมูลที่ผิด น่าจะแย่กว่าการไม่ให้ข้อมูลเลย จึงคิดว่าถ้าเป็นเด็นคำถามที่ไม่ชัดเจนคงต้องกลับไปหาข้อมูลก่อน ทั้งจากแหล่งความรู้ต่างๆ โดยเฉพาะการสอบถามผู้รู้ในเรื่องนั้นๆครับ

แต่บางกรณีที่เป็นข้อคิดเห็นร่วม การระดมสมอง ทั้งเราทั้งชาวบ้านก็อาจได้ความรู้ฝังลึกได้เหมือนกันนะครับ

เห็นด้วยกับคุณเอนกค่ะ และบางคำถามเราต้องหาคำตอบร่วมกับผู้ป่วยด้วย

 

บอกต่อแล้วได้บุญนะครับ ถือว่าช่วยเพื่อนมนุษย์ด้วย อีเมลผมคือ [email protected]

ผมเขียนเรื่องน้ำท่วมกับคนเป็นเบาหวานไว้ที่ blog ก่อนน้ำท่วม อาจมีประโยชน์ครับ

ชื่นชมกิจกรรมการดูแลผู้ป่วยเบาหวานของธาตุพนม

มีเรื่องดีๆใหม่ๆอย่าลืมนำมาเล่าให้ฟังอีกนะ  ขอบคุณล่วงหน้าค่ะ

แม่ผมเป็นเบาหวานเคยตัดนิ้วมาเเล้วสองนิ้วแต่ตอนนี้สามารถควบคุมดูแลได้เป็นอย่างดีแลกเปลี่ยนประสปการการดูแลผู้ป่วยเบาหวาน 0922519786ยินดีแบ่งปันครับ

เพื่อนผมเป็นเบาหวานตั้งแต่เรียนมหาวิทยาลัยครับ ปัจจุบันอายุ26ปีแล้วและไม่ต้องใช้ยาของหมอและไม่ต้องฉีดอินซูรีนด้วยคับ แต่รักษาโดย Nutraceutical (นูทราซูติคอล) ผมดีใจมากครับที่เพื่อผมไม่ต้องใช้ยาอีกต่อไป แบ่งปันคับผม Line:tonkungzuza ปรึกษาได้คับ 0922544259(ต้น)

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท